วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม



มีพื้นที่ประมาณ 140 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร ได้ รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2534 สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง และเนิน เขา มีหน้าผาสูงชันซึ่งเกิดจากการแยกตัวของผิวโลก สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีหินทรายลักษณะ แปลกตากระจายอยู่ทั่วบริเวณ มีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงามขึ้นอยู่ตามลานหิน

การเดินทางจากอำเภอโขงเจียมใช้ เส้นทาง 2134 ต่อด้วยเส้นทาง 2112 แล้วแยกขวาไปผาแต้ม อีกราว 5 กิโลเมตร รวมระยะทางจาก โขงเจียมประมาณ 18 กิโลเมตร สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่

การเดินทางจากอำเภอโขงเจียมใช้ เส้นทาง 2134 ต่อด้วยเส้นทาง 2112 แล้วแยกขวาไปผาแต้ม อีกราว 5 กิโลเมตร รวมระยะทางจาก โขงเจียมประมาณ 18 กิโลเมตร สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ

เสาเฉลียง
อยู่ก่อนถึงผาแต้มประมาณ 3 กม. เป็นหินตั้งซ้อนกันโดยธรรมชาติ มีลักษณะคล้ายดอกเห็ดเรียงรายกันอยู่มากมาย ซึ่งหินดังกล่าวจะปรากฏเห็นซากเปลือกหอย กรวด ทราย อยู่ในแผ่นดินขนาดใหญ่ ซึ่งนักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อประมาณล้านกว่าปีมาแล้ว บริเวณนี้คงจะเป็นทะเลมาก่อน

ลานหินแตก
ประติมากรรมทางธรรมชาติอีกชิ้น จากการซึกกร่อนโดยพลังน้ำและความร้อนทางธรรมชาติ
อยู่เลยจากเสาเฉลียงไปทางด้านหลัง

ที่มา ; http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/Ubon/data/place/npk_pataem.htm


อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา



พื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตท้องที่ของอำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 250,000 ไร่ อุทยานฯ แห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งทะเลแห่งที่สองของประเทศ มีความงดงามของทิวทัศน์ชายฝั่ง และทิวทัศน์เหนือผิวน้ำ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าชายเลน และยังเป็นแหล่ง ขยายพันธุ์สัตว์น้ำมากมาย ซึ่งอุทยานฯแห่งนี้จะอยู่ในเวิ้งอ่าวพังงาที่เต็มไปด้วยเกาะหินปูน ซึ่งสวยงามด้วยรูปลักษณ์ อุทยานฯ แห่งนี้ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2524 ช่วงเวลาเหมาะสำหรับท่องเที่ยว คือ เดือน ธันวาคม ถึง เมษายน

ที่มา ; http://www.thai-tour.com/thai-tour/South/pangnga/data/place/npk_aopangnga.htm

อุทยานแห่งชาติภูพาน


มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอเมือง อำเภอพรรณานิคม กิ่งอำเภอภูพานจังหวัดสกลนคร และอำเภอสมเด็จอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุดบาก จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ประมาณ 655 ตร.กม. หรือ 415,439 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ที่ทำการ

น้ำตกคำหอม และ โค้งปิ้งงู
อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 14 กม. บริเวณใกล้เคียงกันจะเป็นที่ตั้งของน้ำตกต่าง ๆ อีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกเหวสินธุ์ชัย น้ำตกตาดโตน น้ำตกสามหลั่น น้ำตกสาวไห้ ผาหินซ้อน อยู่ท่ามกลางป่าไม้ที่ร่มเย็น และหน้าทางเข้าน้ำตกคำหอม บนถนนสายสกลนคร - กาฬสินธุ์ เป็นช่วงที่คดเคี้ยวไปมาเหมือนกับงูเลื้อย ริมทางตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับเป็นทัศนียภาพที่สวยงาม การคมนาคม เข้าแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้สะดวก และปลอดภัย สามารถเดินทางเข้าถึงตลอดทั้งปี สำหรับน้ำตกต่าง ๆ จะมีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น

ผานางเมิน และลานสาวเอ้
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 700 เมตร และ 2 กม. ตามลำดับตามทางเดินเท้าจาก ที่ทำการ สองข้างทางจะเป็นป่าพรวงไปตลอดถึงริมหน้าผา ซึ่งเป็นลาดหินทอดยาวหันหน้าไปทางทิศตะวันตกมองเห็นธรรมชาติเบื้องล่างได้อย่างชัดเจนสวยงาม ส่วนด้านล่างหน้าผามีทางเดินไปลานสาวเอ้ ซึ่งเป็นลานหินธรรมชาติที่สวยงาม อยู่ท่ามกลางป่าเขาและบริเวณหน้าผาสูงชันในเดือนสิงหาคม - ตุลาคม และจะได้พบเห็นดอกไม้ขึ้นสลับสี เป็นทุ่งกว้าง เหมาะสำหรับพักผ่อน ถ่ายภาพ และชมธรรมชาติ

น้ำตกห้วยใหญ่
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 12 กม. ลักษณะเป็นลำน้ำที่ยุบตัวลงลดหลั่นเป็นชั้นๆ รายล้อมด้วยสภาพป่าเขาทึบที่ร่มเย็น

ถ้ำเสรีไทย
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4.5 กม. เป็นถ้ำที่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายเสรีไทย ได้ใช้เป็นที่สะสมอาวุธและเสบียง เพราะเป็นทำเลที่เหมาะสม ปกปิดด้วยป่าไม้ที่เขียวชะอุ่ม และบริเวณเดียวกันมีร่องรอยการขุดแต่งเพื่อเป็นสนามบินลับด้วย


ที่มา ; http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/Sakonnakorn/data/place/npk_pupan.htm

อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม๙ทัพ



อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ
ตั้งอยู่บริเวณทุ่งลาดหญ้า ตำบลช่องสะเดา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 45 กิโลเมตร เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 323 จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 3199 (กาญจนบุรี-เขื่อนศรีนครินทร์) ประมาณกิโลเมตรที่ 24 เป็นสถานที่รวบรวมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ ซึ่งเป็นสงครามครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อป้องกันการรุกรานของพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าในปี พ.ศ. 2328 ชัยชนะในสงครามครั้งนี้โดยเฉพาะในสมรภูมิทุ่งลาดหญ้า ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชและดำรงความเป็นชาติมาถึงปัจจุบัน ภายในอาคารจะเป็นตู้จำลองเหตุการณ์และโต๊ะทรายแสดงภูมิประเทศจำลองเส้นทางการเดินทัพของข้าศึก นอกจากนี้ยังมีหอสังเกตการณ์เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจประวัติศาสตร์เข้าใจการเลือกใช้ภูมิประเทศในการเดินทัพ และจุดสกัดกั้นทัพพม่าได้ชัดเจนขึ้น เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. (ไม่เสียค่าเข้าชม) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายยุทธการจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี โทร. 0 3458 9233-5 ต่อ 51015-6 โทรสาร 0 3458 9236

