วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เพลงฝุ่น



เนื้อเพลง: ฝุ่น
อัลบั้ม: Love


คำว่ารักมันกลายเป็นฝุ่นไปแล้ว
อะไรที่หวัง ก็พังไปตั้งนานแล้ว
แต่ชีวิตไม่รู้ทำไม มันยังคงค้างคาใจ
ไม่มีวันใดที่ฉันไม่จดจำ

ก็คำว่ารักยังจำได้อยู่เสมอ
หลับตาทุกครั้งยังเจอเธออยู่ตรงนี้
ความเข้มแข็งที่ฉันเข้าใจ อ่อนแอลงทุกนาที
อยู่ดีๆ ใจก็ร้องไห้อีกครั้ง

ยังคิดถึงเธอเหลือเกิน ได้ยินมั้ย
เธอยังอยู่ในหัวใจ ของฉัน
ข่มตานอนทุกคืน ยังฝันยังเห็นว่าเรารักกัน
เธออยู่ที่ไหน คิดถึงเธอ
ชาตินี้ไม่มีสิทธิ์เจอ จบแล้วก็เข้าใจ
แต่จะให้ทำยังไง เมื่อในหัวใจยังจดจำ

คำว่ารักยังพอให้ต่อชีวิต
ยังทำให้คิดถึงวันเก่าๆ เหล่านั้น
ได้แต่หวังลึกๆ ในใจ จะมีบ้างไหมสักวัน
สิ่งที่ดีๆ เหล่านั้นจะกลับมา

ยังคิดถึงเธอเหลือเกิน ได้ยินมั้ย
เธอยังอยู่ในหัวใจ ของฉัน
ข่มตานอนทุกคืน ยังฝันยังเห็นว่าเรารักกัน
เธออยู่ที่ไหน คิดถึงเธอ
ชาตินี้ไม่มีสิทธิ์เจอ จบแล้ว ก็เข้าใจ
แต่จะให้ทำยังไง เมื่อในหัวใจมีแต่เธอ

ทีมา ; http://www.siamzone.com/music/thailyric/index.php?mode=view&artist=!!bad4eaa1e1cdca&song=!!bdd8e8b9

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เพลง โอ๊บ โอ๊ย



เนื้อเพลง โอ้ย โอ้ย – เพลงประกอบละคร แจ๋วใจร้ายกับคุณชายเทวดา เบน ชลาทิศ

ตั้งแต่วันที่ฉันได้คุยเพียงครู่สองคนกับเธอครั้งก่อน กลับมานอนครวญครางละเมอคอยพร่ำหาเธอเหมือนจะอ้อนวอน เกิดอะไรขึ้นมาล่ะเออมันอยากรู้นัก เปลี่ยนฉันไปจากเดิม โอ๊ย..
จะเป็นเพียงแววตาของเธอทั้งคู่ฉายมาสะกดหรือเปล่า อาจเป็นดาวดวงใดใช้เธอมาหลอกเล่นกล เป็นไปไม่ได้ ออกจะงงคงเป็นเพราะเธอทำสับสน โอ๊ยเดี๋ยวอยากรัก เดี๋ยวอยากลืม โอ๊ย..โอ๊ย ทุกสิ่งเปลี่ยนไปเพราะเธอ
เธอทำให้ฉันรักเธอก่อนไม่อาจถอน หัวใจมันคอยแอบๆ มองแบบซึ้งๆ เธอทำให้ฉันหลงใจอ่อน นอนกอดหมอนทุกคืน จะทนได้นานสักเท่าไรหากคิดถึง โอ๊ย..โอ๊ย
อยากจะกินกลืนเธอทั้งตัว ไม่อยากเหลือไว้ให้ใครได้กลิ่น อยากได้ยินเพียงเสียงของเธอ เพรียกบอกรักเพ้อถึงฉันผู้เดียว กดอารมณ์ทนไปไม่ไหวใจมันหวิววาบ ไม่เจอคงขาดใจ โอ๊ย..โอ๊ย โอ่ย โอ๊ย..คิดถึงจังเธอ
จะทนได้นานสักเท่าไรหากคิดถึง โอ๊ย..โอ๊ย
อยากจะกินกลืนเธอทั้งตัว ไม่อยากเหลือไว้ให้ใครได้กลิ่น อยากได้ยินเพียงเสียงของเธอ เพรียกบอกรักเพ้อถึงฉันผู้เดียว กดอารมณ์ทนไปไม่ไหวใจมันหวิววาบ ไม่เจอคงขาดใจ โอ๊ย..โอ๊ย โอ่ย โอ๊ย..คิดถึงจังเธอ

โอ้ย โอ้ย – เพลงประกอบละคร แจ๋วใจร้ายกับคุณชายเทวดา เบน ชลาทิศ

ที่มา ; http://www.google.co.th/search?hl=th&q=%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%8A%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%8A%E0%B8%A2&meta=

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง



อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
พิษณุโลก มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อ.วังทอง อ.นครไทย จังหวัดพิษณุโลก และอ.หล่มสัก อ.เมือง อ.ชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ 789,000 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ 2518 ที่ทำการอุทยานฯ อยู่บริเวณกม.ที่ 80 บนถนนทางหลวงหมายเลข 12 สายพิษณุโลก-หล่มสัก สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน เป็นต้น น้ำลำธารหลายสายที่ไหลลงสู่แม่น้ำน่าน สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่

น้ำตกแก่งโสภา
อยู่บริเวณกม.ที่ 71-72 ถนน สายพิษณุโลก-หล่มสัก มีทางลาดยางแยกเข้าไป 2 กม. เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สภาพโดยรอบร่มรื่น บริเวณน้ำตกมีลานจอดรถ ห้องสุขา และร้านขายอาหาร

ทุ่งแสลงหลวง
สภาพพื้นที่เป็นทุ่งหญ้าโล่งใหญ่ (แบบสวันนา) อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 60 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 10 ตรกม. มีทางลูกรังสายที่ทำการอุทยานฯ ทุ่งแสลงหลวง ตามเส้นทางจะผ่านป่าตอนกลางอุทยานฯ ทำให้ได้เที่ยวชมสภาพธรรม ชาติป่าเขาลำเนาไพรอีกด้วย

ทุ่งพญา
เป็นทุ่งหญ้าแบบสวันนาเช่นเดียวกัน มีเนื้อที่ประมาณ 5 ตรกม. เป็นป่าสนที่สมบูรณ์แห่งหนึ่งในช่วงปลายฤดูฝนต่อถึงฤดูหนาว ทุ่งหญ้าแห่งนี้จะมีความสวยงามเหมาะแก่การนั่งรถชมวิว และตั้งค่ายพักแรม การเดินทาง จากทุ่งแสลงหลวง ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ อีกประมาณ 12 กม.

ทุ่งโนนสน
เป็นทุ่งหญ้าแบบสวันนา มีเนื้อที่ 10 กว่าตรกม. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เพิ่ง ค้นพบใหม่ มีธรรมชาติสวยงาม เหมาะแก่การเดินป่าและตั้งค่ายพักแรม การเดินทาง จากที่ทำการอุทยานฯ ไปทางใต้ ตามทางลูกรังสายที่ทำการฯ-ทุ่งแสลงหลวง ประมาณ 25 กม. ถึงทางแยกขวามือ เป็นทางเดินเท้าประมาณ 15 กม.

ถ้ำเขาบ้านมุง
อยู่ในเขตอ.เนินมะปราง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 81 กม. ไปตามถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก ประมาณ 17 กม. แล้วแยกไปตามถนนสายวังทอง-เขาทราย ถึงสากเหล็กประมาณ 38 กม. แล้วแยกซ้ายอีกประมาณ 26 กม. จะถึงหมู่บ้านและทางเข้าวัดบ้านมุง ไกลออกไปอีก 2 กม. มีภูเขาสูงชันหลายลูก ประกอบด้วยภูเขาผาแดงสะดุดตา มีถ้ำประกอบด้วยหินงอก หินย้อย เป็นหลืบ ลึกลับซับซ้อน เรียกถ้ำนี้ว่า "ถ้ำดาว ถ้ำเดือน" นอกจากนี้ในเขตอุทยานฯ ยังมีถ้ำที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งคือ "ถ้ำพระบ้านวังแดง" อยู่ที่ต.ชมพู ห่างจากอ.เนินมะปราง 22 กม. การเดินทาง จากสากเหล็ก เลี้ยวขวาไปเขาทรายประมาณ 10 กม. จะมีทางแยก ร.พ.ช. ไปถึง หมู่บ้านชมพู 31 กม.จากนั้นเดินเท้าอีกประมาณ 2 กม. เส้นทางยังไม่สะดวกนัก

สถานที่พัก อุทยานฯ ได้จัดที่พักไว้สำหรับนักท่องเที่ยว ติดต่อจองที่พักได้ที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 579-0529, 5794842

ที่มา ; http://www.thai-tour.com/thai-tour/north/Pitsanulok/data/place/npk_salaengluang.htm

อุทยานแห่งชาติขุนสถาน



อุทยานแห่งชาติขุนสถาน มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ในท้องที่ อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าไม้ชนิดต่างๆ คือ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง สัตว์ที่พบเห็นได้แก่สัตว์จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบก ครึ่งน้ำ นก ปลา แมลงชนิดต่างๆ ความเป็นมา : ด้วยศูนย์อุทยานแห่งชาติ จังหวัดน่าน ได้มีหนังสือที่ กษ 0712.ศอช.จ.น่าน/1 ลงวันที่ 7 เมษายน 2541 แจ้งว่า ศูนย์อุทยานแห่งชาติ จังหวัดน่าน ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติ 6 แห่ง ได้มีความเห็นและสอดคล้องต้องกันว่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยแม่ขะนิง ป่าน้ำสาและป่าสาครฝั่งซ้าย และป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ในท้องที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรสัตว์ป่ามีลักษณะโดดเด่นอัศจรรย์ และมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและนันทนาการสำหรับประชาชน มีพื้นที่ประมาณ 300,000-400,000 ไร่เศษ เหมาะสมและสมควรจัดตั้งเป็น ดังนั้นจึงเห็นสมควรขอให้ส่วนอุทยานแห่งชาติเสนอให้กรมป่าไม้ พิจารณาจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกมาสำรวจ ประกาศจัดตั้ง และควบคุมพื้นที่ดังกล่าว เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 1041/2541 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ให้นายวิโรจน์ โรจนจินดา เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 อุทยานแห่งชาติแม่ยม ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท จังหวัดลำปาง ไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ดังกล่าว และกรมป่าไม้ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ที่ทำการสำรวจว่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยแม่ขะนิงได้ถูกบุกรุกแผ้วถางและยึดถือครอบครองเป็นส่วนมาก สมควรประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเฉพาะในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำสาฝั่งขวาตอนขุน ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำสาและป่าสาครฝั่งซ้าย ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สาครฝั่งขวา ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ในท้องที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เนื้อที่ประมาณ 535,625 ไร่ หรือ 857 ตารางกิโลเมตร ต่อมากรมป่าไม้ได้มีคำสั่งให้ไปสำรวจรายละเอียดเพิ่มเติม จากการสำรวจพบว่าพื้นท่มีความเหมาะสมอย่ในพื้นท่ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาแม่นำน่านตอนใต้ ในท้องท่อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เนื้อที่ประมาณ 262,000 ไร่ หรือ 419.2 ตารางกิโลเมตรลักษณะภูมิประเทศ เป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีความสูงชัน ทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ มีแนวสันเขาของดอยแปรเมืองเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างจังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน มีลำธารและลำห้วยไหลลงสู่แม่น้ำหลายสาย เช่น น้ำสา น้ำถา น้ำแหง น้ำแม่สาคร เป็นต้น ดอยที่สำคัญ เช่น ดอยกู่สถาน มีความสูง 1,630 เมตร ดอยแปรเมือง มีความสูง 1,395 เมตร ดอยขุนห้วยฮึก มีความสูง 1,233 เมตร ดอยแม่จอก มีความสูง 1,424 เมตร และดอยที่สูงที่สุดคือ ดอยภูคา สูง 1,728 เมตรจากระดับน้ำทะเลลักษณะภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ จากข้อมูลภูมิอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 - 2540 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี วัดได้ 1,194 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิสูงสุดเดือนพฤษภาคม 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเดือนมกราคม 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 27 องศาเซลเซียสพืชพรรณและสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติขุนสถานสามารถจำแนกสังคมพืชออกได้เป็น ป่าดิบเขา ขึ้นอยู่ตามสันเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป เช่น บริเวณดอยขุนห้วยย่าทาย ดอยขุนห้วยหก ดอยขุนสถาน มีพันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ ก่อ สารภีดอย พะวา จำปีป่า เหมือด กำยาน เฟิน และปรงป่า และทีเฟริ์น ป่าสนเขา ขึ้นกระจายตามยอดเขาที่ความสูงประมาณ 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล เช่น บนดอยจวงปราสาท ดอยแปรเมือง มีอาณาบริเวณไม่กว้างนัก พันธุ์ไม้ที่พบได้แก สนสองใบ สนสมใบ เหียง และพะยอม ป่าดิบแล้ง พบกระจายอยู่ทั่วไป สภาพป่ามีความชื้นสูง สภาพป่ารกทึบ มีพันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างได้แก่ ยางปาย ยมหิน ม่วงก้อม ชมพูป่า เขืองแข้งม้า และหนามเล็บเหยี่ยว ป่าเบญจพรรณ พบกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 250-1,00 เมตร ชนิดไม้และพืชพื้นล่างที่พบได้แก่ ประดู่ ชิงชัน เก็ดแดง เก็ดดำ รกฟ้า มะเฟืองช้าง ตะแบกเลือด ปู่เจ้า มะกอกเกลื้อน ไผ่ไร่ ไผ่บง ไผ่ซาง เห็ดจั่น เห็ดมัน เห็ดซาง และเห็ดขอน และ ป่าเต็งรัง พบตามสันเขาที่มีความสูงระหว่าง 700-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พะยอม มะม่วงหัวแมงวัน กระโดน ติ้ว กระท่อมหมู ปรง เห็ดไข่ห่านเหลือง และเห็ดขมิ้นใหญ่ เป็นต้น ป่าดิบชื้น ขึ้นอยู่ตามริมห้วย พบกระจายอยู่ทั่วไป แต่เป็นบริเวณไม่กว้างนัก พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ ตะเคียนทอง ยมหอม เชียด เลือดม้า กระทุ่มบก ลำพูป่า เฟิน ผักกูด กีบแรด บอน เห็ดแดง และเห็ดขมิ้นน้อย และยังพบกล้วยไม้นานาชนิด เช่น สิงโตสยามฯ สัตว์ป่าที่พบในอุทยานแห่งชาติขุนสถาน ได้แก่ เสือโคร่ง หมีควาย กวางป่า เลียงผา หมูป่า ลิง อีเห็น หมูหริ่ง หมาหริ่ง กระต่ายป่า ตุ่น อ้น กระรอก นกขุนทอง นกแก้ว นกขมิ้น นกหัวขวาน นกแซงแซวหางบ่วง นกตะขาบทุ่ง แย้ ตะกวด กิ้งก่า ตุ๊กแกป่า กบ เขียด อึ่งอ่าง คางคก ฯลฯ สำหรับในบริเวณแหล่งน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำสิริกิตติ์ มีปลาอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ปลานิล ปลาตะเพียนแดง ปลาแรด ปลาชะโด ปลาไน ปลาช่อน ปลาบู่ทอง ปลาสลาก ปลาตะโกก ปลาหมอ และปลาสร้อย เป็นต้นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจศาลเจ้าพ่อเขาครึ่ง เป็นเจ้าพ่อประตูเมืองของจังหวัดน่าน และเป็นที่เคารพสักการะของผู้เดินทางผ่านไปมา ตั้งอยู่บริเวณริมถนนสายร้องกวาง-อำเภอเวียงสา บริเวณหลักกิโลเมตร ที่ 30 (เขตแดนจังหวัดน่าน-แพร่)น้ำน่านตอนบนเขื่อนสิริกิตติ์ มีความสวยงามของธรรมชาติและทิวทัศน์สองฝั่งลำน้ำ ซึ่งล้อมรอบด้วยทิวเขาที่ทอดตัวเป็นแนวยาว สามารถล่องเรือหรือแพชมความสวยงามได้ และบางครั้งยังพบฝูงปลากระโดดเล่นน้ำและแหวกว่ายอยู่กลางน้ำที่ใสสะอาดอีกด้วยน้ำตกตาดหมอก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีจำนวน 3 ชั้น ความสูงรวมประมาณ 50 เมตร ตั้งอยู่บริเวณดอยแม่จอก ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 3 กิโลเมตรน้ำตกผาแดง เป็นน้ำตกหลายชั้น โดยมีชั้นที่มีขนาดใหญ่จำนวน 4 ชั้น ชั้นที่สูงที่สุดประมาณ 15 เมตร ตั้งอยู่ใกล้กับถ้ำละโอ่ง ห่างจากบ้านเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย ประมาณ 5 กิโลเมตรดอยกู่สถาน เป็นดอยที่มีความสูงถึง 1,630 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม อากาศหนาวเย็นตลอดปีถ้ำละโอ่ง เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 1.8 กิโลเมตร ภายในถ้ำมีลำธารไหลผ่าน และมีหินงอกหินย้อยที่มีความสวยงามดอยแม่จอก เป็นยอดดอยที่มีความสูง 1,424 เมตรจากระดับน้ำทะเล อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี เป็นสถานที่ตากอากาศและจุดชมทิวทัศน์ มีวิวทิวทัศน์ของเทือกเขาที่เรียงรายสลับซับซ้อน สามารถมองเห็นความงดงามของดวงอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าและทะเลหมอกที่เป็นผืนขนาดใหญ่กว้างไกลสุดสายตากาดวัว ในอดีตเคยเป็นที่ชุมนุมของวัวแดงและกระทิง ตั้งอยู่บนยอดดอยขุนห้วยย่าทาย ห่างจากหมู่บ้านนาก้า ประมาณ 5 กิโลเมตร ต้องเดินเท้าเข้าไป 6 ชั่วโมง จากจุดนี้สามารถมองเห็นทะเลหมอกในตอนเช้าช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวน้ำตกขุนลี เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 100 เมตร อยู่บริเวณดอยกู่สถาน การเดินทางไม่สะดวก ต้องเดินเท้าผ่าดงทาก ประมาณ 4 ชั่วโมง จึงจะถึงตัวน้ำตก สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติ ยังไม่ที่พัก-บริการไว้บริการนักท่องเที่ยว มีแต่สถานที่กางเต็นท์ให้บริการนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นอุทยานแห่งชาติจัดตั้งใหม่ หากสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวต้องจัดเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง การเดินทาง รถยนต์ ใช้เส้นทางจากตัวจังหวัดแพร่ได้ 2 เส้นทาง คือ 1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (ถนนยนตรกิจโกศล) เป็นเส้นทางจากตัวจังหวัดแพร่ไปจังหวัดน่าน มาตามเส้นทางประมาณ 66 กิโลเมตรจะถึงหม่บ้านห้วยแก๊ต ให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวง 1216 ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร 2. จากจังหวัดน่าน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1026 สายอำเภอเวียงสา - อำเภอนาน้อย และจากอำเภอนาน้อยเลี้ยวขวา ไปถึงที่ทำการอุทยาน ระยะทางประมาณ 33 กิโลเมตร สำหรับการเดินทางไปแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ลำนำน่านตอนบนเขื่อนสิริกิต์ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ไปถึงอำเภอเวียงสาเลี้ยวขวาไปตามถนนเจ้าฟ้า ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1026 จากอำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร และจากอำเภอนาน้อยไปตามถนนลาดยางไปอำเภอนาหมื่น ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร และจากอำเภอนาหมื่นแยกเลี้ยวซ้ายไปตามถนนลาดยางไปบ้านปากนาย ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตรสถานที่ติดต่อ อุทยานแห่งชาติขุนสถาน ตู้ ปณ.5 อ.นาน้อย จ.น่าน 55150 โทรศัพท์ 0 1472 6169

