วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ



ท่ามกลางผืนป่าตะวันตกของไทยที่กว้างใหญ่กว่า 11.7 ล้านไร่ ซึ่งมีป่ามรดกโลกห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นแกนกลางนั้นโดยรอบยังมีผืนป่าอนุรักษ์อยู่อีกมากมายหลายแห่ง อุทยานแห่งชาติเอราวัณเป็นป่าอนุรักษ์ผืนหนึ่งในนั้น ซึ่งยังคงความอุดมสมบูรณ์ จนก่อให้เกิดน้ำตกน้อยใหญ่หลายแห่ง น้ำตกเอราวัณตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ใกล้กับที่ทำการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และงดงามที่สุดแห่งหนึ่งของผืนป่าตะวันตก สภาพโดยรอบมีแมกไม้น้อยใหญ่ร่มรื่น น้ำตกเอราวัณเดิมมีชื่อว่าน้ำตกสะด่องม่องลายตามชื่อลำห้วยม่องลายซึ่งเกิดจากยอดตาม่องลายในเทือกเขาสลอบ สายน้ำจะไหลตามชั้นหินปูนเป็นระยะทางไกลถึง 1,500 เมตร ลดหลั่นเป็นเชิงชั้นราวขั้นบันไดธรรมชาติ สลับกับแอ่งน้ำสีเขียวมรกตตามฉบับน้ำตกหินปูนทั่วไป น้ำตกเอราวัณแบ่งออกเป็นชั้นใหญ่ๆ ถึง 7 ชั้นด้วยกัน โดยชั้นที่ 2 ถือว่ามีสายน้ำทิ้งตัวลงจากลาดไหล่หินได้สวยงามที่สุด ส่วนชั้นที่ 5 มีลักษณะเป็นวังน้ำใหญ่ไหลเย็น และก้อนหินที่ถูกขัดเกลาผ่านกาลเวลามาอย่างเนินนาน ทว่าน้ำตกชั้นที่ 7 นั้นเอง ที่มีก้อนหินเหมือนตกลักษณะคลบ้างเศียรช้างเอราวัณ อันเป็นที่มาของชื่อน้ำตก ในฤดูฝน สายน้ำจะไหลแรงพุ่งตกลงมาจากเศียรช้าง และมีปริมาณน้ำมากจนมองเห็นได้จากระยะไกล ซึ่งในยามปกติจะสามารถเดินขึ้นไปเที่ยวชมได้ครบทุกชั้น แต่ยามที่น้ำหลากอาจเที่ยวชมได้แค่ชั้นที่ 2 เท่านั้น นอกจากนี้ที่น้ำตกชั้นที่ 2 ได้มีการจัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทาง 1 กิโลเมตร พร้อมป้ายสื่อความหมายเป็นระยะด้วย

ที่มา ; http://www.dnp.go.th/parksample/park.asp?park=10

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น