ที่มา ; http://www.teawmuangthai.com/kanchanaburi/073/




แก่งเลิงจาน



แก่งเลิงจาน
ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 3 ก.ม. เป็นอ่างเก็บน้ำที่กว้างขวางและเป็นสถานที่ประมงของจังหวัด ซึ่งทำการเพาะพันธุ์ปลาให้หลายจังหวัดในภาคอีสาน แก่งเลิงจาน เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ภายในบริเวณเป็นที่ตั้งของสถานีประมงทำการเพาะพันธุ์ ปลาน้ำจืดให้หลายจังหวัดในภาคอีสาน อยู่ด้านหลังของวิทยาลัยครูมหาสารคามห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณโดยรอบของแก่งเลิงจานมีทิวทัศน์สวยงาม ในวันหยุดประชาชนนิยมไปพักผ่อนกันมาก

ที่มา ; http://www.geocities.com/taoth2001/tao12.html

พระธาตุยาคู



พระธาตุยาคู (ญา-คู ญา-ซา หมายถึงพระผู้ใหญ่ในวัด)
........................
เดิมเรียกว่า "พระธาตุใหญ่" อยู่ในบริเวณเมืองฟ้าแดดสงยาง กลางทุ่งนาทิศเหนือของบ้านเสมา
ห่างจากวัดโพธิ์ชัยเสมาราม (วัดบ้านก้อม) ประมาณ 600 เมตร เป็นสถูปก่อสร้างแบบทวารวดี สร้างด้วยอิฐดิน
(ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15) ฐานเป็นรูปแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง กว้าง 10 เมตร สูง 8 เมตร
สร้างซ้อนกันเป็นลักษณะแบบ จตุรมุข เชื่อว่าเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิของ
พระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม
ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดสงยาง แต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู จึงเป็นโบราณสถาน
ในเมืองฟ้าแดดสงยางแห่งเดียวที่ยังคงสภาพ ค่อนข้างสมบูรณ์ ในเดือนพฤษภาคมของทุกปี ชาวบ้านจัดงานประเพณี
บุญบั้งไฟ เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นของหมู่บ้าน
พระธาตุยาคู อยู่กลางทุ่งนาทิศเหนือบ้านเสมา ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ 19 กิโลเมตร
เป็นศิลปะการก่อสร้างแบบทวาราวดี ทำด้วยอิฐดิน ฐานเป็นรูปแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง ขนาดฐานกว้าง 10
เมตร ยาว 10 เมตร สร้างซ้อนกันเป็นลักษณะแบบจตุรมุขสูงจากฐาน ถึงยอดแปดเมตร
เชื่อกันว่าเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ
หลังจากที่เมืองเชียงโสมชนะสงคราม เมืองฟ้าแดดได้ถูกทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู
จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาได้มีการ บูรณะ ชาวบ้านจะจัดให้มีงานเทศกาลเป็นประจำทุกปี
ในระหว่างเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็น ของหมู่บ้าน

ที่มา ; http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=yw2548&id=3



ภูเขาไฟฟูจิ



เมื่อพูดถึงภูเขาไฟฟูจิ เพื่อนหลายๆ คนก็คงรู้จักกันดี เป็นภูเขาที่มีความสูง 3,776 เมตรหรือ 12,389 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล ....นับว่าเป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นก็ว่าได้ เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว หลังจากระเบิดปะทุขึ้นในปี 1708 แล้วจะเกิดการปะทุขึ้นมาอีกเมื่อไร (หรือเปล่า) ก็ไม่ทราบค่ะ

ฟูจิ เป็นภูเขาที่มีสัณฐานสวย มีฐานขนาดใหญ่ที่เกือบเป็นวงกลมเส้นผ่าสูญกลางหลายสิบกิโลเมตร จะมีหิมะปกคลุมอยู่ตลอดทั้งปี จะหนาบางมากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่ละฤดูกาลค่ะ

และเขาว่ากันว่า...รูปทรงเมฆ บนยอดเขาฟูจิ เมื่อมองจากระยะไกล สามารถใช้ทำนายสภาพดินฟ้าอากาศได้เพราะความสูงที่ผ่านชั้นอากาศหลายระดับ

ในแต่ละปีจะมีเทศกาลปีนเขาฟูจิ คือเดือนกรกฏาคม สิงหาคม ซึ่งจะเป็นช่วงที่เหมาะกับการปีนเขา นอกนั้นก็จะมีหิมะและหนาวจัดจนเกินไป และในช่วงฤดูหนาวจะมีบางคนใช้ที่นี่เป็นที่ฆ่าตัวตายด้วยค่ะ ทำให้ทางการญี่ปุ่นต้องตรวจเข้มมาก แต่ถึงกระนั้นนะคะ..ในช่วงเทศกาลการปีนเขาฟูจิก็มีคนตายทุกๆ ปี ส่วนมากเกิดจากอาการหัวใจวายค่ะ ฉะนั้นผู้ที่จะไปพิชิตยอดเขานี้ต้องเตรียมตัวล่วงหน้าเป็นอย่างดี และที่ขาดไม่ได้ก็อ๊อกซิเจนกระป๋องด้วยค่ะ

ภูเขาไฟฟูจิ ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดยะมะนะชิ (Yamanashi) และชิซึโอคะ (Shizuoka) ทำให้บรรดาเมืองต่างๆ ที่อยู่รายรอบสามารถมองเห็นภูเขาไฟฟูจิได้ แล้วก็ยังสามารถมองเห็นได้จากโตเกียวและโยโกฮาม่าในวันที่ท้องฟ้าโปร่งด้วยเช่นกันค่ะ อีกทั้งยังมีห้าทะเลสาบที่อยู่รายรอบและเป็นจุดชมวิวที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวกันค่ะ (ขอยกข้อความจาก http://www.japan-guide.com มาเลยแระกันนะคะ)

ที่มา ; http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=star-crystal&month=02-2006&date=14&group=14&gblog=16

เพลงใจฉันเป็นของเธอ




เนื้อเพลง: ใจฉันเป็นของเธอ
อัลบั้ม:
ดู เนื้อเพลง ทุกเพลงของ บอย พีซเมกเกอร์

ฉันไม่รู้ว่าเป็นเพราะใคร โชคชะตาเป็นใจ
หรืออะไรทำให้เธอลาจาก คนที่รักกันมากมาย
ต้องพรากกันไปไกล ฉันก็คนจะทนอย่างไรไหว