ที่มา ; http://www.oceansmile.com/N/Nan/NANm17.htm

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง



อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง เป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 81 ของประเทศไทย ซึ่งกรมป่าไม้ได้เลือกให้เป็นอุทยานแห่งชาติฉลอง 100ปี กรมป่าไม้และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ปีที่ 50 เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2539 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้เสด็จทรงประกอบพิธีเปิดป้ายอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังอย่างเป็นทางการ
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีจุดชมวิวที่มีความสวยงามทางธรรมชาติความงดงามของท้องทะเลหมอก สามารถที่จะมองเห็นเทือกเขาดอยหลวงเชียงดาวได้อย่างชัดเจน

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงที่สลับซับซ้อนทอดตัวยาวตามแนวเหนือ-ใต้และอยู่ในแนวเดียวกันกับเทือกเขาเชียงดาว ภูเขาต่าง ๆ ในพื้นที่ที่มีความสูงชันตั้งแต่ 500-1,962 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย ได้แก่ ห้วยแม่เย็น ห้วยแม่ฮี้ ห้วยแม่ปิง ห้วยแม่จอกหลวง ห้วยน้ำดัง เป็นต้น รวมกันไหลลงสู่แม่น้ำปาย แม่น้ำปิง แม่น้ำแตง

ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ จะมีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 9°c
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - เดือนเมษายน จะมีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 34°c

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพทางธรรมชาติยังคงความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้เกิดสังคมพืชหลากหลายชนิด ประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าสนเขา มีพรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ตะเคียน ยาง จำปีป่า ยมหอม มะม่วงป่า ยมป่า เสลา ดงดำ แดง ประดู่ ตะแบก ตีนนก งิ้วป่า สนสองใบ ไม้ก่อต่าง ๆ เต็ง รัง เป็นต้น

ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่า จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า กวาง หมี เก้ง เลียงผา หมูป่า เสือ ชะมด ลิง พังพอน เม่น ไก่ป่า ไก่ฟ้า และนกนานาชนิด ได้แก่ นกเปล้า นกแก้ว นกขุนทอง นกขมิ้น นกปรอท และ นกเหยี่ยว เป็นต้น

ที่มา ; http://www.thaiforestbooking.com/np_home.asp?npid=150&lg=1

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ



ท่ามกลางผืนป่าตะวันตกของไทยที่กว้างใหญ่กว่า 11.7 ล้านไร่ ซึ่งมีป่ามรดกโลกห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นแกนกลางนั้นโดยรอบยังมีผืนป่าอนุรักษ์อยู่อีกมากมายหลายแห่ง อุทยานแห่งชาติเอราวัณเป็นป่าอนุรักษ์ผืนหนึ่งในนั้น ซึ่งยังคงความอุดมสมบูรณ์ จนก่อให้เกิดน้ำตกน้อยใหญ่หลายแห่ง น้ำตกเอราวัณตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ใกล้กับที่ทำการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และงดงามที่สุดแห่งหนึ่งของผืนป่าตะวันตก สภาพโดยรอบมีแมกไม้น้อยใหญ่ร่มรื่น น้ำตกเอราวัณเดิมมีชื่อว่าน้ำตกสะด่องม่องลายตามชื่อลำห้วยม่องลายซึ่งเกิดจากยอดตาม่องลายในเทือกเขาสลอบ สายน้ำจะไหลตามชั้นหินปูนเป็นระยะทางไกลถึง 1,500 เมตร ลดหลั่นเป็นเชิงชั้นราวขั้นบันไดธรรมชาติ สลับกับแอ่งน้ำสีเขียวมรกตตามฉบับน้ำตกหินปูนทั่วไป น้ำตกเอราวัณแบ่งออกเป็นชั้นใหญ่ๆ ถึง 7 ชั้นด้วยกัน โดยชั้นที่ 2 ถือว่ามีสายน้ำทิ้งตัวลงจากลาดไหล่หินได้สวยงามที่สุด ส่วนชั้นที่ 5 มีลักษณะเป็นวังน้ำใหญ่ไหลเย็น และก้อนหินที่ถูกขัดเกลาผ่านกาลเวลามาอย่างเนินนาน ทว่าน้ำตกชั้นที่ 7 นั้นเอง ที่มีก้อนหินเหมือนตกลักษณะคลบ้างเศียรช้างเอราวัณ อันเป็นที่มาของชื่อน้ำตก ในฤดูฝน สายน้ำจะไหลแรงพุ่งตกลงมาจากเศียรช้าง และมีปริมาณน้ำมากจนมองเห็นได้จากระยะไกล ซึ่งในยามปกติจะสามารถเดินขึ้นไปเที่ยวชมได้ครบทุกชั้น แต่ยามที่น้ำหลากอาจเที่ยวชมได้แค่ชั้นที่ 2 เท่านั้น นอกจากนี้ที่น้ำตกชั้นที่ 2 ได้มีการจัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทาง 1 กิโลเมตร พร้อมป้ายสื่อความหมายเป็นระยะด้วย

ที่มา ; http://www.dnp.go.th/parksample/park.asp?park=10

อุทยานแห่งชาติปางสีดา



อุทยานแห่งชาติปางสีดาเป็นป่าที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะการศึกษา
เรื่องสัตว์ป่า เพราะมีสัตว์ป่าสัตว์ป่าหายากและนกกว่า 300 ชนิด เช่น
นกเงือก นกยูง จุดหนึ่งที่พบสัตว์ป่ามากก็คือ บริเวณ ห้วยคลองพลู
ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับไร่ร้าง ปัจจุบันมีสภาพเป็นทุ่งหญ้าที่สัตว์ป่าหลายชนิด
มักจะมากินน้ำ สัตว์ที่พบในบริเวณนี้ คือช้างป่า กระทิง เก้ง กวาง หมูป่า
หรือแม้แต่เสือลายพาดกลอน นอกจากนี้ภายในอุทยาน ฯ ยังมีสถานที่
ที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง ได้แก่

น้ำตกปางสีดา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน ฯ ประมาณ 800 เมตร
เป็นน้ำตกที่ทิ้งตัวจากหน้าผาสูง 8 เมตร เบื้องล่างเป็นแอ่งน้ำกว้างใหญ่
บรรยากาศร่มรื่น และจะมีน้ำมากในช่วงฤดูฝน

น้ำตกผาตะเคียน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน ฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร
ห่างจากน้ำตกปางสีดา ประมาณ 2.5 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางขึ้นสู่น้ำตก
ร่มรื่นด้วยแมกไม้หนาทึบ เป็นน้ำตกชั้นสุดท้าย ที่อยู่ในสายเดียวกับน้ำตก
ปางสีดา มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงประมาณ 20 เมตร หน้าฝนน้ำตกจะไหล
ทิ้งตัวลดหลั่นเป็นชั้น ๆ สวยงามมาก เหมาะสำหรับเดินศึกษาธรรมชาติ

กลุ่มน้ำตกแควมะค่า จากที่ทำการอุทยาน ฯ ถึงหลักกิโลเมตรที่ 40
ให้เดินเท้าต่ออีกประมาณ 6 กิโลเมตร ตัวน้ำตกทิ้งตัวจากหน้าผาสูง
ประมาณ 70 เมตร เหมาะสำหรับเดินป่าและสามารถกางเต็นท์ได้ ใกล้ ๆ
กันยังมี น้ำตกรากไทรย้อย ห่างจากน้ำตกแควมะค่าประมาณ 500 เมตร

น้ำตกลานหินใหญ่ ห่างจากน้ำตกแควมะค่าประมาณ 1.5 กิโลเมตร
น้ำตกสวนมั่น สวนทอง ห่างจากน้ำตกแควมะค่าประมาณ 3 กิโลเมตร
และน้ำตกม่านธารา ห่างจากน้ำตกแควมะค่าประมาณ 4 กิโลเมตร
กลุ่มน้ำตกแห่งนี้ ใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 2-3 วัน
เนื่องจากเป็นกลุ่มน้ำตกที่อยู่ลึกเข้าไปในผืนป่า

น้ำตกถ้ำค้างคาว จากที่ทำการอุทยาน ฯ ถึงหลักกิโลเมตรที่ 22
ให้เดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร บริเวณน้ำตกมีค้างคาว
อาศัยอยู่ในถ้ำมากมาย

จุดชมวิว เป็นหุบเขากว้าง อยู่ประมาณกิโลเมตรที่ 25 และกิโลเมตรที่ 35
สามารถชมภูมิประเทศโดยรอบ และชมพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตกได้

แหล่งจระเข้น้ำจืด ห่างจากที่ทำการอุทยาน ฯ ประมาณ 5 กิโลเมตร
เข้าไปทางหมู่บ้านคลองผักขม – ทุ่งโพธิ์อีกประมาณ 50 กิโลเมตร
เป็นแหล่งจระเข้น้ำจืด ซึ่งเหลือเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
อยู่ในบริเวณห้วยน้ำเย็นที่มีวังน้ำขนาดใหญ่หลายแห่งซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น
แหล่งอาศัยของจระเข้น้ำจืด แทบทั้งสิ้น

กิจกรรมดูผีเสื้อที่ปางสีดา

การเดินทางไปอุทยาน ฯ

โดยรถส่วนตัว จากตัวเมืองสระแก้วใช้ทางหลวงหมายเลข 3462
ขึ้นไปทางทิศเหนือ ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร

หรือใช้บริการรถสองแถว โดยสารสายสระแก้ว – บ้านคลองน้ำเขียว
เข้าไปประมาณ 27 กิโลเมตร จนถึงที่ทำการอุทยาน ฯ

หรือเดินทางโดยรถไฟสาย กรุงเทพ ฯ – อรัญประเทศ ลงที่สถานีรถไฟ
จังหวัดสระแก้ว จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางสายสระแก้ว –
บ้านคลองน้ำเขียว

อุทยานฯ ปางสีดา โทร . 0 3724 6100 , 08 1862 1511

อุทยานฯ ปางสีดา ถูกประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22
กุมภาพันธ์ พ.ศ.2525 มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอเมือง ฯ อำเภอวัฒนานคร
อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 844 ตารางกิโลเมตร หรือ 527,500 ไร่

อาณาเขตทางด้านทิศเหนือทั้งหมดกับด้านทิศตะวันตกบางส่วน มีแนวป่า
ต่อเนื่องกับอุทยานแห่งชาติทับลาน สภาพป่าเป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน
มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าทุ่งหญ้า เป็นป่าแห่ง
ต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธารหลายสายเช่นเดียวกับเขาใหญ่ เช่น ห้วยโสมง
ห้วยเสียว ห้วยน้ำเย็น ห้วยพระปรง ห้วยพลับพลึง ห้วยยาง ห้วยเลิงไผ่
ห้วยมะพูด ลำห้วยต่าง ๆ หล่านี้ จะไหลลงสู่แม่น้ำบางปะกงหรือแม่น้ำ
ปราจีนบุรี ซึ่งจัดว่าเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออก

ที่มา ; http://www.tat8.com/thai/sk/p_pangsida.html

อุทยานแห่งชาติไทรทอง



ทุ่งดอกกระเจียว" อุทยานแห่งชาติไทรทอง
ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติไทรทอง อยู่ในท้องที่อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอเทพสถิต อำเภอภักดีชุมพล และอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ประมาณ 199,375 ไร่ หรือ 319 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติป่าหินงามและอุทยานแห่งชาติภูแลนคา เป็นผืนป่าบนเทือกเขาพังเหย ในช่วงต้นฤดูฝนนอกจากผืนป่าจะเขียวชอุ่มชุ่มชื้นไปด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่แล้ว ที่นี่ยังงดงามโดดเด่นด้วยดอกกระเจียวที่ผลิบานอยู่เต็มท้องทุ่ง เรียกชื่อว่า ทุ่งบัวสวรรค์ มีน้ำตกไทรทองที่สวยงาม และมีหน้าผาให้ทุกคนท้าพิสูจน์ของความหวาดเสียว

ความเป็นมา : เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าเทือกเขาพังเหย และป่านายางกลัก ในท้องที่ตำบลท่าใหญ่ ตำบลถ้ำวัวแดง อำเภอหนองบัวแดง ตำบลบ้านเจียง ตำบลเจาทอง ตำบลวังทอง กิ่งอำเภอภักดีชุมพล อำเภอหนองบัวแดง ตำบลห้วยแย้ ตำบลวังตะเฆ่ อำเภอหนองบัวระเหว และตำบลโป่งนก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ประกอบไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า และภูเขาที่สวยงามยิ่ง เช่น น้ำตกไทรทอง ทุ่งบัวสวรรค์ ฯลฯ สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ที่ นร 0602/723 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2535 ว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าดังกล่าวข้างต้น และสำนักเลขานุการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ ที่ นร 0203/9140 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 ว่า บัดนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างดังกล่าวเสร็จแล้ว ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพิกถอนป่าสงวนในส่วนที่ทับซ้อนกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการใช้บังคับกฎหมายสองฉบับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีหนังสือที่ กษ 0713.2/43143 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2535 เห็นชอบ ในข้อสังเกตุดังกล่าวในการเพิกถอนป่าสงวนที่ทับซ้อน

สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีหนังสือ ที่ นร 0203/855 ลงวันที่ 21 มกราคม 2536 แจ้งว่า ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเทือกเขาพังเหย และป่านายางกลัก ในท้องที่ตำบลท่าใหญ่ ตำบลถ้ำวัวแดง อำเภอหนองบัวแดง ตำบลบ้านเจียง ตำบลเจาทอง ตำบลวังทอง กิ่งอำเภอภักดีชุมพล อำเภอหนองบัวแดง ตำบลห้วยแย้ ตำบลวังตะเฆ่ อำเภอหนองบัวระเหว และตำบลโป่งนก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2535 โดยใช้ชื่อว่า “ อุทยานแห่งชาติไทรทอง “ นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 77 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติไทรทองอยู่ในเขตเทือกเขาพระยาฝ่อ และเทือกเขาพังเหย มีลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงต่ำหลายลูกเรียงรายสลับซับซ้อน มีระดับความสูงตั้งแต่ 300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ถึงสูงสุดที่ยอดเขาพังเหย 1,008 เมตร เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำของลำห้วยโป่งขุนเพชร ลำห้วยเชียงทา ลำห้วยแย้ ลำห้วยยาง ล้ำน้ำเจา ลำน้ำเจียง ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำชี

ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่ป่าแห่งนี้จัดอยู่ในภูมิอากาศประเภทฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม สามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ลักษณะของฝนที่ตกส่วนมากจะเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง อิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นจะได้รับไม่มากนัก ฝนตกมากในช่วงเดือนกันยายน ฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าของอุทยานแห่งชาติไทรทองสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ป่าดิบแล้ง พบทางตอนเหนือของเทือกเขาพระยาฝ่อ และตอนกลางของเทือกเขาพังเหย พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ตะแบก กระบาก ตะเคียนหิน มะค่าโมง มะม่วงป่า ประดู นนทรีป่า สาธร และเขล็ง ฯลฯ ป่าเต็งรัง พบมากบริเวณพื้นที่สันเขาและพื้นที่ลอนลาดตอนล่างในเทือกเขาพังเหย พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อ พะยอม เต็ง รัง พลวง ตีนนก กว้าว แดง รัก กระบก ส้าน ไผ่ และหญ้าชนิดต่างๆ และ ป่าเบญจพรรณ พบไม่มากนัก พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก มะค่าโมง และไผ่ชนิดต่างๆ

สัตว์ป่า ที่พบเห็นได้ในเขตอุทยานแห่งชาติไทรทอง ได้แก่ หมูป่า อ้น อีเห็น ชะมด เก้ง กระจง กระรอก กระแต กระต่ายป่า นกตะขาบทุ่ง นกกระปูด อีกา เหยี่ยว ไก่ป่า ตะกวด แย้ ตุ๊กแก กิ้งก่า งู กบ ปาด เขียด อึ่งอ่าง ฯลฯ และพบปลาบางชนิดตามแหล่งน้ำต่างๆ

อุทยานแห่งชาติไทรทองได้จัดให้มีกิจกรรมพายเรือศึกษาธรรมชาติในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนวังน้ำเขียว หน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบผจญภัย “ประลองความกล้า ท้าความเสียว เที่ยวพิชิตหน้าผา” โดยเป็นกิจกรรมปีนหน้าผา และโรยตัวลงหน้าผาในบริเวณผาพ่อเมืองและผาหำหด บนยอดเขาพังเหย นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจให้นักท่องเที่ยวที่แวะมาเยี่ยมชมได้สัมผัสกับธรรมชาติอันสวยงาม ดังนี้

กรุณาเลือกแหล่งท่องเที่ยวด้านธรรมชาติที่สวยงาม

น้ำตกไทรทอง น้ำตกชวนชม ทุ่งบัวสวรรค์ จุดชมวิวเขาพังเหย จุดชมวิวหลังสัน ผาหำหด น้ำตกคลองไทร ถ้ำแก้วและถ้ำพระ ผาพ่อเมือง

น้ำตกไทรทอง
อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติไทรทอง สูงประมาณ 5 เมตร ลานหินกว้าง 80 เมตร ยามน้ำหลาก สายน้ำแผ่กว้างตกลงมาเป็นม่านน้ำงดงาม มีแอ่งน้ำใหญ่อยู่บริเวณหน้าน้ำตก สามารถลงเล่นน้ำได้ เรียกว่า “วังไทร” เหนือน้ำตกขึ้นไปมีวังน้ำขนาดใหญ่ เรียกว่า “วังเงือก” แล้วไหลลงตามความลาดชันของลานหินลงสู่น้ำตกไทรทองยาวประมาณ 150 เมตร
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

น้ำตกชวนชม
อยู่เหนือน้ำตกไทรทองขึ้นไปประมาณ 2 กิโลเมตร ตามทางเดินศึกษาธรรมชาติ สูงประมาณ 20 เมตร กว้าง 50 เมตร อยู่ภายใต้ร่มไม้ที่ร่มรื่น
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก


ทุ่งบัวสวรรค์หรือ "ทุ่งดอกกระเจียว"
ทุ่งบัวสวรรค์ หรือทุ่งดอกกระเจียว มีทั้งดอกสีชมพูและดอกสีขาว อยู่บริเวณสันเขาพังเหยด้านทิศตะวันตก มีทั้งหมด 5 ทุ่งใหญ่ๆ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 10 กิโลเมตร จะออกดอกสวยงามเต็มทุ่งประมาณปลายเดือนมิถุนายน - กลางเดือนสิงหาคมของทุกปี ทางอุทยานแห่งชาติไทรทองจัดให้มีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ คือ จัดเจ้าหน้าที่นำทางพาผู้สนใจเดินขึ้นไปตั้งแค็มป์พักแรมบนทุ่งบัวสวรรค์ ในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคมบริเวณทุ่งบัวสวรรค์ทั้ง 5 ทุ่ง จะมีพรรณไม้ดอกแข่งขันกันออกดอก มีทั้งดุสิตา สร้อยสุวรรณา จุกนารี กระดุมเงิน กระดุมทอง เอื้องนวลจันทร์ หงอนไก่แจ้ สามพันตึง ดาวเรืองภู เป็นต้น
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ชมพรรณไม้ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

จุดชมวิวเขาพังเหย
อยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 (ชัยภูมิ-นครสวรรค์) ประมาณกิโลเมตรที่ 70 เป็นที่แวะพักรถยนต์และชมทิวทัศน์ของผืนป่าและแนวสันเขาสลับซับซ้อนของเขาพังเหย เมื่อมองลงไปเบื้องล่างจะเห็นที่ราบภาคกลางในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะในช่วงยามเย็นที่อาทิตย์จะอัสดง
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์

จุดชมวิวหลังสัน
เป็นจุดสูงสุดของเทือกเขาพังเหย สูงจากระดับน้ำทะเล 1,008 เมตร อากาศหนาวเย็นตลอดปี มีสถานที่กางเต็นท์พักแรมและบ้านพักรับรอง เพื่อสัมผัสความหนาวเย็นของอากาศ
กิจกรรม -แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์

ผาหำหด
เป็นสันเขาตรงจุดสูงของเทือกเขาพังเหย สูงจากระดับน้ำทะเล 864 เมตร มองเห็นทิวทัศน์สวยงามรอบด้าน อากาศหนาวเย็นตลอดปี มีสถานที่กางเต็นท์พักแรม เพื่อสัมผัสความหนาวเย็นของอากาศ และกิจกรรมปีนหน้าผา
กิจกรรม -ไต่หน้าผา - แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์

น้ำตกคลองไทร
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้านอำเภอภักดีชุมพล ตัวน้ำตกเป็นชั้นเล็กๆ ภายใต้ร่มไม้ที่ร่มรื่น จะมีน้ำมากในช่วงฤดูฝน
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

ถ้ำแก้วและถ้ำพระ
อยู่ในเทือกเขาพระยาฝ่อ ภายในมีหินงอกหินย้อยงดงาม
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ผาพ่อเมือง
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 10 กิโลเมตร เป็นแนวหน้าผาหินทรายยาว 3 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเส้นทางไปทุ่งบัวสวรรค์ บนสันเขาพังเหยด้านทิศตะวันตกสูงจากระดับน้ำทะเล 800-908 เมตร มองลงไปด้านล่างจะเห็นตัว อำเภอภักดีชุมพล และเส้นทางเดินเท้าลัดเลาะไปตามแนวหน้าผา มีจุดชมวิวเด่นๆ อยู่ 4 จุดคือ ผาอาทิตย์อัสดง ผาสวนสวรรค์ ผาเพลินใจ ผาหำหด ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหน้าผาที่หวาดเสียวสุดๆ เมื่อขึ้นไปนั่งบนชะง่อนหินนั้น

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติไทรทอง
ตู้ ปณ. 1 อ. หนองบัวระเหว จ. ชัยภูมิ 36250
โทรศัพท์ 0 1266 3781, 0 9282 3437

การเดินทาง
รถยนต์
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติไทรทอง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดชัยภูมิ ประมาณ 70 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอหนองบัวระเหว ประมาณ 37 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 สายชัยภูมิ - นครสวรรค์ จะมีทางแยกขวามือเข้าไปน้ำตกไทรทองอีก 7 กิโลเมตร

เครื่องบิน
นั่งเครื่องบินจากดอนเมือง ไปลงขอนแก่น และก็ต่อรถโดยสารสาย นครสวรรค์ - ขอนแก่น มาลงที่บ้านท่าโป่ง กิโลเมตรที่ 123

รถไฟ
มีรถด่วนและรถเร็วสายกรุงเทพฯ - อุดร - หนองคาย ผ่านเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ลงที่สถานีจัตุรัส นั่งสามล้อไป บขส.จัตุรัส ต่อรถไปหนองบัวระเหว เมื่อถึงระเหวแล้วต่อรถ สายชัยภูมิ-บึงสามพันหรือสายขอนแก่นนครสวรรค์ ลงที่ป้อมยามตำรวจบ้านที่โป่ง แล้วขึ้นมอร์เตอร์ไซค์รับจ้างเข้าไปที่อุทยานแห่งชาติ

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 250-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น

รายการที่ 1
- เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 250 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 5 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ที่รองนอน ถุงนอน และชุดสนาม

รายการที่ 2
- เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม

กรณีที่นำเต็นท์ไปกางเอง ต้องเสียค่าบริการสถานที่ 30 บาท/คน/คืน หากไม่มีเครื่องนอนก็ใช้บริการเครื่องนอนและอุปกรณ์สนามของอุทยานฯ มีอัตราค่าบริการเครื่องนอนกรณีนำเต็นท์ไปเอง มีดังนี้
1) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ถุงนอน ที่รองนอน และชุดสนาม ราคา 150 บาท/ชุด/คืน
2) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม ราคา 200 บาท/ชุด/คืน

ที่จอดรถ
มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

บริการอาหาร
มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.

ที่มา ; http://www.moohin.com/041/041m012.shtml

อุทยานแห่งชาติทะเลบัน



อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่ป่าทางด้านทิศใต้ของจังหวัดสตูล บริเวณชายแดนของประเทศกับรัฐเปอร์ลิส ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย เป็นพื้นที่ป่าที่มีความสวยงามและอุดมสมบูรณ์ตลอดแนวชายแดนประกอบด้วยความแตกต่างของสภาพโครงสร้างทางภูมิศาสตร์ ชนิดของป่าและสัตว์ป่านานาชนิด มีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เล่าขานกันมาว่า พื้นที่ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งเพาะปลูกและที่อยู่อาศัยของชาวบ้านวังประจัน บริเวณรอยต่อระหว่างเขามดแดง ซึ่งมีสภาพเป็นภูเขาหินปูนกับเขาจีนซึ่งมีสภาพเป็นภูเขาหินแกรนิตได้เกิดยุบตัวลงเกิดเป็นหนองน้ำจืดขนาดใหญ่ เรียกภาษาท้องถิ่นว่า “เลิดเรอบัน” และได้เพี้ยนเป็น“ทะเลบัน” ในเวลาต่อมา

ในปี 2519 นายอารีย์ วงศ์อารยะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลในขณะนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญของพื้นที่ป่าบริเวณนี้จึงได้เสนอกรมป่าไม้ให้ดำเนินการสำรวจและจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าบริเวณหนองน้ำทะเลบัน และพื้นที่ป่าใกล้เคียงซึ่งมีความสวยงามและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารอีกด้วย เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติและได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าหัวกะหมิง ป่ากุปัง ป่าปุโล้ต ท้องที่ตำบลควนสตอ กิ่งอำเภอควนโดน และตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2523 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 97 ตอนที่ 165 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2523 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 20 ของประเทศโดยครอบคลุมพื้นที่ 101.68 ตารางกิโลเมตร

ต่อมาได้มีการสำรวจพื้นที่บริเวณรอยแยกต่อของป่ากุบัง-ปุโล้ต ในท้องที่ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ว่ายังมีพื้นที่ป่าที่มีความสวยงามและอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ไปจนถึงชายทะเลบริเวณตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เห็นสมควรประกาศผนวกเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติประกาศพื้นที่ดังกล่าวรวมกับพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 127 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 ฉบับพิเศษ หน้า 37-39 พื้นที่ของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน ในปัจจุบันจึงครอบคลุมพื้นที่ป่าหัวกะหมิง ป่ากุปัง ป่าปุโล้ต และป่าควนบ่อน้ำ ท้องที่ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน และตำบลเกตรี ตำบลบ้านควน ตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล รวมพื้นที่ 196 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน ตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทยระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 องศา 25 ลิบดา – 6 องศา 48 ลิบดา เหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 05 ลิบดา – 100 องศา 13 ลิบดา ตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้างทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกจดอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ทิศใต้จดรัฐเปอร์ลิส ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย และทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย

พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติทะเลบันเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วย เขาวังช้าง เขาหินร้อง เขาวังพะเนียด เขาจีน เขามดแดง เขาหาบเคย เขากวงใหญ่ เขากวงเล็ก เขาวังหมู เขาวังกลวง เขากายัง เขากล่ำ เขาปูยู และเขาวังกูนอง มียอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ในเทือกเขาจีน สูงประมาณ 756 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เทือกเขาทางด้านอำเภอเมืองหรือด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติมีลักษณะเป็นเทือกเขาหินปูนในยุคออร์โดวิเชียน (500-435 ล้านปีมาแล้ว) หินดินดาน และหินควอร์ตไซต์ ซึ่งมีการกัดเซาะตามธรรมชาติจึงเกิดเป็นถ้ำขนาดใหญ่อยู่หลายแห่งเช่น ถ้ำโตนดิน ถ้ำผาเดี่ยว และถ้ำลอดปูยู เป็นต้น ส่วนทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอควนโดนจะเป็นหินแกรนิตในยุคครีเทเชียส (141-65 ล้านปีมาแล้ว) และหินแกรโนไดโอไรต์ นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติทะเลบันยังได้รวมพื้นที่อีก 1 เกาะ ซึ่งติดแนวเขตประเทศ คือ เกาะปรัสมานา

เทือกเขาจีนเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ประกอบด้วยลำธารย่อยๆ มากมายที่สำคัญคือ คลองกลางบ้าน คลองยาโรย คลองตูโย้ะ มีน้ำตกที่สวยงาม 2 แห่ง ได้แก่ น้ำตกยาโรย และน้ำตกโตนปลิว ส่วนทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติบริเวณเขาบ่อน้ำมีคลองท่าส้ม และบริเวณแนวเขตของอุทยานแห่งชาติทางทิศตะวันตก เป็นลำธารน้ำกร่อยและน้ำเค็มในพื้นที่ป่าชายเลนตลอดแนวตะวันตก

ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดสตูลได้รับอิทธิพลเต็มที่จากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย ในเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ในระยะที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลงก็จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนพัดเข้ามาแทนที่ แต่เนื่องจากจังหวัดสตูลอยู่ทางด้านตะวันตกของฝั่งทะเล จึงไม่ค่อยได้รับอิทธิพลมากนักจากมรสุมนี้ อย่างไรก็ตามในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ก็ยังมีฝนตกชุกอยู่หลังจากนี้ไปฝนจะเริ่มน้อยลงตามลำดับ ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมเป็นช่วงที่มีอากาศแห้งแล้ง เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาแทนที่ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นในระยะนี้ โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 2,281 มิลลิเมตร ฝนจะตกมากที่สุดในเดือนกันยายน 378 มิลลิเมตร และตกน้อยที่สุดในเดือนมกราคม 7 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 28oC โดยอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน 39oC และต่ำสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 17oC ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 79 % ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ยจะเกิดในเดือนกันยายนและตุลาคมซึ่งสูงถึง 95% ส่วนความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุดเฉลี่ยจะเกิดขึ้นจะเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมีเพียง 48%

พืชพรรณและสัตว์ป่า
พืชพรรณของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน สามารถจำแนกออกได้เป็น
ป่าดงดิบ เป็นป่าผืนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติทะเลบันประกอบด้วยป่าดิบชื้นในพื้นที่ต่ำและป่าดิบชื้นเชิงเขา มีพืชพันธุ์ไม้หลายชนิดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น เช่น ยางปาย ยางแดง ตะเคียนทอง พะยอม ไข่เขียว กระบาก สยา มะคะ มะหาดรุม ทุ้งฟ้า มะม่วงป่า จวง แซะ เต่าร้าง หมากพน ไม้เถาและพืชชั้นล่างประกอบด้วย หวายเล็ก หวายกำพวน และเฟินแผง เป็นต้น

พื้นป่าดงดิบของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน เป็นที่อยู่ของซาไกหรือเงาะป่า เจ้าของสมญา “ราชันย์แห่งพงไพร”เผ่าพันธุ์มนุษย์ซึ่งสัมผัสและรู้จักผืนป่าทุกตารางนิ้ว ชำนาญการใช้พื้นป่าในการดำรงชีวิตและรู้จักใช้ประโยชน์จากพืชในลักษณะของยารักษาโรค และอาหารเหนือเผ่าพันธุ์มนุษย์เผ่าใด ๆ การดำรงชีพจะอาศัยผลไม้พืชผักที่มีอยู่ในป่าเป็นอาหารไม่รู้จักการเพาะปลูก นิยมการล่าสัตว์โดยการใช้กระบอกตุดหรือบอเลาคู่กับลูกดอกอาบยางน่องหรือบิลา ชอบอาศัยอยู่ในป่าลึกมีอุปนิสัยชอบเร่ร่อนและรักสงบทำที่พักจากใบไม้ในป่าที่พักเรียกว่าทับ เมื่อใบไม้ที่มาทำทับเหี่ยวก็จะเร่ร่อนหาแหล่งที่อยู่ใหม่ต่อไป

ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน มีซาไกอยู่กลุ่มเดียวมีสมาชิกจำนวน 9 คน ปัจจุบันวิธีชีวิตของซาไกได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเนื่องจากการได้สัมผัสกับสังคมของคนเมืองมากขึ้นและส่วนหนึ่งจากการดำรงชีวิตในป่าเริ่มฝืดเคืองขึ้น เนื่องจากป่าถูกบุกรุกและถูกทำลาย แต่อย่างไรก็ตามซาไกก็ยังเป็นชนเผ่าดั้งเดิมเผ่าสุดท้ายที่มีอยู่ในป่าทะเลบัน