ฉันไม่รู้จะทำอย่างไร เหมือนใจมันจะขาด
ชีวิตมันดูอ้างว้าง วังเวงไปทุกอย่าง
เหมือนคนที่เดียวดาย จมอยู่กับความหลัง
อยากให้รู้ฉันเสียใจ และปวดร้าวมากเพียงไหน

ใจของฉันมันเป็นของเธอ ไม่ว่านานเท่าไร
และมันจะเป็นของเธอตลอดไป
ใจของฉันมันเป็นของเธอ คนเดียวทั้งใจ
จะรอเธอ รักเธอจนตายใจเอย

ฉันไม่รู้ว่าเหตุผลใด ฟ้าข้างบนจงใจ
หรือว่าใครทำให้เราไกลกัน มันโหดร้ายจนเกินไป
ฉันไม่เคยเตรียมใจ ที่จะเสียเธอไปอย่างวันนี้

ฉันไม่รู้จะทำอย่างไร เหมือนใจมันจะขาด
ชีวิตมันดูอ้างว้าง วังเวงไปทุกอย่าง
เหมือนคนที่เดียวดาย จมอยู่กับความหลัง
อยากให้รู้ฉันเสียใจ และปวดร้าวมากเพียงไหน

ใจของฉันมันเป็นของเธอ ไม่ว่านานเท่าไร
และมันจะเป็นของเธอตลอดไป
ใจของฉันมันเป็นของเธอ คนเดียวทั้งใจ
จะรอเธอ รักเธอจนตายใจเอย

ใจของฉันมันเป็นของเธอ ไม่ว่านานเท่าไร
และมันจะเป็นของเธอตลอดไป
ใจของฉันมันเป็นของเธอ คนเดียวทั้งใจ
จะรอเธอ รักเธอจนตายใจเอย

ที่มา ; http://www.siamzone.com/music/thailyric/index.php?mode=view&artist=!!bacdc220bed5abe0c1a1e0a1cdc3ec&song=!!e3a8a9d1b9e0bbe7b9a2cda7e0b8cd



เรื่องง่ายๆที่ผู้ชายไม่รู้



เนื้อเพลง: เรื่องง่ายๆ (ที่ผู้ชายไม่รู้)
อัลบั้ม: True Story ความรัก / ผู้ชาย / ปลาย่าง
ดู เนื้อเพลง ทุกเพลงของ ปาน ธนพร แวกประยูร


สิ่งที่เธอได้เห็นบางวัน มุมที่ฉันไม่น่าชื่นชม
คนเจ้าน้ำตาคนเจ้าอารมณ์ ผู้หญิงเอาแต่ใจ

คอยพูดจาประชดประชัน คอยเจ้ากี้เจ้าการวุ่นวาย
ชอบทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ไม่รู้อะไรหนักหนา

โกรธไม่มีเหตุผลใดๆ ไม่ว่าใครเข้ามาพูดจา
หงุดหงิดทุกทีที่โทรเข้ามา มีใครคุยกับเธอ
ต้องคอยถามไปไหนเมื่อไร อยู่กับใครไม่มาให้เจอ
ต้องตอกต้องย้ำทุกคำนะเออ ไม่ไว้ใจเธอสักที

เมื่อเธอสงสัยในสิ่งที่ฉันทำ ขอตอบเธอด้วยคำถาม คำหนึ่งตรงนี้

หากไม่รักจะห่วงไหม จะหวงทำไมตอบฉันสิ
ที่ต้องระแวงอยู่ทุกนาที อย่าคิดว่ามันไม่เหนื่อยใจ
ผู้หญิงคนหนึ่งไม่มีเหตุผล แต่ก็ทำเพื่อใครสักคนด้วยใจ
ความรักอยู่เหนือคำว่าทำไม ทั้งที่เป็นแค่เรื่องง่ายๆ แต่ผู้ชายไม่เคยรู้เลย

สิ่งที่เธอได้เห็นบางวัน มุมที่ฉันไม่น่าชื่นชม
คนเจ้าน้ำตาคนเจ้าอารมณ์ ผู้หญิงเอาแต่ใจ

แต่อย่างน้อยผู้หญิงคนเดิม คนที่คอยเป็นตัววุ่นวาย
ก็เลือกจะรักและวางหัวใจ เอาไว้ที่เธอผู้เดียว

เมื่อเธอสงสัยในสิ่งที่ฉันทำ ขอตอบเธอด้วยคำถาม คำหนึ่งตรงนี้

หากไม่รักจะห่วงไหม จะหวงทำไมตอบฉันสิ
ที่ต้องระแวงอยู่ทุกนาที อย่าคิดว่ามันไม่เหนื่อยใจ
ผู้หญิงคนหนึ่งไม่มีเหตุผล แต่ก็ทำเพื่อใครสักคนด้วยใจ
ความรักอยู่เหนือคำว่าทำไม ทั้งที่เป็นแค่เรื่องง่ายๆ แต่ผู้ชายไม่เคยรู้เลย

หากไม่รักจะห่วงไหม จะหวงทำไมตอบฉันสิ
ที่ต้องระแวงอยู่ทุกนาที อย่าคิดว่ามันไม่เหนื่อยใจ
ผู้หญิงคนหนึ่งไม่มีเหตุผล แต่ก็ทำเพื่อใครสักคนด้วยใจ
ความรักอยู่เหนือคำว่าทำไม ทั้งที่เป็นแค่เรื่องง่ายๆ แต่ผู้ชายไม่เคยรู้เลย

ฉันรักเธอแค่เรื่องง่ายๆ แต่ทำไมเธอไม่รู้เลย

ที่มา ; http://www.siamzone.com/music/thailyric/index.php?mode=view&artist=!!bbd2b920b8b9bec320e1c7a1bbc3d0c2d9c3&song=!!e0c3d7e8cda7a7e8d2c2e62028b7d5e8bcd9e9aad2c2e4c1e8c3d9e929

30 Young แจ๋ว



30 Young แจ๋ว [ออกอากาศ : วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.45 น.]ผู้ดำเนิน รายการ :ปอ ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์/ ปราย ธนา อัมพุช/ กระเต็น วราภรณ์ สมพงษ์/ ดาว อภิสรา นุตยกุล

สีสันบันเทิง



ออกอากาศ : ออกอากาศทุกวัน เวลา 20.15 น.รู้เรื่องดารา สไตล์ เจิน แหวนแหวน หยาดทิพย์ ในสีสันบันเทิง

เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์



เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ [ออกอากาศ : วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00 น.]ผู้ดำเนินรายการ: สรยุทธ สุทัศจินดา/ สู่ขวัญ บูลกุล สรรหา สาระ ข่าวสารมากมาย ในช่วงเวลาสายๆ ก่อนมื้อเที่ยง