ป่ารุ่นหรือป่าเหล่า อยู่บริเวณตอนกลางเขตอุทยานแห่งชาติทะเลบันแถบทุ่งหญ้าวังประ มีสภาพเป็นป่าโปร่งและมีหญ้าคาขึ้นอยู่หนาแน่น มีไม้เบิกนำขึ้นผสมกับพันธุ์ไม้ป่าดงดิบ พันธุ์พืชที่สำคัญได้แก่ กระโดน ตะแบก เปล้า ส้าน ปออีเก้ง โมกมัน มังตาน ผ่าเสี้ยน ยางมันหมู เสม็ดชุน กล้วยไม้ป่าชนิดต่างๆ และพืชชั้นล่าง เช่นไผ่ไร่ ไผ่หลอด และหญ้าชนิดต่างๆ เป็นต้น
ป่าชายเลน พบบริเวณชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน พันธุ์พืชที่พบได้แก่ โกงกาง ประสัก แสม โปรงขาว ตาตุ่มทะเล ถั่วขาว ตีนเป็ดทะเล เป้งทะเล ปรงทะเล และเหงือกปลาหมอ เป็นต้น ในบึงน้ำจืดทะเลบันพรรณไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกได้แก่ เทียนนา บอน บากง ผักบุ้ง ขี้เหล็กย่าน บัวสาย กกกอ หญ้าคมบาง กูดขม แขม และสาคู เป็นต้น

จากการสำรวจชนิดสัตว์ในเขตอุทยานแห่งชาติทะเลบัน รวมทั้งสิ้น 406 ชนิด จำแนกเป็น
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 64 ชนิด ได้แก่ แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เลียงผา เก้ง กระจงควาย หมูป่า เสือโคร่ง แมวดาว ค่างแว่นถิ่นใต้ ลิงกัง ชะนีมือขาว หมีคน กระรอกข้างลายท้องแดง ค้างคาวมงกุฎ ฯลฯ
นก 282 ชนิด เช่น นกหว้า ไก่จุก นกยางกรอกพันธุ์จีน นกกระปูดเล็ก นกบั้งรอกเล็กท้องแดง นกขุนแผนอกสีส้ม นกเงือก (มีถึง 8 ชนิดใน 12 ชนิดของประเทศไทย) นกแซงแซวหางปลา นกขุนทอง นกหัวขวานใหญ่สีดำ ฯลฯ
สัตว์เลื้อยคลาน 40 ชนิด เช่น เต่าจักร เต่าหกดำ ตะพาบน้ำ ตุ๊กแกป่าใต้ กิ้งก่าบินหัวสีฟ้า เห่าช้าง งูเหลือม งูจงอาง ฯลฯ
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 20 ชนิด เช่น อึ่งกรายหัวแหลม จงโคร่ง เขียดว้าก กบทูด ปาดบ้าน และคางคกแคระ ฯลฯ
ปลา ในบึงทะเลบันมีปลาน้ำจืดมากมายหลากชนิด เช่น ปลายี่สก ปลานิล ปลาช่อน ปลาดุก ปลาเลียหินหรือปลาติดดิน ปลาไส้ขม ปลาเนื้ออ่อน และปลาในสกุลปลาตะเพียน
หมาน้ำ หรือ เขียดว้าก

หมาน้ำหรือเขียดว้าก (Rana glandulosa) เป็นสัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์และเสน่ห์แห่งหนองน้ำทะเลบัน ควบคู่กับต้นบากง เขียดว้ากชอบอาศัยอยู่ตามป่าบากง รอบๆ หนองน้ำทะเลบัน ลำตัวสีเทาเข้ม มีแต้มจุดสีเทาเข้มถึงดำ หัวค่อนข้างแบนเรียบ ตัวผู้มีถุงขยายเสียงมองเห็นได้จากภายนอก 1 คู่ จะส่งเสียงร้องคล้ายเสียงลูกสุนัขในยามค่ำคืนที่สงบ นี่เองคือที่มาคำว่า “หมาน้ำ” และในฤดูผสมพันธุ์จะร้อง “ว้ากๆๆ”

แหล่งท่องเที่ยว
พื้นที่ป่าทางด้านทิศใต้ของจังหวัดสตูลบริเวณชายแดนของประเทศกับรัฐเปอร์ลิสประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย เป็นพื้นที่ป่าที่มีความสวยงามและอุดมสมบูรณ์ตลอดแนวชายแดนประกอบด้วยความแตกต่างของสภาพโครงสร้างทางภูมิศาสตร์ ชนิดของป่าและสัตว์ป่านานาชนิด มีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เล่าขานกันมาว่า พื้นที่ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งเพาะปลูกและที่อยู่อาศัยของชาวบ้านวังประจัน บริเวณรอยต่อระหว่างเขามดแดงซึ่งมีสภาพเป็นภูเขาหินปูนกับเขาจีนซึ่งเป็นภูเขาหินแกรนิตได้เกิดยุบตัวลงเกิดเป็นหนองน้ำจืดขนาดใหญ่ เรียกภาษาท้องถิ่นว่า “เลอ โอ๊ด กะบัน” หมายถึง แผ่นดินยุบ และได้เพี้ยนเป็น “ทะเลบัน” ในเวลาต่อมา อุทยานแห่งชาติทะเลบันมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่

ถ้ำโตนดิน
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 1.5 กิโลเมตร ความลึกของถ้ำประมาณ 700 เมตร ภายในพบหินงอกหินย้อย มีลำธารไหลผ่าน ปลาน้ำจืดชนิดต่างๆ และยังมีเครื่องมือขุดแร่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลงเหลืออยู่

ถ้ำลอดปูยู
เป็นถ้ำลอดคล้ายถ้ำลอดของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติบริเวณเขากายัง ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย สองฝั่งลำคลองเป็นป่าโกงกาง การเดินทางไปถ้ำลอดปูยูต้องลงเรือที่ท่าเรือตำมะลัง ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดสตูล ประมาณ 9 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 58 กิโลเมตร

ทุ่งหญ้าวังประ
เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ระหว่างภูเขาทางทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น สมเสร็จ เม่น กระจง ไก่ป่า ฯลฯ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือ ประมาณ 8 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร

น้ำตกยาโรย
ต้นน้ำเกิดจากป่าหัวกะหมิง เทือกเขาจีน มีน้ำตก 9 ชั้น อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 6.7 กิโลเมตร แยกเข้าไปอีก 700 เมตร ชั้นที่ 4 เป็นชั้นสูงสุด สายน้ำไหลเป็นทางยาว 20 เมตร ลงสู่แอ่งน้ำ ส่วนชั้นบนสุดเป็นชั้นที่งดงามที่สุด สายน้ำพุ่งเป็นสองสายตกลงมาจากผาหิน สูง 10 เมตร

บึงทะเลบัน
เป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากการยุบตัวของแผ่นดินตั้งอยู่กลางหุบเขาขนาบด้วยเทือกเขาจีนและเขาวังประ เนื้อที่ประมาณ 125 ไร่ มีปลาน้ำจืดและหอยชุกชุม รอบบึงมีต้นบากงขึ้นอยู่หนาแน่นและเป็นที่อยู่ของเขียดว๊าก บางครั้งจะเห็นสมเสร็จลงมากินน้ำในบึง

ทางเดินเพื่อศึกษาธรรมชาติ
จำนวน 2 เส้น อยู่บริเวณอุทยานแห่งชาติทะเลบัน ระยะทาง 1.3 กิโลเมตร และ 600 เมตร ทางเดินป่า จำนวน 1 เส้น ได้แก่ เส้นทางที่ทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบัน ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ทบ.2 (น้ำตกยาโรย) ระยะทาง 14 กิโลเมตร

น้ำตกโตนปลิว
ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาจีน เป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติ มีน้ำไหลตลอดปี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือ 10 กิโลเมตร แยกเข้าไปตามถนน ลูกรังอีกประมาณ 3 กิโลเมตร

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
หมู่ 4 ถนนสมันกรัฐบุรินทร์ ต.วังประจัน อ. ควนโดน จ. สตูล 91160
โทรศัพท์ 0 7472 2736-7 โทรสาร 0 7472 2730

รถยนต์
โดยใช้เส้นทางหลวงสายเพชรเกษมจนถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (สายเอเชีย) ถึง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา แยกขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 406 เข้าสู่ อ.ควนโดน ถึงทางแยกเข้า ต.วังประจัน ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4184 (ถนนสายชายแดนไทย-มาเลเซีย)

สำหรับการเดินทางไปถ้ำลอดปูยู ต้องเดินทางจากจังหวัดสตูลไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4183 (สตูล-ตำมะลัง) ไปประมาณ 9 กิโลเมตร ถึงท่าเรือตำมะลัง แล้วนั่งเรือรับจ้างไปถ้ำลอดปูยู ใช้เวลา 45 นาที

เครื่องบิน
จากท่าอากาศยานดอนเมือง-หาดใหญ่ จากนั้นต่อรถมายัง จ.สตูล ด้วย รถตู้หาดใหญ่-สตูล มาลงสามแยกควนสตอ รถออกทุกๆ 1 ชั่วโมง เที่ยวแรก จากหาดใหญ่ เวลา 06.00 น. เที่ยวสุดท้าย 19.00 น. ราคา 60 บาท/คน และรถประจำทาง หาดใหญ่-สตูล มาลงสามแยก ควนสตอ รถออกทุกๆ 15 นาที จากหาดใหญ่ เที่ยวแรก 06.00 น. เที่ยวสุดท้าย 18.30 น. ราคารถเมล์ ปรับอากาศ 38 บาท/คน ธรรมดา 35 บาท/คน

รถไฟ
จากสถานีรถไฟกรุงเทพมาลงที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ จากนั้นต่อรถมายัง จ.สตูล ด้วย รถตู้หาดใหญ่-สตูล มาลงสามแยกควนสตอ รถออกทุกๆ 1 ชั่วโมง เที่ยวแรก จากหาดใหญ่ เวลา 06.00 น. เที่ยวสุดท้าย 19.00 น. ราคา 60 บาท/คน และรถประจำทาง หาดใหญ่-สตูล มาลงสามแยก ควนสตอ รถออกทุกๆ 15 นาที จากหาดใหญ่ เที่ยวแรก 06.00 น. เที่ยวสุดท้าย 18.30 น. ราคารถเมล์ ปรับอากาศ 38 บาท/คน ธรรมดา 35 บาท/คน

รถโดยสารประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายใต้ มีรถประจำทางปรับอากาศเดินทางไปจังหวัดสตูลทุกวัน ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 11 ชั่วโมง ระยะทาง 973 กิโลเมตร อัตราค่าบริการ 556 บาท

ที่มา ; http://www.moohin.com/070/070h006.shtml


อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา



อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา
เป็นอุทยานฯ ทางบกแห่งเดียวของจังหวัดกระบี่ มีเนื้อที่ 31,325 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภออ่าวลึก และอำเภอเขาพนม มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนในแนวเหนือจรดใต้ มียอดเขาพนมเบญจาซึ่งสูง 1,397 เมตร จากระดับน้ำทะเลสูงที่สุดในกระบี่ มีทิวทัศน์ธรรมชาติสวยงามทั้งลำธาร น้ำตก ถ้ำ และมีสัตว์ป่านานาชนิด เช่น สมเสร็จ เลียงผา หมีควาย เสือปลา มีนกที่สามารถพบเห็นกว่า 218 ชนิด เช่น นกอินทรี นกเงือก นกหัวขวาน เป็นต้นสถานที่ท่องเที่ยวภายในอุทยาน ฯ ได้แก่
น้ำตกห้วยโต้ ต้นกำเนิดจากเขาพนมเบญจา มี 5 ชั้น คือ วังสามหาบ วังจงลอย วังดอยปรง วังเทวดา และวังโตนพริ้ว สายน้ำของน้ำตกห้วยโต้ไหลมารวมกันที่คลองกระบี่ใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
น้ำตกห้วยสะเด อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 300 เมตร เป็นน้ำตกจากหน้าผาสูง มี 3 ชั้น มีแอ่งน้ำใสสะอาด น้ำตกสายนี้ไหลมารวมกันที่คลองโตนและไหลลงสู่คลองกระบี่ใหญ่
การเดินขึ้นยอดเขาพนมเบญจา เป็นอีกกิจกรรมของอุทยานฯ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถจะเดินขึ้นได้ 2 เส้นทาง คือ
เส้นทางแรก ใช้เวลาในการเดินทาง 4 วัน 3 คืน โดยการเริ่มต้นจากน้ำตกห้วยโต้ ซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 300 เมตร นักท่องเที่ยวจะต้องปีนข้ามน้ำตกทั้ง 5 ชั้น ขึ้นไปชั้นบนสุดแล้วเดินต่อไปยังลำธาร เลี้ยวซ้ายทางต้นยางใหญ่พักค้างคืนที่เขาลูกช้าง 1 คืน รุ่งขึ้นจึงเดินต่อไปค้างคืนที่ควนน้ำค้างอีก 1 คืน จากนั้นเดินต่อไปจนถึงเชิงเขาพนม รุ่งเช้าอีกวันหนึ่งจึงเริ่มขึ้นยอดเขา พักค้างบนยอดเขาอีก 1 คืน
เส้นทางที่สอง เดินทางโดยรถยนต์ไปที่ฐานปฏิบัติการบางสร้าน ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร เส้นทางนี้ใช้เวลาในการพักค้าง และเดินทาง 3 วัน 2 คืน โดยเดินจากฐานปฎิบัติการบางสร้านไปสู่ยอดเขาพนมเบญจา เป็นเวลา 1 วัน และพักค้างบนยอดเขาพนมเบญจา 1 คืน จากนั้นเดินลงจากยอดเขามาพักค้างคืนที่ควนน้ำค้างอีก 1 คืน และในวันรุ่งขึ้นเดินจากควนน้ำค้างลงมาที่ทำการอุทยานฯ
ทั้งสองเส้นทางนักท่องเที่ยวจะได้พบกับธรรมชาติที่สวยงามของพันธุ์ไม้ สัตว์ป่า ถ้ำ เพิงผา น้ำตก ธารน้ำ ทะเลหมอก จุดชมวิวที่สามารถมองเห็นตัวเมืองกระบี่ และอากาศที่เย็นสบายตลอดปี นักท่องเที่ยวที่สนใจควรสอบถามข้อมูลก่อนการเดินทาง
อุทยานฯ มีเต็นท์ให้บริการ สำหรับ 2-3 คน ราคาหลังละ 50 บาท/คืน/หลัง หรือจะนำเต็นท์มา เอง เสียค่าธรรมเนียม 30 บาท/คืน/หลัง รายละเอียดติดต่ออุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา ตู้ ป.ณ.26 อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000 โทร. 0 7662 9013 หรือ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 0 2579 7223, 0 2579 5734
การเดินทาง จากอำเภอเมืองกระบี่ ไปยังสามแยกบ้านตลาดเก่าตามถนนเพชรเกษม 1 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตามเส้นทางตลาดเก่า-บ้านห้วยโต้ ระยะทาง 20 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ
ที่มา ; http://www.moohin.com/068/068m006.shtml

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร



ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติทับลาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปักธงชัย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์และมีป่าลาน ซึ่งหาดูได้ยากที่มีเฉพาะบางท้องที่เท่านั้น มีต้นลานขึ้นตามธรรมชาติ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำ ลำธารต่างๆ และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น หุบผา หน้าผา น้ำตก เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ คือ มีเนื้อที่ประมาณ 1,397,375ไร่ หรือ 2,235.80 ตารางกิโลเมตร

ในอดีตป่าลานที่อุดมสมบูรณ์มีขึ้นอยู่กระจายทั่วๆ ไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมามีการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้ป่าลานได้ถูกบุกรุกทำลายลงไปมาก จนปัจจุบันคงเหลือป่าลานแห่งสุดท้าย คือ บริเวณบ้านทับลาน บ้านขุนศรี บ้านบุพราหมณ์ และบ้านวังมืด จังหวัดปราจีนบุรี ในการไปตรวจสอบสภาพป่าลานเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2517 นายประดิษฐ์ วนาพิทักษ์ อธิบดีกรมป่าไม้ พบว่า ป่าลานในบริเวณดังกล่าวเป็นป่าลานแห่งสุดท้ายของประเทศเพื่ออนุรักษ์ป่าลานไว้ จึงมีดำริให้จัดตั้งป่าลานนี้เนื้อที่ประมาณ 36,250 ไร่ หรือ 58 ตารางกิโลเมตร เป็นวนอุทยาน และในการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 1/2518 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2518 ได้มีมติให้ดำเนินการวางแผนปฏิบัติการที่ป่าลานกบินทร์บุรี ซึ่งสำนักงานป่าไม้เขตปราจีนบุรี ได้มีคำสั่งที่ 169/2518 ลงวันที่ 11 เมษายน 2518 และคำสั่งที่ 194/2518 ลงวันที่ 15 เมษายน 2518 ให้ นายสุชล ผาติเสนะ นักวิชาการป่าไม้ตรี และ นายยัณห์ ทักสูงเนิน พนักงานประจำเขต โดยอยู่ในความควบคุมการดำเนินงานของนายไพโรจน์ เชี่ยวเอี่ยมวัฒนา นักวิชาการป่าไม้โท ไปดำเนินการรังวัดหมายแนวเขต และจัดพื้นที่ปรับปรุงให้เป็นวนอุทยานป่าลาน ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแก่งดินสอ-แก่งใหญ่-เขาสะโตน จังหวัดปราจีนบุรี

ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 2383/2520 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2520 ให้นายเชาวลิต เลิศชยันตรี นักวิชาการป่าไม้ 5 ทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานทับลาน และในปี พ.ศ. 2523 กองอุทยานแห่งชาติ ได้ให้วนอุทยานทับลานสำรวจพื้นที่โดยรอบ เพื่อผนวกพื้นที่บริเวณใกล้เคียงแนวเขตติดต่อวนอุทยาน ยกฐานะวนอุทยานทับลานเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจปรากฏว่า บริเวณป่าดังกล่าวโดยรอบมีสภาพป่าสมบูรณ์ มีทิวทัศน์สวยงาม สัตว์ป่าชุกชุมเป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำมูล ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กส 0708(ทล.)/16 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2523 ทั้งเพื่อเป็นการสนองมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ

กรมป่าไม้จึงเสนอให้คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าวังน้ำเขียวและป่าครบุรี ในท้องที่ตำบลสะแกราช ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอปักธงชัย ตำบลครบุรี ตำบลจระเข้หิน ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี และตำบลสระตะเคียน ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน ในท้องที่ตำบลบุพราหมณ์ ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 98 ตอนที่ 210 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 39 ของประเทศ

ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2531 อนุญาตให้กรมชลประทานใช้พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานบริเวณป่าวังน้ำเขียว ป่าครบุรี ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน บางส่วนในท้องที่ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำมูลบน เพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีเนื้อที่ 2,625 ไร่ หรือ 4.20 ตารางกิโลเมตร โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่ส่วนนี้ออก และในปี 2532 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าวังน้ำเขียว ป่าครบุรี ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน บางส่วนในท้องที่ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ออกจากการเป็นอุทยานแห่งชาติตามที่กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกาเดิมปี พ.ศ. 2524 ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 106 ตอนที่ 107 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2532

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตเทือกเขาพนมดงรัก สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปประกอบด้วยภูเขาใหญ่น้อยสลับซับซ้อนต่อเนื่องกันเป็นบริเวณกว้างขวาง โดยมีเขาที่สำคัญหลายลูก เช่น เขาละมั่ง เขาภูสามง่าม เขาภูสูง เขาใหญ่ เขาวง เขาสลัดได เขาทิดสี เขาไม้ปล้อง เขาทับเจ็ก และเขาด่านงิ้ว ซึ่งยอดเขาละมั่งเป็นยอดเขาที่สูงสุด มีระดับความสูงประมาณ 992 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นเทือกเขายาวต่อเนื่องกันทำให้มีหุบเขาตามธรรมชาติ เหว และน้ำตก เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำหลายสาย เช่น ห้วยขมิ้น ห้วยปลาก้าง ห้วยคำแช ห้วยคำขี้แรด ห้วยมูลสามง่าม ห้วยภูหอม ห้วยกระทิง ห้วยลำเลย ห้วยกุดตาสี ห้วยลำดวน เป็นต้น ลำห้วยแต่ละสายไหลรวมกันเป็นแม่น้ำมูล ส่วนลำห้วยสวนน้ำหอม ห้วยหินยาว ห้วยชมพู ห้วยสาลิกา ห้วยวังมืด ห้วยลำไยใหญ่ ฯลฯ ลำห้วยเหล่านี้จะไหลรวมกันเป็นแม่น้ำบางปะกง

ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติทับลาน ในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ความชุ่มชื้นจะถูกพัดมาจากทะเลอันดามันและอ่าวไทย จนทำให้พื้นที่บริเวณนี้ได้รับปริมาณน้ำฝนมาก เฉลี่ยตลอดปี 1,070 มิลลิเมตร ฝนจะตกชุกที่สุดในเดือนกันยายน ซึ่งเทือกเขาพนมดงรักจะปะทะลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และทำให้ฝนตกในบริเวณด้านรับลมมากกว่าด้านไม่รับลม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมากราคม อากาศจะหนาวเย็นมากในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นเดือนที่มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิต่ำสุด 22.8 องศาเซลเซียส ฟดูร้อนเริ่มตั้งแต่กุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม อากาศจะร้อนอบอ้าวมากในเดือนเมษายนซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 29.3 องศาเซลเซียส สำหรับอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26.7 องศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติทับลาน มีสังคมพืชที่จัดเป็นป่าลุ่มต่ำที่มีความสมบูรณ์มากสามารถจำแนกได้ 4 ประเภท คือ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง จัดเป็นสังคมพืชที่มีการซ้อนทับกันของลักษระทางนิเวศของป่าภาคกลางและป่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าชุกชุม

ป่าเต็งรัง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานมีสภาพเป็นป่าโปร่ง ขาดแคลนแหล่งน้ำ มีต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจายทั่วพื้นที่และมักจะมีลำต้นเล็กและเตี้ย พืชพื้นล่างเป็นพวกหญ้าเพ็ก หญ้าคา และสาบเสือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ

ป่าเบญจพรรณ จะมีไม้ต่างชนิดขึ้นปะปน และจะพบไผ่ขึ้นปนมากมาย มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น แดง ตะแบกใหญ่ ประดู่ มะกอก ชิงชัน ฯลฯ พืชพื้นล่างที่สำคัญ เช่น ไผ่กาย โด่ไม่รู้ล่ม เป็นต้น ป่าผลัดใบเหล่านี้ในช่วงฤดูฝนไม้พื้นล่างจะผลิใบอ่อนเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์กินพืช ได้แก่ ช้างป่า กระทิง วัวแดง กวางป่า และนกที่อาศัยพื้นที่นี้ได้แก่ ไก่ป่า เหยี่ยวชิครา นกแขกเต้า นกหัวขวาน สัตว์เลื้อยคลานที่พบได้แก่ ตะกวด และแย้ เป็นต้น

ป่าดงดิบชื้น พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 400-1,000 เมตร

ป่าดงดิบแล้ง จะพบขึ้นอยู่บนพื้นที่ค่อนข้างราบ ไม้ที่พบโดยทั่วไปได้แก่ ยางนา ยางแดง เป็นต้น จากลักษณะเรือนยอดที่ต่อเนื่องกันนั้นจึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชะนีมือขาว ชะนีมงกุฎ ค่างหงอก ลิงกัง พญากระรอกบินหูแดง และจากสภาพป่าที่มีความรกทึบเป็นที่หลบพักและซ่อนตัวของสัตว์ใหญ่ เช่น ช้างป่า กระทิง นกป่าที่หากินและดำเนินกิจกรรมอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาว นกมูม นกลุมพู นกเค้าเหยี่ยว นกเงือกกรามช้าง นกแก๊ก นกกก นกพญาปากกว้างสีดำ นกพญาปากกว้างหางยาว นกขุนแผนหัวแดง และนกขุนทอง สัตว์เลื้อยคลานที่พบได้แก่ ตะกวด เต่าใบไม้ เต่าเหลือง และตะกอง เป็นต้น

นอกจากนี้ อุทยานแห่งชาติทับลานยังมีป่าอีกชนิดหนึ่งซึ่งถือเป็นประเภทป่าผลัดใบ ป่าชนิดนี้ถูกเรียกว่า “ป่าลาน” สภาพจะเป็นป่าโปร่ง มีลานขึ้นอย่างหนาแน่นทั่วพื้นที่ ป่าลานนี้มีเนื้อที่ 200 ไร่ บริเวณที่ราบบนเขาละมั่ง ด้านตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ไม้ลานเป็นพืชในตระกูลปาล์ม (Palmae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Corypha lecomtei Becc. บริเวณป่าลานและป่ารุ่นเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่สามารถปรับตัวอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ กระรอก หนู กระต่ายป่า พังพอน เก้ง กวางป่า เหยี่ยวขาว นกคุ่มอกลาย กิ้งก่าหัวแดง ตุ๊กแกบ้าน กิ้งก่าหางยาว อึ่งอ่างบ้าน และคางคก เป็นต้น

บริเวณเขาหินปูน ถ้ำ หน้าผา ซึ่งได้แก่บริเวณเขาละมั่ง เขาวง และภูสามง่าม เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และที่กำบังภัยของสัตว์ป่าบางชนิด เช่น เลียงผา เม่นหางพวง และค้างคาว เป็นต้น บริเวณแหล่งน้ำ ห้วย ลำธาร เป็นย่านที่อาศัยของสัตว์ป่าบางชนิดได้แก่ งูปลิง กบหงอน เขียดอ่องเล็ก นกยางไฟธรรมดา นกยางเขียว นกกระเต็นธรรมดา นกกระเต็นใหญ่ธรรมดากำกวม และนกกระเต็นลาย ปลาน้ำจืดที่พบ เช่น ปลาชะโอน ปลาดุกเนื้อเลน ปลากระสง ปลาดัก และปลากระทิงดำ เป็น

ที่มา ; http://www.moohin.com/050/050m004.shtml


อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล



อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอห้างฉัตร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สภาพพื้นทีเป็นป่า อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธ์ไม้นานาชนิด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ซึ่งเป็นบรรยากาศ ที่เงียบสงบ และอุโมงค์ขุนตาลซึ่งเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสร้าง โดยชาวเยอรมัน อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล มีเนื้อที่ประมาณ 255.29 ตารางกิโลเมตร หรือ 159,556.25 ไร่
ประวัติความเป็นมา

ป่า ดอยขุนตาล แห่งนี้เป็นป่า 1 ใน 14 แห่งที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติใน การประชุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งกรมป่าไม้ได้ ประกาศให้ป่า ดอยขุนตาล ในท้องที่บางส่วนของตำบลปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัด ลำพูน เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่า ดอยขุนตาล ตามกฏกระทรวงฉบับที่ 116 (พ.ศ. 2506) และในท้องที่บางส่วนของตำบลบางตาล ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร และตำบลบ้าน เอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่า ดอยขุนตาล ตามกฏกระทรวง ฉบับที่ 359 (พ.ศ. 2511) เดิมกองบำรุง กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 40/2508 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2508 ให้นายวรเทพ เกษมสุวรรณ ไปทำการสำรวจจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ิต่อไป ต่อมากรมป่าไม้ได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 5/2517 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2517 ให้กำหนดป่า ดอยขุนตาล เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งที่1160/2517 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2517 ให้นายนฤทธิ์ ตันสุวรรณ ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลโดยยึดถือตามแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ผลการสำรวจ ตามบันทึกลงวันที่ 1 ธันวาคม 2517 และวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2518 ปรากฏว่าป่า ดอยขุนตาล มีทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าหลายชนิด เช่น พันธุ์ไม้ที่มีค่า ทางเศรษฐกิจ กล้วยไม้ สมุนไพร สัตว์ป่านานาชนิด บรรยากาศที่ร่มรื่นที่เงียบสงบ และมีอุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้ ดำเนินการเพิกถอนป่าดอยขุนตาลจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติจัดตั้งป่าดอยขุนตาล เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่า ดอยขุนตาล ในท้องที่ตำบลท่าปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง ตำบลเวียงตาล ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2518 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 54 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2518 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 9 ของประเทศไทย

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ทำพิธีเปิด อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2519 โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร. เฉลิง ธำรงนาวา-สวัสดิ์) เป็นประธานในพิธีเปิด
จุดเด่นที่น่าสนใจ

อุโมงค์ขุนตาล เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศ ไทยคือ ยาว 1,352 ฟุต มีสวนไม้ดอกตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ศาลเจ้าพ่อขุนตาล และอนุสาวรีย์ ซึ่งสร้างเป็นอนุสรณ์แก่ชาวเยอรมันผู้ดำเนินการควบคุมการสร้าง

ตามยอดเขาสูง เป็นจุดเด่นที่เหมาะสำหรับการพักค้างแรมเป็นอย่างยิ่ง เช่น จากที่ทำ-การอุทยานฯ ด้วยทางเท้า ระยะทางประมาณ 1,500 เมตร จะถึง ย. 1 เป็นที่ตั้งบ้านพักรับรองของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งมีเรือนพักรับรองไว้สำ หรับบริการนักท่องเที่ยว ย . 2 มีสนเขาขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้บริเวณนั้นมี ความร่มเย็นสวยงามตามธรรมชาติ บริเวณที่ใกล้ๆ ยอดเขามีบ้านพักรับรอง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช มีรั้วรอบภายในบริเวณบ้านปลูกพันธุ์ไม้เมืองหนาว และจัดตกแต่ง สถานที่สวยงาม มีสวนลิ้นจี่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จ ไปพักผ่อนอิริยบทที่เรือนรับรองนี้ 2 ครั้ง ส่วน ย. 3 ห่างจาก ย. 2 ประมาณ 3,500 เมตร เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของเทือกเขาขุนตาล (ม่อนส่งกล่อง) สามารถมองเห็น ทัศนียภาพตัวเมืองลำปางได้อย่างชัดเจน ก่อนถึงยอดเขานี้จะผ่านป่าธรรมชาติที่ร่ม รื่นและเย็นสบายตลอดทาง และจะผ่านบ้านพักของมิชชันนารี จำนวน 7 หลังซึ่ง สามารถขอเช่าได้ที่ ่ มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่

น้ำตกแม่ลอง น้ำตกนี้อยู่ทางทิศใต้ของสถานีขุนตาล ห่างไปประมาณ 10 กิโลเมตร โดยลงรถไฟที่สถานีแม่ตาลน้อย แล้วเดินเท้าไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร จะมีน้ำตกอยู่ตลอดปีสภาพป่าร่มเย็นตลอดทั้งปี

น้ำตกตาดเหมย น้ำตกนี้อยู่แยกจากเส้นทางด้านซ้ายมือ ระหว่างทางจาก ย. ที่ 2 ไป ย. ที่ 3 โดยต้องเดินทางลงไปในหุบเขาแม่ยอนหวาย ประมาณ 300 เมตร
นอกจากนี้ยังมีน้ำตกอีกหลายแห่ง คือ น้ำตกผาตูม น้ำตกห้วยแม่ไพร
การเดินทาง

ตามเส้นทางรถไฟสายเหนือ โดยลงที่สถานีขุนตาลแล้วเดินประ มาณ 1.3 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการ อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล
บริการที่พัก

อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยวจำนวน 6 หลัง คือ
1. บ้านขุนตาล 7 (ชมดารา) มี 2 ห้อง พักได้ 6 คน ราคาห้องละ 600 บาท
2. บ้านขุนตาล 8 (ชมอัสดง) มี 2 ห้อง พักได้ 6 คน ราคาห้องละ 600 บาท
3. บ้านขุนตาล 9 (ชมดอย) มี 3 ห้อง พักได้ 9 คน ราคาห้องละ 900 บาท
4. บ้านขุนตาล 10 (ชมดง) มี 3 ห้อง พักได้ 9 คน ราคาห้องละ 900 บาท
5. บ้านขุนตาล 11 (ชมไพร) มี 3 ห้อง พักได้ 9 คน ราคาห้องละ 1,200 บาท
6. บ้านขุนตาล 12 (ชมอาทิตย์) มี 2 ห้อง พักได้ 9 คน ราคาห้องละ 1,200 บาท
สอบถามรายละเอียดโดยตรงได้ที่งานบริการบ้านพัก ฝ่านันทนาการ และสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ โทร. 5797223, 5795734 หรือ โทร. 5614292 - 4 ต่อ 724,725 หรือติดต่อที่อุทยานแห่ง ชาติโดยตรง

ที่มา ; http://www.trekkingthai.com/Parks/khuntan/khuntan.htm

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี



อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ได้รับประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติตามกฎหมาย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 20 ก ลงวันที่ 25 มีนาคม 2542 มีพื้นที่อยู่ในทั้งสิ้น 969 ตารางกิโลเมตร หรือ 605,625 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ ดังนี้
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ จด แนวเขตปลอดภัยในราชการทหาร
ทิศใต้ จด ด่านสิงขร อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ทิศตะวันออก จด กิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ทิศตะวันตก จด แนวเขตพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า

พื้นที่ทั่วไปมีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณ ประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด ป่าดิบแล้ง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด ป่าดิบชื้น ร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีทรัพยากรธรรมชาติมากมายและได้สำรวจแล้ว สามารถพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและศึกษาเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ สัตว์ป่า และยังมีน้ำตก ที่เกิดจากต้นน้ำกุยบุรี คือ น้ำตกห้วยดงมะไฟ น้ำตกผาหมาหอน น้ำตกผาไทร น้ำตกด่านมะค่า และ ยังมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่นาสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ "ช้างป่า"

จากกรุงเทพฯ ถึงท้องที่อำเภอกุยบุรี ระยะทางประมาณ 290 กิโลเมตร ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 295 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 3217 ก่อนถึงอำเภอกุยบุรี ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร แยกขวาเป็นทางลาดยางเข้าหมู่บ้านยางชุม ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร และแยกซ้ายตามถนนข้างอ่างเก็บน้ำยางชุม ถึงบ้านย่านซื่อ ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร และแยกซ้ายระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

ที่มา ; http://www.dnp.go.th/MFCD4/NationalPark2/Kuiburi/Kuiburi.htm

อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย



อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา พื้นที่ป่าอยู่ในส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก ประกอบด้วยภูเขาเล็กภูเขาน้อยมากมาย เช่น ภูจองนายอย ภูจองน้ำซับ ภูจอง ภูจันทร์แดง ภูพลานสูง ภูพลานยาว เป็นต้น มีสภาพป่าสมบูรณ์ สภาพธรรมชาติที่สวยงามและมีสัตว์ป่าชุกชุม มีเนื้อที่ประมาณ 686 ตร.กม. หรือ 428,750 ไร่