ข่าวพระราชสำนัก



ข่าวพระราชสำนัก [ออกอากาศ : ทุกวัน 20.00-20.15 น.]ผู้ดำเนินรายการ: สิทธิชาติ บุญมานนท์/ ศศิวรรณ เลิศวิริยะประภา/ ปิยณี เทียมอัมพร

โต๊ะข่าวบันเทิง



โต๊ะข่าวบันเทิง [ออกอากาศ : วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.00-11.30 น. ]ผู้ดำเนิน รารการ: เพชรี พรหมช่วย/ กิตติพันธุ์ นุตยกุล

เที่ยงวันทันเหตุการณ์



เที่ยงวันทันเหตุการณ์ [ออกอากาศ : วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.35-13.00 น.]ผู้ดำเนินรายการ: สายสวรรค์ ขยันยิ่ง/ กฤษฎิน สุวรรณบุปผา/ วิศาล ดิลกวณิช/บัญชา ชุมชัยเวทย์/ ชลพรรษา นารูลา

ก๊วนข่าวเช้าวันหยุด



ก๊วนข่าวเช้าวันหยุด [ออกอากาศ : วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 06.55-07.30 น.]ผู้ดำเนินรายรการ: กฤษณะ ไชยรัตน์/ ดร.สุขุม นวลสกุล

180 วินาทีข่าว



180 วินาทีข่าว [ออกอากาศ : จันทร์-ศุกร์13.30,14.30,15.00น.เสาร์ 13.40,15.00น.อาทิตย์ 13.30,15.00น.]
ผู้ดำเนินรายการ: นิชานันท์ รัตนถาวร/ ธนสร อมาตยกุล/ อรรินทร์ ยมกกุล

ข่าววันใหม่



ข่าววันใหม่ [ออกอากาศ : จันทร์-ศุกร์เวลา 00.30-01.45น./เสาร์เวลา 00.30-01.00น./อาทิตย์เวลา 01.30-02.00น.]ผู้ดำเนินรายการ: อริสรา กำธรเจริญ/ ชาญชัย กายสิทธิ์/ นานา ไรบีนา/ ธัญญะ วงศ์นาค/ ศศิวรรณ เลิศวิริยะประภา/ กฤษณะ ชัยรัตน์/ อรรินทร์ ยมกกุล

ผู้หญิงถึงผู้หญิง



ผู้หญิงถึงผู้หญิง [ออกอากาศ : วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30 น.]ผู้ดำเนินรายการ: พิมลวรรณ ศุภยางค์/ พัชรศรี เบญจมาศ/ มีสุข แจ้งมีสุข/ กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์

เรื่องเล่าเช้านี้



เรื่องเล่าเช้านี้ (2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน) เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเล่าข่าว ด้วยภาษาที่เป็นกันเองกับผู้ชม ผลิตโดย บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 06.00 - 08.30 น. ทางไทยทีวีสีช่อง 3 (เมื่อแรกเริ่ม ออกอากาศเพียงครึ่งชั่วโมง ในเวลา 06.30 - 07.00 น.) ถือเป็นรายการข่าวที่มีผู้ชมจำนวนมากรายการหนึ่งในปัจจุบัน

เกาะช้าง



เกาะช้างไม่ว่าจะฤดูหนาว ฤดูร้อน ฤดูฝน หรือฤดูไหนๆ น้ำทะเลสวยๆ หาดทรายขาวละเอียดของ "อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง" หรือที่ใครๆ เรียกกันจนติดปากว่า เกาะช้างน้อย อึ๋ย!! ไม่ใช่ "เกาะช้าง" ยังคงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่แสนจะฮอตฮิตติดลมบนอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ที่ใครนึกอยากจะไปพักผ่อนคลายเครียดคิดถึง เนื่องจากสามารถไปเที่ยวตลอดทั้งปี เพราะความสวยงามของแต่ละฤดูจะแตกต่างกันออกไป

เกาะช้างมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากเกาะภูเก็ต แถมยังมีเกาะเล็ก เกาะใหญ่ มากกว่า 52 เกาะ ให้เลือกสรรว่าจะไปนอนกินลมชมวิวสวยๆ ที่ไหน อีกทั้งบนเกาะช้างยังมีกิจกรรมต่างๆ ให้ทำแบบไม่มีเหงา แต่เดิมเกาะช้างไม่มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัย หากมีความสำคัญในฐานะที่เป็นท่าจอดเรือหลบลมมรสุม เป็นแหล่งเสบียงอาหาร และน้ำจืดโดยเฉพาะบริเวณอ่าวสลักเพชร หรืออ่าวสลัด เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่โจรสลัด ชาวจีนไหหลำ และญวน ปัจจุบันบนเกาะช้างมีประชาชนอาศัยอยู่ 8 หมู่บ้าน และมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 650 ตารางกิโลเมตร เฉพาะ "เกาะช้าง" มีเนื้อที่ถึง 268,125 ไร่ หรือประมาณ 429 ตารางกิโลเมตร

สภาพโดยรวมบนเกาะช้างนั้น มีพื้นที่กลางเกาะเป็นภูเขา และป่าดิบชื้น มีที่ราบอยู่ตามขอบเกาะก่อนถึงชายหาดของอ่าวต่างๆ ที่ราบเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าว สวนยางพารา และสวนผลไม้อื่นๆ เช่น เงาะ ทุเรียน ส้มโอ ฯลฯ ตลอดจนเปิดเป็นที่พักของนักท่องเที่ยว แต่ส่วนใหญ่แล้วพื้นที่ของเกาะช้างเป็นภูเขาสูง มีหินผาสลับซับซ้อน มีสภาพสมบูรณ์ เป็นป่าดงดิบเขา ยอดเขาที่สูงที่สุด ได้แก่ ยอดเขาสลักเพชร สูงถึง 744 เมตร (โห... สูงมากๆ เลยอ่ะ) รองลงมา ได้แก่ เขาจอมปราสาท และเขาหอม ซึ่งภูเขาเหล่านี้ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ ลำธารต่างๆ ที่ทำให้เกิดน้ำตกหลายแห่งบนเกาะนี้นั่นเอง

สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจบน "เกาะช้าง" ได้แก่...

หาดทรายขาว
ชายหาดที่แสนจะยาว แถมยังขาวสะอาดสมชื่อ อยู่ทางตอนใต้ของเกาะช้างใกล้กับอ่าวสลักเพชร มีลักษณะเป็นอ่าวที่มีหาดทรายทอดยาว นักท่องเที่ยวสามารถลงเล่นน้ำได้ตลอดทั้งแนว หรือจะเช่ารถจักรยาน มอร์เตอร์ไซด์ ขี่เล่นก็ไม่ว่ากัน เพราะที่นี่มีถนนราดยางอย่างดี ขนานยาวไปกับชายหาด เชื่อมถึงหาดอื่นๆ มีบังกะโลตั้งอยู่หลายแห่ง มีถนนรอบเกาะตัดชิดหาดมากที่สุด ยามค่ำคืนปรากฏแสงสีของร้านอาหาร ผับ บาร์ พร้อมที่พักราคาประหยัดเพียบ !!

หาดคลองพร้าว
หาดคลองพร้าวอยู่ถัดจากหาดทรายขาว มีความยาวต่อเนื่องไปจนถึงหาดไก่แบ้ ตอนเหนือสุดของอ่าวคลองพร้าวติดกับแหลมไชยเชษฐ์ ซึ่งมีแหลมหิน มีทัศนียภาพสวยงาม แต่ไม่สามารถเล่นน้ำได้ มีบังกะโลให้เช่าพักหลายแห่ง มีห้องพักที่ได้มาตรฐาน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม
เป็นหาดที่ยาวและมีความลาดมาก สามารถทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาริมหาดได้ เพราะมีหน้าหาดที่กว้าง และสะอาด ทางตอนเหนือสุดของเกาะ เป็นที่ตั้งของแหลมไชยเชษฐ์ ซึ่งเป็นแหลมหินแปลกตา (เห็นแล้วชวนแปลกใจ) เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามมากหาดหนึ่งบนเกาะช้าง

อ่าวคลองสน
เป็นอ่าวขนาดใหญ่ อยู่ทางเหนือของเกาะฝั่งตะวันตก มีหาดทรายขาวละเอียด ชายหาดกว้างยาวดูสวยงามมากๆ เหมาะแก่การเล่นน้ำเป็นที่ซู้ด... แถมมีความเป็นส่วนตัว ผู้คนไม่พลุกพล่านอีกด้วย และเป็นที่ตั้งของชุมชนบ้านคลองสน ใกล้บริเวณอ่าวมีแนวปะการังใต้น้ำ (แหะๆๆ ชักอยากไปแล้วสิ)

หาดไก่แบ้
หาดไก่แบ้ เป็นหาดที่ยาวต่อมาจากหาดคลองพร้าว นับว่าเป็นหาดยอดนิยมหาดหนึ่งของนักท่องเที่ยว เพราะสามารถลงเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย (สบายใจหายห่วง) มีบังกะโลราคาประหยัดให้เช่าหลายแห่ง บางแห่งมีจักรยานเสือภูเขาให้เช่า หน้าหาดมองเห็นเกาะหยวก เกาะมันนอกและเกาะมันใน

อ่าวใบลาน
อยู่ถัดขึ้นไปจากหาดไก่แบ้มีทางเท้าตัดผ่านภูเขาใช้เวลาเดินเท้าจากหาดไก่แบ้ประมาณ 1 ชั่วโมง ระหว่างทางสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของทิวเขา อ่าวใบลานมีลักษณะเป็นหาดทรายยาวเงียบสงบเหมาะแก่การเล่นน้ำ และพักผ่อนมากๆ เพราะเงียบสงบ

หาดบางเบ้า - หมู่บ้านประมงบางเบ้า
หาดบางเบ้า เป็นหมู่บ้านประมงที่น่าสนใจ บ้านพักอาศัยปลูกโดยการปักเสาลงในทะเล มีสะพานเชื่อมติดต่อถึงกันตลอดแนว (โห... ชักอยากเห็นแล้วสิ) บรรพบุรุษของคนที่นี่ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายจากชาวสลักเพชร ดำรงชีวิตเรียบง่ายด้วยการทำประมงขนาดเล็กชายฝั่ง เป็นแหล่งปลาหมึกหอมชุกชุม นอกจากนั้นที่นี่ยังเป็นจุดที่อยู่ปลายเกาะช้าง มีแหล่งปะการังใต้น้ำ มีโปรแกรมแพ็คเก็จทัวร์ไปยังเกาะต่างๆ เช่น เกาะขาม เกาะหมาก เกาะรัง เกาะเหลายา ฯลฯ ให้เลือกมากมาย

นักท่องเที่ยวที่นิยมมาทานอาหารทะเลสดๆ ราคาถูกที่นี่ บริเวณหมู่บ้านตลอดสองข้างทางยังมีของที่ระลึกจากชาวบ้านวางเรียงราย เพื่อให้นักท่องเที่ยวเลือกช็อปเลือกชมกันอีกด้วย โดยเฉพาะกะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง ปลาเค็ม ของขึ้นชื่อ

น้ำตกธารมะยม
น้ำตกธารมะยม อยู่หลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กช.1 (ธารมะยม) ไปประมาณ 400 เมตร ปากทางเข้าอยู่ฝั่งตรงข้ามกับที่ทำการหน่วยฯ ทางเดินเข้าเป็นทางปูน ผ่านสวนผลไม้ของชาวบ้าน เดินผ่านสวนเข้าไปประมาณ 500 เมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง มี 4 ชั้น ลักษณะเป็นธารน้ำไหลผ่านมาเป็นชั้นๆ ตามร่องหินแกรนิตสีดำ มีหน้าผาสูงชันจนเกือบตั้งฉากบริเวณโดยรอบเป็นป่าดงดิบ อากาศร่มเย็นสบาย เหมาะแก่การตั้งแคมป์และเล่นน้ำตก

ที่สำคัญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6 เคยเสด็จประพาสมายังน้ำตกนี้ โดยมีพระปรมาภิไธยย่อ จปร. และ วปร. สลักอยู่ที่หน้าผาน้ำตกชั้นบน นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงยังมีหมู่บ้านชาวประมงที่มีสภาพป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์และเป็นป่าชายเลนที่ใหญ่ที่สุดของเกาะช้าง คือ หมู่บ้านสลักคอก ซึ่งเป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตดั้งเดิมที่น่าสนใจ

ที่มา ; http://hilight.kapook.com/view/19051

ภูสอยดาว


ภูสอยดาว ทุ่งดอกไม้แสนสวยยามฤดูฝน ภูสอยดาวเป็นอุทยานแห่งชาติ แต่เดิมเป็นวนอุทยานภูสอยดาว จัดตั้งเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 โดยครอบคลุมพื้นที่ 48,962 ไร่ ในท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้สำรวจพื้นที่ป่าเพิ่มเติมท้องที่อำเภอบ้านโคก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี 2537 โดยครอบคลุมพื้นที่ 125,110 ไร่ หรือ 199 ตารางกิโลเมตร เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว

สภาพทั่วไป
ภูสอยดาวมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำปาด มีเทือกเขาภูสอยดาวทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้กั้นพรมแดนระหว่างไทย-ลาว ยอดภูสอยดาวมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,102 เมตร ( อยู่ในเขตประเทศลาว ) สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยชนิดของป่าสนเขา ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง จึงทำให้มีลักษณะภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี ( ภูสอยดาวในเขตไทย หมายถึงลานสนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูสอยดาว อยู่ที่ระดับความสูง 1,633 เมตร )