สืบเนื่องจาก ร.ต.ท.ณรงค์ เทวคุปต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามความต้องการของราษฎรอำเภอนาจะหลวย และอำเภอใกล้เคียงในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อป้องกันรักษาป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงาม ไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ทำการสำรวจ และเห็นชอบให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฏีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูจองนายอย ในท้องที่ตำบลข่า อำภอบุณฑริก ตำบลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย และตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2530 ประกาศไว้ในพระราชกิจจานุเบกษา เล่ม 104 ตอนที่ 103 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2530 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับ
ลักษณะภูมิประเทศ

ส่วนใหญ่บริเวณป่าภูจอง-นายอย จะเป็นเทือกเขาแหล่งต้นน้ำของลำน้ำลำห้วยที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญพรรณ ป่าเต็งรัง มีพันธ์ไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นและอุดมสมบูรณ์ ส่วนมากดินจะเป็นดินลูกรังปะปนหินปูน ตามบริเวณที่ราบบนเนินเขา และประกอบด้วยลานหินลักษณะต่างๆ ตลอดจนหน้าผา เช่น ผาผึ้ง

ลักษณะภูมิอากาศ

อากาศโดยทั่วไป ไม่ร้อนจัด เย็นสบายตลอดทั้งปี โดยในช่วง ฤดูหนาวมีอากาศที่เย็นมากอีกครั้งหนึ่ง

พรรณไม้และสัตว์ป่า

ประกอบด้วยพรรณไม้ชนิดป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งขึ้นอยู่เป็นส่วนๆ มีพรรณไม้ขึ้นหนาแน่นประมาณ 75% โดยเฉลี่ยประกอบด้วยไม้พื้นล่างขึ้นหนาแน่น ได้แก่ จำปาป่า และพรรณไม้ดอกต่างๆ แซมเป็นไม้พื้นล่างให้กับไม้ยืนต้นจำพวกตะเคียนทอง ประดู่ ยาง กระบาก ปู่จ้าว พยุง มะค่า แกแล เป็นต้น ขึ้นแยกอยู่ตามสภาพป่า

ที่มา ; http://www.guideubon.com/phujong_nayoi.php

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา



อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อ. ปัว จ. น่านมหัสจรรย์ชมพูภูคาและป่าปาล์มยักษ์
ดอยภูคาเป็นพื้นที่แห่งเดียวในประเทศไทยที่พบต้นชมพูภูคา (Bretschneidera sinensis Hemsl) ซึ่งเป็นพืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ ต้นไม้ชนิดนี้พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2532 และไม่พบในพื้นที่ใดอีกเลย จึงได้รับการตั้งชื่อต้นไม้ตามสีของดอกและถิ่นที่พบว่า ?ชมพูภูคา? อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จึงเป็นพื้นที่อนุรักษ์สำคัญของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง อำเภอแม่จริม อำเภอท่าวังผา อำเภอสันติสุข อำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ชั้น 1 A และมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกภูฟ้า น้ำตกแม่จริม น้ำตกผาฆ้อง ธารน้ำลอด พระลานหิน และป่าปาล์มดึกดำบรรพ์ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,065,000 ไร่ หรือ 1,704 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา: ด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน (นายสมชาย โลหะชาติ) ได้มีหนังสือ ที่ 13/2526 ลงวันที่ 24 กันยายน 2526 เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายณรงค์ วงศ์วรรณ) ว่าได้รับการร้องขอจากราษฎร ขอให้กำหนดป่าดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นอุทยานแห่งชาติ เนื่องจากยอดดอยภูคาเป็นยอดเขาสูงสุด ของจังหวัดน่านอันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด โดยมีความสูงถึง 1,980 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นป่าต้นน้ำลำธารที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่านมีทิวทัศน์ที่สวยงามเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีการเล่าขานกันมาแต่ครั้งโบราณและเชื่อมั่นว่าเมืองเก่าของบรรพบุรุษคนเมืองน่านอยู่ในเขตบนเทือกเขาดอยภูคา
ต่อมากองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ได้มีหนังสือ ที่ กห 0483 (สน)/95 ลงวันที่ 27 มกราคม 2527 แจ้งว่าได้พบสภาพพื้นที่ป่าบริเวณบ้านปู จังหวัดน่าน พิกัดเส้นตรง 18-35 และเส้นราบ 07-70 ตามแผนที่มาตราส่วน 150,000 มีความอุดมสมบูรณ์และธรรมชาติที่สวยงาม และพื้นที่บริเวณพิกัด คิว เอ 2686 มีน้ำตกที่มีความสวยงามขนาดใหญ่ สมควรที่จะได้มีการออกประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 1786/2526 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2526 ให้นายปัญญา ปรีดีสนิท นักวิชาการป่าไม้ 6 ไปสำรวจพื้นที่เบื้องต้นดังกล่าว ปรากฏว่าสภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่าชุกชุม เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ และมีทิวทัศน์ธรรมชาติสวยงามหลายแห่ง
กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่ง ที่ 1641/2528 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2528 ให้ นายวันชัย ปานเกษม เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 มาดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ภค)/28 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2530 ปรากฏว่าป่าพื้นที่ดอยภูคาและบริเวณใกล้เคียง มีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติได้นำเรื่องการจัดการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เสนอในการประชุมผู้อำนวยการกองในสังกัดกรมป่าไม้ ครั้งที่ 12/2531 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2531 ได้มีมติให้ดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติดอยภูคาต่อไป กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2531 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2531 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ป่าดอยภูคาเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าดอยภูคา ป่าผาแดง ป่าแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ ป่าน้ำว้า และป่าแม่จริม ในท้องที่ตำบลห้วยโก๋น ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตำบลปอน ตำบลงอบ ตำบลและ ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง ตำบลพญาแก้ว อำเภอเชียงกลาง ตำบลภูคา ตำบลศิลาเพชร ตำบลอวน อำเภอปัว ตำบลบ่อเกลือเหนือ ตำบลดงพญา ตำบลบ่อเกลือใต้ ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ ตำบลยม อำเภอท่าวังผา ตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข และตำบลแม่ จริม ตำบลหนองแดง ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 48ก ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2542 มีเนื้อที่ประมาณ 1,065,000 ไร่ หรือ 1,704 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน มียอดดอยภูคาเป็นสัญลักษณ์ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,980 เมตร อันเป็นสัญลักษณ์ภูเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดน่าน โดยทั่วไปเป็นภูเขาหินทราย เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น 1 อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน แม่น้ำว้า เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีสภาพภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ
ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม มีฝนตกชุก
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน- กุมภาพันธ์ ในเดือนธันวาคม - มกราคม จะมีอากาศหนาวจัด เฉลี่ยประมาณ 10 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียส กลางคืนโดยเฉลี่ย 25 องศาเชลเชียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และยังมีป่าสนเขากลุ่มเล็กๆ อยู่บริเวณทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ใกล้กับดอยภูหวด นอกจากนี้ยังมีทุ่งหญ้าปกคลุมบนภูเขาเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งเป็นผลจากการแผ้วถางป่าของชาวบ้านเมื่อก่อนที่จะมีการประกาศให้ดอยภูคาเป็นพื้นที่อนุรักษ์ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อ ยาง ตะเคียน จำปีป่า ประดู่ แดง สัก เต็ง รัง เหียง พลวง พะยอม รวมทั้งปาล์มขนาดใหญ่ หวาย ผักกูด ไผ่ และหญ้าเพ็ก เป็นต้น พันธุ์ไม้หายาก เช่น ชมพูภูคา ก่วมภูคา จำปีป่า ไข่นกคุ้ม ค้อเชียงดาว โลดทะนงเหลือง ขาวละมุน เทียนดอย เสี้ยวเครือ มะลิหลวง สาสี่หนุ่ม เหลืองละมุน ประทัดน้อยภูคา กระโถนพระฤาษี กุหลาบแดง กุหลาบขาวเชียงดาว พันธุ์ไม้เฉพาะถิ่น ได้แก่ เต่าร้างยักษ์ หมักอินทร์ คัดเค้าภูคา ประดับหินดาว หญ้าแพรกหิน นมตำเลีย และรางจืดต้นภูคา
สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่มีอย่างชุกชุม ได้แก่ ช้างป่า วัวแดง กระทิง กวางป่า เก้ง หมูป่า เลียงผา ลิง ชะนี ค่าง หมี อีเห็น กระจง นาก ไก่ป่า ไก่ฟ้า เหยี่ยวรุ้ง นกมูม นกพญาไฟใหญ่ ฯลฯ มีนกหายาก 2 ชนิด ซึ่งพบที่ดอยภูคา ได้แก่ นกมุ่นรกคอแดง (Rufous-throated Fulvetta) และนกพงใหญ่พันธุ์อินเดีย (Clamorous Reed-Warbler)

ที่มา ; http://www.ezytrip.com/travelsearch/district_attract2.php?chk=838


อุทยานแห่งชาติภูซาง



อุทยานแห่งชาติภูซาง อ. กิ่งอำเภอภูซาง จ. พะเยา
อุทยานแห่งชาติภูซาง มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ดินบริเวณป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ป่าน้ำเปี๋อยและป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว ในท้องที่อำเภอเชียงคำ กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขา มีความอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์นานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ป่า และภูเขาที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 178,049.62 ไร่ หรือ 284.88 ตารางกิโลเมตร
ความเป็นมา: เดิมจัดตั้งเป็นวนอุทยานแห่งชาติภูซาง อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว (กฎกระทรวงฉบับที่ 966 พ.ศ. 2541 ) ในท้องที่ตำบลภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งกรมป่าไม้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2533 เนื่องจากสำนักงานป่าไม้เขตเชียงราย สำรวจเสนอ และกองบัญชาการหน่วยรบเฉพาะกิจ กองพลที่ 4 สนับสนุนให้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน ตามหนังสือที่ กส 0809 (ชร) /1975 ลงวันที่ 5 เมษายน 2522 และ กห 0334 (ฉก.พล.) /1819 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2531 กองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 มีหนังสือที่ นร 5106/2616 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้กรมป่าไม้จัดตั้งพื้นที่วนอุทยานน้ำตกภูซาง มีเนื้อที่ประมาณ 73,000 ไร่
ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2534 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 ทำการสำรวจ และเตรียมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1316/2534 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2534 สั่งการให้ นายจุมพล วนธารกุล นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ผลการ สำรวจพบว่า พื้นที่ที่มีความเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว ท้องที่ตำบลภูซาง ตำบลทุ่งกล้วย ตำบลร่มเย็น ตำบลเวียง ตำบลแม่ลาว ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลตับเต่า ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ประมาณ 186,512 ไร่ ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง 440-1,548 เมตร ติดเขตแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขา มีสัตว์ป่าหลายชนิด
เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้แจ้งว่าตามมติที่ประชุมรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2536 ให้ ททท. ประสานงานกับกรมป่าไม้ เพื่อพิจารณาพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติใหม่ กรมป่าไม้จึงมีหนังสือ กษ 0721.03/7244 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2537 เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติภูซาง สำนักงานเลขาคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือที่ นร 0204/11694 ลงวันที่ 15 กันยายน 2543 แจ้งว่า คณะรัฐมนตรีได้มติเห็นชอบร่างดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2543 ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลตับเต่า ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำ หย่วนและป่าน้ำลาว ในท้องที่ตำบลภูซาง ตำบลทุ่งกล้วย กิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ และตำบลร่มเย็น ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 117 ตอนที่ 98 ก วันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 98 ของประเทศไทย
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเทือกเขาติดชายแดนกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวยาวประมาณ 30 กิโลเมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 440 - 1,548 เมตร โดยมียอดดอยผาหม่นเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำลาว น้ำหงาว น้ำเปื๋อย น้ำบง น้ำญวน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอเชียงคำ
ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติภูซาง จะมีฤดูกาล 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไปประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าดิบเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางนา ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ตุ้มเต๋น มะไฟ ยมหอม จำปีป่า จำปาป่า กระบาก ตะแบก มะหาด ประดู่ แดง สัก เสลา ส้าน มะค่าโมง ตะคร้อ สมอพิเภก กระบก ก่อ มะม่วงป่า รวมทั้งไผ่ กล้วยป่า หวาย และเฟิน เป็นต้น สัตว์ป่ามีเลียงผา กวางป่า เก้ง ลิง หมูป่า กระจง ค่าง ชะนี กระต่าย แมวป่า เม่น อีเห็น ชะมด กระรอก หมาไน เต่าปูลู และนกชนิดต่างๆ

ที่มา ; http://www.ezytrip.com/travelsearch/district_attract2.php?chk=864

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เพลงเพลงฉันมีค่าไหม



เนื้อเพลง: ฉันมีค่าพอไหม
อัลบั้ม:
ดู เนื้อเพลง ทุกเพลงของ นุ้ย วิริยาภา จันทร์สุวงศ์
เพลงประกอบละคร เมียหลวง

รู้ดีว่าเธอนะมันหลายใจ รู้ดีเธอมีใคร
รู้ดีว่าเธอไม่แคร์กันเท่าไหร่ ถูกเธอมองข้ามไป
รู้ดีที่เธอบอกว่ารักกัน รักเธอรักตัวเอง
กล้ำกลืนน้ำตาให้ดูเหมือนว่าเก่ง แต่ตัวเองแทบตาย

หมดแรงหวัง หมดแรงท้อ หมดแรงตัดพ้อมันถอดใจ
ก็ตัวฉันไม่เข้าใจ เธอเคยเห็นฉันมีค่าไหม
หมดแรงหวัง หมดแรงท้อ หมดแรงตัดพ้อมันถอดใจ
ก็ตัวฉันไม่เข้าใจ เธอเคยเห็นฉันมีค่าไหม

รู้ดีว่าคงต้องมีสักวัน ที่ฉันเองต้องทำใจ
รู้ดีว่าคงต้องเดินหนีไป ต้องตัดใจให้ลืม

หมดแรงหวัง หมดแรงท้อ หมดแรงตัดพ้อมันถอดใจ
ก็ตัวฉันไม่เข้าใจ เธอเคยเห็นฉันมีค่าไหม
หมดแรงหวัง หมดแรงท้อ หมดแรงตัดพ้อมันถอดใจ
ก็ตัวฉันไม่เข้าใจ เธอเคยเห็นฉันมีค่าไหม

ฉันมีค่าบ้างไหม บ้างไหม ฉันมีค่าไหม

ที่มา ; http://www.siamzone.com/music/thailyric/index.php?mode=view&artist=!!b9d8e9c220c7d4c3d4c2d2c0d220a8d1b9b7c3eccad8c7a7c8ec&song=!!a9d1b9c1d5a4e8d2becde4cbc1


เพลงไม่เหลือเหตุผลจะรัก



เนื้อเพลง ไม่เหลือเหตุผลจะรัก
คำร้อง / ทำนอง : กสิ นิพัฒน์ศิริผล
โปรดิวเซอร์ : พิเนตร ดุลนัย / กสิ นิพัฒน์ศิริผล
เรียบเรียง : พิเนตร ดุลยนัย
Chorus : ก้อย


ผู้หญิงคนนึงเวลามีใจ ก็มักจะหาเหตุผล
เพื่อให้อภัย.. ให้คนที่เรา.. นั้นแคร์ได้
เฝ้าหาข้อดีข้างในตัวเธอ มาลบที่เธอทำร้าย
ปลอบให้ตัวเอง.. มีกำลังใจ.. รักเธอเรื่อยมา

แต่กี่ทีแล้วที่ทน กี่หนต้องเสียน้ำตา
จนฉันหมดกำลัง.. หมดเวลา..
หมดข้ออ้าง.. กับใจ.. จะยอมเธอแล้ว…

ไม่เหลือซักเหตุผล ที่ฉันจะรักเธอต่อไป
ใจมีแค่นี้.. ให้เจ็บแค่ไหน.. พอเถอะพอที
ทุกเสียงในใจฉัน บอกให้เราเลิกกันไปเท่านี้
ผู้หญิงคนเดิม ไม่มี.. อีกแล้ว
ha…

จดไว้ในใจเป็นบทเรียนนึง ท่องไว้ให้ซึ้งเสมอ
อย่ารักใครจน.. ไม่มองความจริง.. ที่เป็นอยู่
อาจเสียเธอไปในวันนี้แล้ว ปวดร้าวไปนานก็รู้
แต่ก็ยังดี.. กว่าอยู่เสียใจ.. ทั้งชีวิตเพราะเธอ

แต่กี่ทีแล้วที่ทน กี่หนต้องเสียน้ำตา
จนฉันหมดกำลัง.. หมดเวลา..
หมดข้ออ้าง.. กับใจ.. จะยอมเธอแล้ว…

ไม่เหลือซักเหตุผล ที่ฉันจะรักเธอต่อไป
ใจมีแค่นี้.. ให้เจ็บแค่ไหน.. พอเถอะพอที
ทุกเสียงในใจฉัน บอกให้เราเลิกกันไปเท่านี้
ผู้หญิงคนเดิม ไม่มี.. อีกแล้ว

ฉันต้องช้ำ เท่าไหร่ ไม่เห็นจะดีขึ้นเลย
ทั้งที่ไม่อยากเอ่ย แต่ใครมันจะทนไหว…
ha…

ไม่เหลือซักเหตุผล ที่ฉันจะรักเธอต่อไป
ใจมีแค่นี้.. ให้เจ็บแค่ไหน.. พอเถอะพอที
ทุกเสียงในใจฉัน บอกให้เราเลิกกันไปเท่านี้…
ผู้หญิงคนเดิม ไม่มี.. อีกแล้ว
รักเพื่ออะไร.. ไม่รู้.. อีกแล้ว…
ho…