แต่ก่อนนั้นเคยมีคนเปรียบเทียบภูสอยดาวเป็นภูกระดึง2 ทั้งนี้เพราะว่าสภาพพื้นที่และป่าสนที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่สิ่งที่ภูสอยดาวต่างกับภูกระดึงและเด่นกว่าคือสภาพป่าสนที่เป็นเนินสลับซับซ้อนให้บรรยากาศของการเดินเที่ยวบนภูได้มากกว่า อีกทั้งระยะทางการเดินเที่ยวบนภูยังไม่ไกล สามารถเดินชมโดยรอบเพียงวันเดียว แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ บนภูอยู่ไม่ไกลกันไม่ว่าจะเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกซึ่งอยู่ห่างจุดตั้งแคมป์เพียง 10 นาที จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นอยู่ห่างเพียง 30 นาทีโดยประมาณ ทุ่งดอกไม้มีอยู่ทั่วไปบนภูและมีมากที่สุดบริเวณจุดกางเต็นท์ ทุ่งดอกไม้บนภูมีหลายชนิดผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกดอกให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปชื่นชมตลอดฤดูฝนจนถึงช่วงต่อฤดูหนาว

ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิสูงสุด 35 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส

ที่มา ; http://www.tourdoi.com/doi/phoosoidao/general.htm

ผู้ชนะสิบทิศ


ผู้แต่ง..โชติ แพร่พันธุ์ ( ยาขอบ )

ลักษณะคำประพันธ์ ร้อยแก้ว

คุณค่าแง่คิด คุณค่าของผู้ชนะสิบทิศ นอกจากความเริงรมย์ อรรถรสทางภาษาที่ไม่เหมือนใครมีความไพเราะงดงามยังเป็นค่าควรเมือง การสรรค์สร้างผลงานนี้แม้จะมีเค้าของ
วรรณคดีดั้งเดิม แต่การพลิกปลายปากกาในอีกมุมใหม่เป็นเยี่ยงและอย่างของการอนุรักษ์
กับพัฒนาที่ทำอย่างสมน้ำสมเนื้อ
จุดประสงค์ผู้แต่ง เรื่องผู้ชนะสิบทิศนี้มีความยาวถึง ๘ เล่ม เป็นนวนิยายอิงพงศาวดารที่ยาขอบเขียนจากข้อความในพระราชพงศาวดารเพียง ๗ บรรทัด เป็นเรื่องของบุเรงนองกษัตริย์นักรบของพม่า

เรื่องย่อ ผู้ชนะสิบทิศ นิยายที่มีเนื้อหาประโลมโลกขนาดยาว เริ่มด้วยเค้าความจริงจาก
ประวัติศาสตร์พม่า มหาราชพม่าพระองค์หนึ่งมีพื้นตระกูลกำเนิดสามัญชน จากนั้นสร้าง
เรื่องให้แม่ของตัวเอกคือ จะเด็ด เป็นพระนมลูกหลวง จึงพลอยได้สมาคมกับพระราชวงศ์
นับแต่ร่วมน้ำนมกับมังตราราชบุตรและตะละแม่จันทรา พระราชธิดา ต่อมาเป็นดั่งดวงใจ
จะเด็ด ฉากของเรื่องมีสามเมืองใหญ่ที่ถูกผูกเหตุการณ์เกี่ยวเนื่องกัน ด้วยการเมือง การ
รบ ความแค้นและความรัก คือตองอู เมืองพม่าอันมีจะเด็ดเป็นหนึ่งในตองอู กับเมือง
แปรและเมืองหงสาวดีอันเป็นเมืองมอญ ตองอูนั้นสร้างด้วยสามเกลอร่วมใจกัน คือ
มังสินธุ ขุนพลผู้ออกบวช ภายหลังเป้นมหาเถรกุโสดออาจารย์ของจะเด็ด, ทะกะยอดิน
ขุนพลผู้พอใจเป็นขุนวังและเมงกะยินโย ขุนพลผู้ยกเศวตฉัตรเหนือตองอู มีพระราชธิดา
เกิดแต่พระอัครมเหสีนามว่า ตะละแม่จันทรา มีพระราชโอรสเกิดด้วยพระมหาเทวีเป็นรัช
ทายาทนามว่า มังตรา ส่วนจะเด็ดเป็นลูกคนปาดตาลที่แม่ชื่อ นางเลาชี ซึ่งมหาเถรกุโสดอ
ถวายคำแนะนำกษัตริย์ตองอู รับเป็นพระนมของมังตราและจันทรา

ฝ่ายเมืองแปร หญิงผู้เป็นแสนรักของจะเด็ดอีกคนเกิดที่นี่ นามตะละแม่กุสุมา
พระธิดาพระเจ้าเมืองแปรหรือพระเจ้านรบดี พระเจ้าแปรเป็นพระอนุชาของผู้ครอง
หงสาวดีคือพระยาราม มีราชบุตรชื่อสอพินยา ซึ่งมีบริวารนามว่าไขลู ตัวละครนี้ ยาขอบ
รักที่สุด เพราะจะสร้างพระเอกอย่างจะเด็ดเท่าไร สร้างได้ไม่มากนัก แต่จะสร้างคนชั่วช้า
อย่างไขลูสร้างได้ยาก ตัวละครในผู้ชนะสิบทิศ มีเป็นอันมากและเวลาในเรื่องกินเวลายาว
กระนั้น การที่คนอ่านตราตรึงไม่เพียงบทของตัวละครเอก ยังแผ่ใจจดจำตัวประกอบรองๆ
ไม่สับสนหลงลืม เพราะผู้ประพันธ์กำหนดบทบาทและบุคลิกภาพของตัวละครชัดเจน กิน
ใจเป็นกระพี้ที่สำคัญต่อแก่นประสมประสานเป้นองค์เอกภาพเดียวกัน

จะเด็ดเจ้าชู้และเป็นชายชาตรีลูกคนธรรมดา เกือบจะพิมพ์เดียวกับขุนแผน
ขณะที่ขุนแผนใช้เวทมนตร์และวิ่งหาความรัก ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตรักโดยเฉพาะ
ชีวิตครอบครัว ส่วนบทบาทของขุนแผนในทางสังคมก็เพียงขุนนางชาวบ้าน ผู้จงรักภักดี
แต่จะเด็ดหนุ่มรูปงามคารมดี มิได้ใช้เวทมนตร์ใด หากกิริยาวาจานั้นกำใจทั้งสาวๆ ตัวละคร
และทั้งคนอ่าน แม้ผู้หญิงตามปกติไม่เห็นใจชายเจ้าชู้ ทว่าจะเด็ดดูว่าเป็นข้อยกเว้น เพราะ
เคลิ้มตนด้วยความอยากจะเป็นตะละแม่สักนางหนึ่งเมื่อจะเด็ดอ้อนรำพัน "ข้าพเจ้ารักจันทรา
ด้วยใจภักดิ์ แต่รักกุสุมาด้วยใจปอง" ซึ่งหัวใจจะเด็ดยังกว้างเหมือนมหาสมุทรที่ไม่เลือก
เรือสำหรับหญิงอื่นๆ อีกด้วย ในความเป็นสามัญชนของจะเด็ดยังแตกต่างจากขุนแผน
ที่เป็นเพียงข้าผู้ภักดีในฐานะขุนนาง ทว่าจะเด็ดไม่เพียงเด็ดดอกฟ้าโดยเป็นสวามีพระพี่
นางของมังตรา หากสิ้นมังตรายังขึ้นเป็นจอมคนของทั้งแผ่นดิน ผู้ชนะสิบทิศ

ที่มา ; http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=noon7777&topic=8&Cate=12

สุริโยไท


เรื่องย่อภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท ได้พลิกฟื้นประวัติศาสตร์อยุธยาช่วงต้น โดยลำดับเหตุการณ์แต่ครั้ง รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ( พ.ศ. 2034 - พ.ศ. 2072 ) ก่อนมายุติลงตรงมหายุทธสงครามศึก ตะเบงชเวตี้ ( พ.ศ.2091 ) ครอบคลุมระยะเวลารวมแล้ว 57 ปี โดยประมาณ เหตุการณ์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นั้นเป็นช่วงสมัยที่ราชอาณาจักรอโยธยา มีเจ้าเหนือหัวครองราชย์ถึง 2 พระองค์ หนึ่งนั้นคือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งทรงครองราชย์อยู่ยังราชธานีฝ่ายใต้ อันได้แก่กรุงอโยธยาศรีรามเทพนคร ส่วนอีกหนึ่งนั้นเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระรามาธิบดีทรงพระนามว่าพระอาทิตยา ครองราชย์อยู่ยังเมืองพระพิษณุโลกอันเป็นราชธานีฝ่ายเหนือ พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงสืบสายสันตติวงศ์มาแต่วงศ์สุพรรณภูมิ

ราชอาณาจักรอโยธยาครั้งนั้น หยัดยืนอยู่ได้ก็ด้วยอาศัยกำลังของเจ้าราชนิกุลที่สืบสายมาจากราชวงศ์สำคัญ 4 ราชวงศ์ด้วยกัน อันได้แก่ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัยเดิม และราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ที่เคยเป็นใหญ่ในอาณาจักรแดนใต้แห่งคาบสมุทรไทย ถึงแม้ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เจ้านายในราชวงศ์สุพรรณภูมิจะทรงครองความเป็นใหญ่ในแผ่นดินอโยธยาทั้งเหนือใต้ แต่ความมั่นคงทางอำนาจนั้นยังจำต้องพึ่งพิง กำลังสนับสนุนของเหล่าราชนิกุลที่เหลือ ครั้งนั้นแผ่นดินอโยธยาฝ่ายเหนือ อันมีเมืองพระพิษณุโลกเป็นราชธานีปรากฎเจ้านายในราชวงศ์พระร่วงที่สำคัญอย่างน้อยสองพระองค์ หนึ่งคือพระสุริโยไทผู้เป็นพระธิดาของออกญาศรีสุรินทร์ อีกผู้หนึ่งคือขุนพิเรนทรเทพเป็นพระญาติพระสุริโยไท มีศักดิ์เป็นพระเชษฐาแต่มิได้ร่วมสายโลหิตเดียวกัน เจ้านายสายวงศ์พระร่วงทั้งสองเจริญวัยมาด้วยกัน ครั้นขึ้นวัยแรกรุ่นเป็นหนุ่มสาวต่างก็มีใจปฏิพัทธ์แก่กันฉันท์คนรัก กระนั้นก็ดีพระสุริโยไทหาได้ออกเรือนไปกับขุนพิเรนทรเทพไม่ เพราะพระนางจำต้องอภิเษกสมรสกับพระเฑียรราชา ผู้รั้งตำแหน่งพระเยาวราชแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระเฑียรราชาผู้นี้เป็นโอรสในสมเด็จพระอาทิตยาผู้ครองเมืองพระพิษณุโลกอยู่ขณะนั้น

การอภิเษกสมรสระหว่างพระสุริโยไทกับพระเฑียรราชาโดยนัยหนึ่งเป็นการกระชับไมตรีทางการเมือง ระหว่างราชนิกุลข้างสุพรรณภูมิ และข้างพระร่วงให้ยั่งยืนมั่นคงขึ้น เหตุการณ์บ้านเมืองเริ่มผันแปรเสื่อมถอย เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2072 อันเป็นปีเดียวกันกับที่ดาวหางฮัลเลย์ปรากฎขึ้น การสวรรคตครั้งนั้นเป็นเหตุแห่งการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินทั้งฝ่ายใต้และฝ่ายเหนือ กล่าวคือพระอาทิตยาทรงเสด็จจากเมืองพระพิษณุโลกลงมาครองกรุงอโยธยา เถลิงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ส่วนราชธานีฝ่ายเหนือที่ว่างลงนั้นทรงโปรดให้พระชัยราชา ผู้เป็นราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ขึ้นไปครองแทน ครั้งนั้นพระเฑียรราชาผู้ราชโอรสพระอาทิตยา หรือสมเด็จหน่อพุทธางกูร จำต้องนำพระสุริโยไทโดยเสด็จพระราชบิดาลงมาประทับยังวังชัยในกรุงศรีอยุธยา พระเฑียรราชายังคงรั้งตำแหน่งพระเยาวราชดังเดิม