ที่มา ; http://bigbang.bloggoo.com/songs/tag/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9C


เพลงใกล้กันยิ่งหวั่นไหว



นื้อเพลง ใกล้กันยิ่งหวั่นไหว (เพลงประกอบละคร ทาสรักทรนง)- แนน วาทิยา รวยนิรัตน์
เนื้อเพลง โดย KopiK

ไม่อยากเป็นคนอารมณ์อ่อนไหว
ที่ไปรักใครง่ายดายเหลือเกิน
ที่ไปรักเธอไม่ทันจะรู้ตัว

ส่วนหนึ่งในใจของฉันก็กลัว
บอกกับหัวใจตัวเองทุกที
บอกมันทุกวันให้มันหยุดรักเธอ

*รักแล้วก็ช้ำเปล่าๆ ฉันรู้และพอเข้าใจ
เตือนตัวเองเอาไว้ห้ามตัวเองเอาไว้ ไม่ให้แสดงออกมา

**อยู่ใกล้กันยิ่งหวั่นไหว ห้ามใจตัวเองไม่ได้เลย
สั่งหัวใจให้เมินเฉย ไม่รู้ต้องทำยังไง
ใกล้เธอทำไมทุกครั้งในมันสั่นๆ
จิตใจของฉันนั้นวุ่นวาย
ตัวของฉันควบคุมไม่ได้ เมื่อสุดท้าย หัวใจมันรักเธอ

ไม่ว่าจะพยายามแต่ไหน
แต่ก็ไม่ลืมเธอไปสักที
ตราบใดที่ฉันยังคงต้องหายใจ

จะหลอกตัวเองได้นานแค่ไหน
ว่าตัวฉันไม่มีใจให้เธอ
ว่าตัวฉันไม่เป็นไรไม่เสียใจ

*,**,**

ที่มา ; http://bignose.exteen.com/20070911/entry

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เพลงแฟนเก็บ



เนื้อเพลง แฟนเก็บ - ตั๊กแตน ชลดา
อย่าให้ใครรู้ว้เราคบกัน
คือคำที่เธอนั้นย้ำเตือนฉันอยู่เสมอเธอบอกว่างจากตัวจริงแล้วเธอจะรีบมาเจอรู้มั้ยน้ำตาฉันเอ่อ
เมื่อเธอหันหลังจากลาล่ามโซ่หัวใจฉันไว้ใช้งาน แต่ไม่ให้ความสำคัญยกย่องออกหน้าออกตา
เป็นตุ๊กตาคลายเหงาอยู่ห้องเช่าคอยเธอโทรมา
เมื่อเธอนึกอยากมาหาชั้นจึงมีค่าในฐานะแฟน
* แฟนเก็บอยู่แบบเจ็บๆอย่างคนเป็นน้อยมีหน้าที่คอยช่วยเธอบรรเทายามเหงาอ้อมแขนไม่ใช่ตัวจริงเป็นไม่ได้แม้แต่ตัวแทนแค่คนที่เธอหลบแฟนแอบมาหาเวลาเหงาใจ
** หากใครสักคนเขาเดินเข้ามาคบฉันออกหน้าออกตาให้เกียรติว่าฉันคือแฟนเขา
อยากถามเธอดูสักคำปล่อยฉันไปได้หรือเปล่า
หรือจะขังฉันไว้ในเงาทำหน้าที่แฟนเก็บของเธอจนตาย
อยากถามเธอดูสักคำปล่อยฉันไปได้หรือเปล่าหรือจะขังฉันไว้ในเงา
เป็นแฟนเก็บของเธอจนตาย
(ซ้ำ * , **)

ประโยชน์ของผลไม้ 8 ชนิด

- กินกล้วยเป็นประจำแค่สัปดาห์ละ 2 ผล จะช่วยลดความดันเลือดลงไปได้ถึง 10% เพราะเอนไซม์ในกล้วยจะไปช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้คล่องตัวขึ้น และเมื่อไหร่ที่รู้สึกเครียด กล้วยก็ยังช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายได้
- เมื่อกินส้มเป็นประจำ จะช่วยให้มีสุขภาพดี ระบบขับถ่ายทำงานคล่องตัว ป้องกันการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ป้องกันโรคเกี่ยวกับตา เช่น ต้อกระจก ตาบอดกลางคืน
- กระท้อน ใช้ส่วน
เปลือก - ใช้เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย การเสริมรากลำไย นับว่าเป็นวิธีการทีแก้ปัญหาการหักโค่นล้มของลำไยได้ดี เพราะมีระบบรากแก้วช่วยยึดลำต้น และช่วยหาอาหาร ทำให้ต้นลำไยโตเร็วทำให้ผลผลิตสูง และวิธีการเสริมรากลำไยก็ทำได้ง่ายและไม่ยุ่ยาก
- ละมุด ... ผลไม้ที่มีรสหวาน มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาล วิตามิน เกลือแร่ชนิดต่างๆ รวมไปถึงการมีแคลเซียมสูงจึงมีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ผู้ที่กินละมุดเป็นประจำ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่เสมอ
- น้อยหน่า ... เป็นผลไม้ที่มีเนื้อสีขาว มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด ทั้งวิตามิน เกลือแร่ แคลเซียม และฟอสฟอรัส นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณในการเป็นยาระบายอ่อนๆ และช่วยทำให้ชุ่มคออีกด้วย
- ฝรั่ง ... เป็นผลไม้ที่มีวิตามินอยู่มาก และยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ ไฟเบอร์ที่มีมากในเมล็ดของฝรั่ง และจากที่ฝรั่งเป็นผลไม้ ที่มีวิตามินซีสูง (มากกว่าส้มถึง 5 เท่า) จึงมีบทบาทในการบำรุงผิวพรรณของผู้หญิง ด้วยการสร้างคอลลาเจน และสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวพรรณชุ่มชื่น และเต่งตึง ไม่แก่ก่อนวัย
- มะละกอยังมีสรรพคุณ ในการช่วยบำรุงอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ช่วยแก้กระหายน้ำ บำรุงโลหิต บำรุงระบบประสาท และระบบสายตาได้..เกร็ดเล็ก ... น่ารู้ สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูก มะละกอยังมีสารอาหารที่ช่วยในการทำงาน ของระบบขับถ่ายเป็นอย่างดี
- มะม่วงยังมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง รวมไปถึงการกระตุ้นให้ร่างกาย ต่อสู้กับเนื้อร้าย ด้วยสารสำคัญที่มีชื่อว่า เบต้าแคโรทีน ที่สามารถป้องกัน และยังยั้งการเป็นมะเร็งในระยะต่างๆ แต่เบต้าแคโรทีนก็ไม่สามารถต้านมะเร็ง ในคนที่สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องได้

ที่มา ; http://codmom.host.sk/p17.html

10วิธีคลายเครียด

"แนะนำ 10วิธีคลายเครียดที่น่ารู้" เราได้ให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์มาหลายสัปดาห์แล้วนะคะ พักเรื่องอาหารกันสักนิด วันนี้มีวิธีที่จะคลายความเครียดมาแนะนำเพื่อให้เรามีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ดีไหมคะ
1. ออกกำลังกาย -- ใครๆก็พูดได้ว่าออกกำลังกายซิ แต่น้อยคนนักที่จะทำให้เป็นกิจวัตร ได้ เนื่องจากไม่มีเวลา ไม่สะดวกเรื่องการเดินทาง ตื่นเช้าไม่ไหว อุปกรณ์แพง ฯลฯ ความจริงแล้วคุณควรจะหาเวลาของแต่ละวันอย่างน้อย 30 นาที ในการออกกำลังกาย โดยเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับคุณที่สุด ถ้าคุณไม่ต้องการสิ้นเปลืองกับค่าอุปกรณ์ คุณก็น่าจะเลือกการวิ่งหรือเดิน หากเป็นสูงอายุหรือเป็นผู้ที่ไม่ต้องการการกระแทก ว่ายน้ำ,โยคะ, ไทชิ ,หรือ พาลาทีส์ ก็อินเทรนน์ ไม่เลวนะคะ หากอยากมีแรงจูงใจในการออกกำลังกาย ขอแนะนำกีฬาที่เล่นเป็นหมู่คณะอันได้แก่ แบตมินตัน กอลฟ์ ฟุตบอล หรือ เทนนิสที่กำลังฮิตอยู่ในขณะนี้ กีฬาจะทำให้เราได้ระบายออกซึ่งแรงขับของจิตใจในด้านต่างๆ เช่น ความคับข้องใจ ความโกรธ ความเสียใจ ไม่พอใจ แถมยังได้สารสื่อความสุขหรือสารเอนโดฟินกลับมาด้วยแล้วคุณก็จะรู้สึกสดชื่นและหลับสบายอีกด้วยค่ะ
2. พูดระบายความเครียด -- พูดค่ะ ระบายความเครียดออกมาเลย แต่ต้องเลือกบุคคลที่คุณคิดว่า ปลอดภัย หวังดี ไม่มีพิษภัยกับตัวคุณ และควรมีความอดทนสูงในการฟัง หรือถ้าหาไม่ได้ก็นี่เลยค่ะ สัตว์เลี้ยงต่างๆไม่ว่าจะเป็น หมา แมว ปลาทอง จิ้งจก แมลงต่างๆก็ได้ ระบายให้มันฟัง (แต่อย่าลืมปิดประตูลงกลอนด้วย มิเช่นนั้น คนอื่นมาพบเข้าจะหาว่าคุณบ้าพูดคนเดียว) เพราะเวลาที่เราได้ระบายออก เท่ากับเราได้ทบทวนตัวเองไปด้วย นอกจากนี้ยังมีบริการให้คำปรึกษาแนะนำทางโทรศัพท์จากหน่วยงานต่างๆ ให้บริการด้วยค่ะ
3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ -- การนอนหลับพักผ่อนช่วยให้คุณสดชื่นขึ้นได้มาก เหมือนได้ชาร์จแบตเตอรี่ในร่างกายใหม่ แต่ควรเตรียมความพร้อมในการนอนหน่อยนะค่ะ โดยเลือกสถานที่และเครื่องนอนสะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิพอเหมาะ มีเสียงหรือแสงที่รบกวนคุณไม่มากนัก โดยกำหนดจิตใจก่อนนอนว่า ให้เราสดชื่น ผ่อนคลาย เอาเรื่องเครียดปัญหาต่างๆ วางไว้นอกตัว ไม่เอามาคิดตอนนอน แล้วหลับโลดค่ะ ี
4. อาหารคลายเครียด -- กลับมาเรื่องอาหารกันซักนิด อย่างที่เคยบอกไปแล้วนะคะว่าอาหารสามารถลดความเครียดของคุณได้ด้วย วันนี้จะมาย้ำอีกครั้งนะคะ อาหารที่ช่วยคลายเครียดให้คุณได้อย่างดี ได้แก่ 1.- ทริปโตฟาน (1-2 กรัม ก่อนนอน) พบได้ใน ไข่ ถั่วเหลือง นมวัว เนื้อสัตว์2.- วิตามินบี 6 (40 มิลลิกรัมต่อวัน) พบในธัญพืชต่างๆ ยีสต์ รำข้าว เครื่องใน เนื้อ ถั่ว ผัก 3.- วิตามินบี 3 (1,000 มิลลิกรัมต่อวัน) พบใน ตับ เครื่องใน เนื้อ เป็ด ไก่ ปลา ถั่ว ยีสต์ 3.- สารอาหารอื่นๆ เช่น แคลเซียม กระเทียม ดอกไม้จีน
5. พักผ่อนท่องเที่ยว -- ข้อนี้ขอ Confirm ว่าจริงค่ะ เพราะคนเราก็เหมือนเครื่องยนต์ ต้องการช่วงพักไปทำการ reboot ใหม่ การที่ได้ไปท่องเที่ยวเห็นบรรยากาศทิวทัศน์สวยงามแปลกหูแปลกตา ไปเจอผู้คน ก็ช่วยกระตุ้นมุมมองชีวิตใหม่ๆ ฝรั่งเขาถึงมีช่วงพักร้อนยาว และให้ความสำคัญอย่างมาก วางแผนล่วงหน้ายาวทีเดียว เมื่อถึงเวลาก็ไปพักผ่อนทันที เมื่อกลับมาจากการท่องเที่ยวแล้ว คุณก็จะกลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพค่ะ
6. ดนตรีคลายเครียด -- หลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยดนตรีหรือดนตรีบำบัดมาแล้วนะคะ ทั้งนี้ก็เพราะดนตรีช่วยทำให้คุณอารมณ์เยือกเย็นลง ผ่อนคลาย ใจสงบ ดนตรีบำบัดมีทั้งเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีชนิดเดียวหรือหลายชนิด เพลงที่มีเสียงคลื่นทะเล เสียงนก เสียงน้ำไหล ฯลฯ หากคุณได้ปิดไฟ จุดเทียน และฟังเพลงเบาๆ หลังจากนั้นก็หลับไปแล้วละก็ ตื่นขึ้นมาน่าจะสดใสหายเครียดได้เยอะเลยล่ะค่ะ
7. กลิ่นบำบัดอโรมาเทอราปี -- วิธีต้องแนะนำไว้ด้วย เดี๋ยวout ค่ะ กลิ่นเป็นอีกสิ่งหนึ่งของการรับรู้ทางสัมผัสที่สื่อถึงอารมณ์และความรู้สึกได้ดี คุณอาจลองจุดธูปหอมกลิ่นที่สดชื่น หรือหยดน้ำมันหอมระเหย ในขณะนอนหรือทำงานเพื่อผ่อนคลายไปด้วย หรือจะแช่น้ำอุ่นๆ ก็ไม่เลวคะ กลิ่นที่เหมาะสมแล้วแต่ชอบและรู้สึกผ่อนคลาย โดยเลือกจากการดมว่ากลิ่นไหนทำให้รู้สึกดี ให้พลัง หรือช่วยผ่อนคลาย กลิ่นที่น่าสนใจ เช่น กลิ่นไม้จันทน์หอม กลิ่นกำยาน สำหรับผ่อนคลาย กลิ่นการบูน กลิ่นส้ม กลิ่นมะนาว สำหรับสร้างความสดชื่น
8. ฝึกหายใจคลายเครียด -- การหายใจช่วยนำอากาศบริสุทธิ์ เข้าสู่ปอด แล้วเดินทางสู่สมองไปตลอดทั่วร่างกาย ลองหายใจโดยการหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ สังเกตว่ากระบังลมขยายออก ท้องป่องออก จากนั้นค่อยๆ หายใจออกช้าๆ ไล่ลมให้ออกมากที่สุด ตอนนี้กระบังลมคุณจะหดสั้นลง ท้องจะแฟบ ถ้าช่วงแรกไม่ถนัดก็เอามือแตะท้องเพื่อปรับและเข้าใจสภาพป่องแฟบของท้องจากการหายใจก่อนแล้วฝึกไปเรื่อยๆ
9. ฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ -- โดยนำเอาหลักการฝึกหายใจมาประยุกต์ใช้ร่วมด้วย เริ่มด้วยการนั่งหรือนอนในท่าสบายๆ จากนั้นค่อยๆ เกร็งกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ขึ้นมาโดยอาจไล่จากปลายเท้า ข้อเท้า น่อง ต้นขา ลำตัว แขน มือ นิ้ว ไหล่ คอ ศีรษะ และใบหน้า เกร็งไว้สักอึดใจหนึ่ง จากนั้นค่อยๆ ผ่อนคลายย้อนกลับไปโดยเริ่มจากใบหน้า จนถึงปลายเท้า คุณสามารถใช้การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อในยามที่รู้สึกตึงเครียด อึดอัด ไม่สบายใจ หรือแม้แต่ยามที่คุณต้องการให้สมาธิกลับคืน10.คลายเครียดด้วยการนวด -- ปัจจุบันมีคนสนใจการนวดอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น นวดแผนไทย นวดเท้า นวดน้ำมัน นวดรักษาโรคเฉพาะที่ ทำให้มีสถาน บริการเกี่ยวกับการนวดหรือ Spa เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด การนวดเป็นการผ่อนคายกล้ามเนื้อและทำให้เลือดลมสูบฉีด ทำให้ผู้ที่ถูกนวดรู้สึกผ่อนคลายและสบายมากยิ่งขึ้น การนวดน้ำมันยังทำให้มีผิวพรรณที่ดีอีกด้วย ทางออกของความเครียดยังมีอีกมากมายค่ะ แต่10วิธีที่แนะนำนี้เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ปลอดภัยด้วยวิธีธรรมชาติค่ะ ความเครียดเป็นสิ่งที่ห้ามกันไม่ได้ สิ่งที่คุณทำได้คือ มีสติ หากรู้ว่าตัวเองเริ่มเครียดแล้วก็ต้องหยุดแล้วลองใช้10วิธีที่แนะนำมาใช้นะคะ
ที่มา ; http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=626

รักแปดพันเก้า



รักแปดพันเก้า ปี 2แนวละคร : ซิททูเอชั่น-ดราม่า
บทโทรทัศน์ ; ศุภกร เหรียญสุวรรณ, พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์, ตรึงตา โฆษิตชัยมงคล, สกล วงษ์สินธุ์วิเสส
กำกับการแสดง : สิริวิทย์ อุปการ
ออกอากาศ : ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 น. ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี

เรื่องย่อ

หลังจากที่ อิทธิ์ และนุ่น คืนดีกัน ต่างคนก็ต่างรู้ว่าขาดกันไม่ได้ ทั้งคู่พยายามที่จะดูแลทนุถนอมความรักนี้ไว้ให้ดีที่สุด อิทธิ์พยายามช่วยนุ่นแก้ปัญหาเรื่อเงินที่ จิ๊บ ขโมยไป ซึ่งความพยายามที่จะจับตัวจิ๊บให้ได้นี่เอง ที่สร้างปัญหาหน้าหนักใจตามมา แต่ปัญหานี้กลับทำให้ทั้งคู่ยิ่งรู้สึกผูกพันและห่วงใยกันมากขึ้น

ในขณะที่นุ่นเองต้องคอยมาช่วย ทัศน์ แก้ปัญหาเรื่องการกลับมาของ พลอย คนรักเก่าที่ทำให้ทัศน์กับนุ่นต้องเลิกกัน พลอยเข้ามาตีสนิทกับ ทราย เพราะต้องการจะทำให้ทรายกับทัศน์เลิกกันเหมือนอย่างที่ตัวเองเคยทำกับนุ่น แต่ทรายรู้ไม่เท่าทันแผนการณ์ของพลอย ซ้ำยังไว้ใจพลอยอีก จะมีเพียงแต่นุ่นเท่านั้นที่รู้เท่าทันและพยายามขัดขวางการกระทำของพลอย จนทำให้ทรายเริ่มระแวงว่านุ่นอาจจะมีใจให้กับทัศน์อยู่ และนั่นก็คือชนวนสำคัญที่ทำให้แผนการณ์ของพลอยเป็นจริง ทัศน์กับทรายจะต้องผ่านอุปสรรคความรักครั้งนี้ไปให้ได้ โดยใช้ความเชื่อมั่นในความรักเป็นกุญแจสำคัญ

ฟ้า พยายามจะรักษาความลับเรื่องพ่อของลูก ซึ่งหมายถึง แทน ที่ตัวเองเคยโกหกไว้ตั้งแต่แรก แต่ยิ่งพยายามเท่าไหร่ ความรู้สึกผิดในใจกลับยิ่งเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งแทนที่อยู่ห้องตรงข้ามก็มักจะมาคอยช่วยดูแลลูก ส่วน ทรงพล ก็รักและดูแลลูกเป็นอย่างดี เลยทำให้ฟ้ายิ่งรู้สึกผิด ทรงพลพยายามขอให้ฟ้าย้ายไปอยู่กับตัวเอง แต่ฟ้าก็ยังรู้สึกผิดเรื่องแทนจึงไม่อยากจะพรากลูกไปจากพ่ออีก ฟ้าจึงปฏิเสธที่จะย้ายตามทรงพลออกไป ทำให้ทรงพลและคนอื่นๆ โดยเฉพาะอิทธิ์ เริ่มรู้สึกสงสัยในตัวฟ้า ฟ้าจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อที่จะรักษาความลับนี้ไว้กับตัวเองให้นานที่สุด และทำให้ลูกที่กำลังป่วยได้สบายและมีเงินไว้รักษาตัว
ที่มา ; http://movie.sanook.com/drama/drama_10378.php

นัดกับนัด




นัดกับนัด เป็นละครซิทคอม ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี อสมท. ออกอากาศเวลา 17.00 น. - 18.00 น. ทุกวันอาทิตย์ สร้างโดยบริษัท ซีเนริโอ ออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2550 ในชื่อตอน

ผู้กำกับการแสดง

จิรศักดิ์ โย้จิ้ว
(จาก ผู้กำกับซิทคอม เฮงเฮงเฮง,บางรักซอย 9,รักแปดพันเก้า และ เป็นต่อ)

รายชื่อนักแสดงหลัก
สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว หรือ บี้ เดอะสตาร์ รับบท นัดหล่อ (ชื่อจริง ธนัส ทรัพย์สมบูรณ์) เป็นชาวจังหวัดเชียงใหม่ เข้ามาทำงานเป็นนายธนาคารในกรุงเทพมหานคร ทำอาหารเก่ง นัดหล่อเคยเป็นคนเจ้าชู้ แต่ตอนนี้แอบรักอย่างจริงใจกับพลอยแค่คนเดียวเท่านั้น เมื่อถูกต่อว่าว่างก นัดหล่อจะเถียงทันทีว่า "เขาไม่ได้เรียกว่างก เขาเรียกว่าใช้เงินเป็น" เคยบอกรักกับพลอยตั้งแต่ตอน ยายตัวร้ายกับนายสารภาพรัก และเป็นแฟนกันใน ตอน ยัยตัวร้ายกับนายสีชมพู
อาณัตพล ศิริชุมแสง หรือ อาร์ เดอะสตาร์ รับบท นัดเท่ (ชื่อจริง ณัฐพงศ์ สิงห์พยัฒเดช) เป็นชาวจังหวัดอุดรธานี เข้ามาทำงานเป็นนักดนตรีในร้านหมูกะทะ และขายกางเกงยีนส์อยู่ในตลาด นัดเท่มักถูกนัดหล่อล้อว่า ปังคุงบ้าง หรือหน้าลิงบ้าง เคยเป็นแฟนกับอ้น แล้วเลิกกันไปในตอน GOOD BYE MY ทอมแคระ
อรจิรา แหลมวิไล รับบท พลอย (ชื่อจริง พชราพร) เคยเป็นเด็กฝึกงานในธนาคารของนัดหล่อ แต่ปัจจุบันผ่านโปรแล้ว คบหาดูใจอยู่กับราเชนทร์ จนเลิกกันไปในตอน พระเอกลิเกรอรัก และมีอาชีพเสริมโดยการเปิดร้านขายโคมไฟ ใกล้ๆ กับร้านกางเกงยีนส์ของนัดกับนัด[1]
หทัยวรรณ งามสุคนธภูษิต รับบท น้ำหวาน เป็นชาวจังหวัดชลบุรี เป็นน้องสาวบุญธรรมของส้มจี๊ด[2] (แม่ของสมจี๊ดขอน้ำหวานมาเป็นลูกบุญธรรมจากตาจ่วน เพื่อนสนิทของแม่ส้มจี๊ด) เข้ามาเรียนในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากหน้าตาดี ผิวขาว ผิดกับส้มจี๊ด จึงเป็นที่อิจฉาของส้มจี๊ด และมักถูกนัดกับนัดหว่านเสน่ห์เป็นประจำ

นัดหล่อ(ซ้าย) และ นัดเท่(ขวา)ชมพูนุช กลิ่นจำปา หรือ ชมพู่ ก่อนบ่ายคลายเครียด รับบท ส้มจี๊ด เป็นชาวจังหวัดชลบุรี เช่าบ้านอยู่ข้างๆ กับ 2 นัด มีนิสัยชอบสืบเสาะเรื่องของชาวบ้าน และชอบขอข้าวบ้านนัดกับนัดกิน เนื่องจากส้มจี๊ดผิวดำ จึงมักถูกคนอื่นๆเรียกว่า ดำตับเป็ด พี่ดำ เจ๊ดำ อยู่บ่อยๆ มีคำพูดติดปากว่า อะแหล่วๆๆแล้ว
รอง เค้ามูลคดี รับบท สมหมาย เป็นชาวจังหวัดอุดรธานี เป็นโรคเกาต์ เปิดร้านขายของชำชื่อว่าร้าน "เมียสมหมาย" ชอบหนีไปเที่ยวคาราโอเกะ/ร้านข้าวมันไก่ เป็นเพื่อนกับนุ้ยบ่อย ๆ
ณัฐนี สิทธิสมาน รับบท อาจารย์ป้า หรือ สมศรี เป็นชาวจังหวัดเชียงใหม่ ทำงานเป็นอาจารย์สอนพิเศษ และเป็นภรรยาของสมหมาย สมศรีมักจะถูกสมหมายหรือนุ้ยแซวว่าเป็น ปอบ
พิเชษฐ์ เอี่ยมชาวนา หรือ โย่ง เชิญยิ้ม รับบท นุ้ย เป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเพื่อนของสมหมาย มีลูกชายชื่อป๊อด แต่กลับเป็นลูกที่ไม่เคยมาหาพ่อเสียที
จุ๊บจิ๊บ เชิญยิ้ม รับบท ประกิต เป็นชาวกรุงเทพมหานคร ทำงานเป็นพนักงานรับส่งเอกสารของธนาคารที่นัดหล่อทำงาน ด้วยความที่ประกิตเป็นคนพูดมาก พูดไม่ถูกกาลเทศะ พูดกวนๆ จึงมักโดนคนตบหัวอยู่บ่อยๆ มารดามีอาชีพเป็นช่างเย็บผ้า ประกิตชอบขวัญ ซึ่งเป็นคนขายของร้านวีซีดีข้างๆ ร้านกางเกงยีนส์ของนัดกับนัด

สมชายเต่า เชิญยิ้ม รับบท ศักดิ์สิทธิ์ เป็นชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นคนความจำสั้น จำคนไม่ค่อยได้ แอบชอบส้มจี๊ดอยู่
ลักขณา วัธนวงส์ศิริ รับบท ต้อม หรือ อะตอม เป็นชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดร้านนวดในตลาดนัดที่นัดกับนัดขาย กางเกงยีนส์อยู่ เป็นคนขี้สงสาร เหตุที่ต้องเรียกชื่ออะตอมแทนต้อม เพราะอะตอมเคยติดยามาก่อน
ยศกุล มูลสาร รับบท ยามเคน เป็นชาวจังหวัดระยอง มาทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย แต่กลับชอบพกแครอทหรือไม่ก็มะเขือยาวแทนกระบองเป็นประจำ ปัจจุบันบวชเป็นภิกษุแล้ว
ทองอินทร์ รังศิริ รับบท ทองอินทร์ เป็นชาวจังหวัดสกลนคร ทำงานเป็นคนขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง ชอบจอดรถเลยที่หมายทุกที
ทองขาว มกจ๊ก รับบท แสก เป็นชาวจังหวัดสุรินทร์ ทำงานเป็นพนักงานในร้านเมียสมหมาย เป็นคนซื่อ ๆ และคลั่งไคล้ เสก โลโซ เป็นอย่างมาก
สมชาย(สุนัข) รับบท เป็นสุนัขที่บ้านของสมศรีและสมหมาย

ชิงร้อย ชิงล้าน



ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 22.20 น. ทางช่อง 7

เพลงเบอร์นี้ไม่มีคนของเธอ



เนื้อเพลงเบอร์นี้ไม่มีคนของเธอศิลปิน :
ปาน ธนพรอัลบั้ม : ผู้หญิงยิ่งกว่าละคร

ตัวว่าทำไม่ค่อยงามเท่าไร แค่เพียงข้องใจอยู่ว่าใครโทรมาถามว่าใคร เรื่องอะไร เค้าก็เลี่ยงไป ฉันมันก็ค้างคาอยากพูดให้ชัดเจนเรื่องงาน ไม่คุยที่ทำงานหรือไง ต้องโทรปรึกษากันวุ่นวายเช้าเย็นต้องหลบไป ต้องแอบไป ยืนคุยตั้งไกล คบมาก็เพิ่งเป็นฉันเลยอดไม่ไหว
* ถ้าไม่คิด ก็แล้วไป เชิญคุยได้ทั้งวันเว้นเพียงแต่เธอคิดการใหญ่กว่านี้…
** โทษที บอกไว้เลยว่าเบอร์นี้ไม่มีคนของเธออย่าให้ระคายว่าเธอกำลังไม่เกรงใจคนรักเขาอยู่ข้างๆกัน ถ้าคิดอย่างนั้นมันก็กล้าไปอย่าทำให้ฉันร้าย จำไว้หากไม่มีใครตายอย่าโทร
แค่กลัวเผื่อเธอไม่รู้ตัวเท่าไร เผลอลืมว่าใครเป็นของใครขึ้นมาเห็นหยอกกัน เห็นผูกพันเกินกว่าเพื่อนกัน ฉันทนมาหลายคราอยากพูดให้ชัดเจน
ซ้ำ *,**โทษที บอกไว้เลยว่าเบอร์นี้ไม่มีคนของเธออย่าให้ระคายว่าเธอกำลังไม่เกรงใจคนรักเขาอยู่ข้างๆกัน เรียนสูงขนาดนั้นควรจะต้องอายอย่าทำให้ฉันร้าย จำไว้หากไม่มีใครตายอย่าโทรจำไว้คนจะแย่งแฟนใครห้ามโทร

เกาะล้าน



เกาะล้าน หรือที่รู้จักกันในนามเกาะปะการังนั้นเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นอย่างมาก เหตุที่เรียกเกาะล้านว่าเกาะปะการังนั้นเนื่องจากใต้ทะเลของบริเวณเกาะดังกล่าวเต็มไปด้วยปะการังที่สวยงามและหลายชนิด และประกอบไปด้วยหมู่เกาะเล็ก ๆ ซึ่งรวมถึง เกาะครก และเกาะสาก เกาะล้านนั้นเป็นเกาะที่เหมาะสำหรับการดำน้ำดูปะการัง (สน็อร์กเกิล) และหาดทรายสีขาว ทะเลสีน้ำเงินเข้มไปถึงสีเขียวน้ำทะเล ที่ทำให้นึกถึงทะเลอันดามัน เกาะล้านตั้งอยู่ไม่ไกลจากพัทยาและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

เกาะล้าน อยู่ห่างชายฝั่งพัทยา 7 กิโลเมตร นั่งเรือโดยสาร 45 นาที หากเดินทางโดยเรือเร็วใช้เวลาเพียง 15 นาที มีพื้นที่ประมาณ 4 ตารางกิโลเมตร มีชายหาดที่สวยงามหลายแห่ง ส่วนใหญ่คึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวที่มาเล่นน้ำ ดูปะการัง เล่นกีฬาทางน้ำ เช่น เรือลากร่มชูชีพ เรือสกี สกู๊ดเตอร์ โดยเฉพาะที่หาดตาแหวน หาดทองหลาง หาดนวล และหาดเทียน ส่วนหาดแสมบรรยากาศเงียบสงบกว่าหาดอื่น บริเวณเกาะล้าน และเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่รอบ ๆ เช่น เกาะครก และเกาะสาก เป็นแหล่งตกปลาดำน้ำดูปะการัง ทั้งแบบน้ำลึกและน้ำตื้น และเป็นสถานที่ฝึกหัดเรียนดำน้ำ

การเดินทาง มีเรือโดยสารออกจากท่าเรือพัทยาใต้ไปเกาะล้านทุกวัน เที่ยวไป ตั้งแต่เวลา 10.00 น.-18.30 น. เที่ยวกลับ มี 2 รอบ เวลา 12.00 น. และ 14.00 น. อัตราค่าเรือโดยสาร คนละ 30 บาท เรือจอดที่ท่าหน้าบ้าน หากจะเดินทางต่อไปชายหาดอื่นสามารถเช่าเรือหางยาว หรือรถรับจ้าง นอกจากนี้ยังมีบริการเรือเร็วให้เช่าอยู่ทั่วไปตามชายหาดพัทยา อัตราค่าเช่าประมาณ 3,000 บาท สามารถแวะเที่ยวได้หลายหาดแล้วแต่จะตกลงกัน

เกาะล้าน ตั้งอยู่ในแนวขนานกับหาดพัทยา อยู่ห่างจากอ่าวระยะทาง 7.5 กิโลเมตร ตัวเกาะกว้าง 2 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร เกาะล้านมีหาดทรายขาวนวลเม็ดทรายละเอียด มีแนวปะการังมากมาย นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือหางยาวท้องกระจกหรือดำน้ำดูปะการังได้ ซึ่งมีหาดทรายที่เลื่องชื่อ ได้แก่ หาดตาแหวน อยู่ทางเหนือของเกาะ มีหาดทรายยาวประมาณ 750 เมตร เป็นหาดที่มีร้านค้าต่างๆ มากมาย เรือท่องเที่ยวมักมาจอดบริเวณนี้เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีหาดทรายขาวและสวยงาม หาดแหลมเทียน และหาดแสม อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะล้าน หาดทรายยาวประมาณ 700 เมตร และ 100 เมตร ตามลำดับจัดเป็นหาดที่สวยงามและน่าประทับใจอีกแห่งหนึ่งของเกาะ โดยเฉพาะบริเวณแหลมเทียน มีความเงียบสงบและสะอาด ปัจจุบันมีร้านค้าไว้บริการนักท่องเที่ยวอยู่บ้าง หาดตาพัน อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะ หาดยาวประมาณ 500 เมตร บนหาดมีเพิงพักชั่วคราว สำหรับนักท่องเที่ยวเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุด เรือท่องเที่ยวมัก มาจอดบริเวณหน้าหาดตลอดไปจนถึงแหลมเทียนและหมู่เกาะใกล้เคียง ซึ่งจะมีปะการังอยู่โดยตลอด หาดนวล อยู่ทางทิศใต้ของเกาะ ชายหาดยาวประมาณ 450 เมตร เป็นหาดที่มีโรงแรมตั้งอยู่ มีนักท่องเที่ยวมาพักมากพอสมควรบริเวณนี้เป็นแหล่งดูปะการังอีกแห่งหนึ่ง นักท่องเที่ยวนิยมดูปะการัง จัดเป็นหาดที่น่าสนใจอีกหาดหนึ่ง นอกจากนี้แล้วยังมี หาดแหลมหัวโขนด้านหน้า-หลัง แหลมทองหลาง แหลมถ้ำแร่ ฯลฯ ที่เป็นจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ สำหรับกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเล่นกันที่เกาะล้าน ได้แก่ เล่นน้ำ ดูปะการัง เล่นเรือลากร่มชูชีพ เรือสกี เรือสกู๊ดเตอร์ เป็นต้น

ที่มา ; http://www.tripperclub.com/travel/island/island-kohlan.php