การสืบมาได้ปรากฎไข้ทรพิษระบาดหนัก เป็นเหตุให้สมเด็จหน่อพุทธางกูรเสร็จสวรรคตเพราะภัยร้ายนั้น บ้านเมืองจึงเกิดเป็นทุรยศ ด้วยพระรัฎฐาธิราชกุมารพระราชโอรสในสมเด็จหน่อพุทธางกูรผู้สืบราชสมบัติต่อมานั้นมีพระชนมายุเพียง 5 พรรษา เป็นเหตุให้กิจการงานเมืองต้องตกอยู่ภายใต้เงื้อมมือของเจ้าพระยายมราชผู้มีศักดิ์เป็นบิดาพระอัครชายาผู้ให้กำเนิดพระรัฎฐาธิราช เจ้าพระยายมราชเป็นคนคดฉ้อราษฎร์บังหลวง จนไพร่บ้านพลเมืองเดือดร้อนกันไปทั่ว ขณะที่แผ่นดินอยุธยาลุกเป็นไฟนั้น แผ่นดินพุกามประเทศฝ่ายพม่าได้ปรากฎกษัตริย์หนุ่มผู้เข้มแข็งนามว่า ตะเบงชเวตี้ กษัตริย์พม่าพระองค์นี้ได้รวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยขึ้นเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ พระชัยราชาผู้ครองราชธานีฝ่ายเหนือเห็นมิเป็นการ จึงนำกำลังแต่เมืองเหนือลงมาปราบยุคเข็ญในพระนครหลวง และปราบดาภิเษกสถาปนาพระองค์เอง ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ใหม่แทนที่พระรัฎฐาธิราช ซึ่งถูกสำเร็จโทษไปด้วย เพราะพระชัยราชามิทรงประสงค์จะละไว้ให้เป็นเสี้ยนหนาม ถึงแม้ราชอาณาจักรอยุธยาจะมีอันผลัดเปลี่ยนแผ่นดินติดต่อกันมาถึง 4 รัชกาล แต่อำนาจนั้นก็ยังคงตกอยู่กับเจ้านายในราชวงศ์สุพรรณภูมิดังเดิม

สมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้าทรงเป็นกษัตริย์นักรบ ในรัชกาลของพระองค์ได้ทรงทำศึกมีชัยเหนือพม่าที่เมืองเชียงกราน อันเป็นเมืองในขอบขัณฑสีมาอโยธยาด้านฝั่งตะวันตก พระองค์ยังทรงนำทัพขึ้นไปรบถึงเมืองเชียงใหม่ ขณะเมื่อพระองค์ทรงออกรบไปในแดนต่างๆ นั้น จะทรงสถาปนาพระเฑียรราชาขึ้นที่อุปราชดูแลราชการแผ่นดินอโยธยาต่างพระเนตรพระกรรณเสมอมา ต่อมาพระชัยราชาธิราชทรงได้เจ้านายข้างวงศ์

อู่ทองมาเป็นพระสนมเอก มีพระนามปรากฎในพระราชพงศาวดารว่า ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ผู้นี้ ไม่เพียงถือโอกาสในคราวที่พระสวามีติดศึกต่างแดน ลอบมีสัมพันธ์สวาทกับพันบุตรศรีเทพ ผู้เป็นบุตรเจ้าเมืองศรีเทพซึ่งเป็นเจ้านายสายอู่ทอง พระนางยังคบคิดกับชู้รักซึ่งภายหลังได้รับอวยยศขึ้นเป็นขุนชินราช ลอบวางยาพิษพระชัยราชาธิราช ด้วยมุ่งหวังจะชิงบัลลังก์อโยธยาคืนมาจากเจ้านายสายสุพรรณภูมิ ท้าวศรีสุดาจันทร์และขุนชินราชยังลอบวางยาพิษพระยอดฟ้า พระราชโอรสในพระชัยราชาธิราช ภายหลังจากที่พระองค์เสวยราชสมบัติ สืบต่อจากพระราชบิดาได้ไม่ทันนาน (ไม่เกิน2 ขวบปี , พ.ศ.2089-พ.ศ.2091) ท้ายที่สุดท้าวศรีสุดาจันทร์ได้สถาปนาขุนชินราช ขึ้นเป็นกษัตริย์อโยธยา เถลิงพระนามว่าขุนวรวงศาธิราช นับเป็นกษัตริย์พระองค์แรกและพระองค์เดียวแห่งสายราชนิกุลอู่ทอง ที่ได้กลับขึ้นมาเป็นใหญ่อีกครั้ง หลังจากที่ได้สูญเสียอำนาจให้กับเจ้านายฝ่ายสุพรรณภูมิไปเนิ่นนานปี

ในช่วงการผลัดเปลี่ยนอำนาจนับแต่พระชัยราชาธิราชถูกลอบปลงพระชนม์ พระเฑียรราชาผู้รั้งตำแหน่งอุปราชและผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน จำต้องหลบลี้ราชภัยด้วยการออกบวช ข้างพระสุริโยไทนั้นไม่เพียงต้องคอยระแวดระวังภัยให้พระสวามี พระราชโอรสและพระราชธิดา ซึ่งต่างยังทรงประทับอยู่ในวังชัย แต่ยังทรงพยายามคิดการโค่นล้มอำนาจขุนวรวงศาและแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ เป็นการลับเพื่อพลิกฟื้นบ้านเมืองให้กลับคืนเป็นปกติสุขตามเดิม พระนางได้ลอบติดต่อขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งพระนางเคยมีสัมพันธ์ใกล้ชิดมาแต่วัยเยาว์ จนท้ายที่สุดสามารถเหนี่ยวรั้งให้ขุนพิเรนทรเทพรวมกำลังพลฝ่ายเหนือ สมทบกับขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หานอกราชการ และหลวงศรียศ โค่นอำนาจขุนวรวงศาลงได้สำเร็จ คณะผู้ก่อการได้ร่วมกันสถาปนาพระเฑียรราชาขึ้นเป็นกษัตริย์อโยธยา เถลิงพระนามสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เป็นเหตุให้อำนาจหวนกลับมาตกอยู่ในมือเจ้านายราชวงศ์สุพรรณภูมิอีกครั้งหนึ่ง ข่าวการแย่งชิงอำนาจกันภายในราชอาณาจักรอโยธยา ล่วงรู้ไปถึงหูพระเจ้าตะเบงชเวตี้ ซึ่งขณะนั้นได้ทรงรวบรวมแผ่นดินพุกามขึ้นเป็นปึกแผ่นมั่นคงแล้ว และได้ย้ายราชธานีจากเมืองตองอูลงมาประทับยังกรุงหงสาวดีซึ่งเป็นราชธานีเดิมของกษัตริย์มอญ พระเจ้าตะเบงชเวตี้เห็นได้จังหวะเหมาะจึงรวบรวมไพล่พลเมืองตองอู เมืองแปร เมืองหงสาวดีและหัวเมืองมอญน้อยใหญ่ ผสมทหารโปรตุเกสผู้ชำนาญการใช้ปืนไฟ จัดเป็นกองทัพใหญ่ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ จนสามารถนำกำลังเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ได้สำเร็จ

ศึกพม่ารามัญครั้งนั้นใหญ่หลวงนัก สมเด็จพระมหาจักพรรดิทรงนำกำลังออกปะทะพม่า จนรบกันเป็นโกลาหลในทุ่งมะขามหย่อง กษัตริย์อโยธยาทรงกระทำคชยุทธด้วยตะโดธรรมราชาเจ้าเมืองแปร ครั้งนั้นช้างพระที่นั่งเสียหลักหันหลังหนีช้างข้าศึก พระสุริโยไททรงมีพระกตัญญูภาพ ขับพระคชาธารพลายทรงตะวันเข้าขวางช้างพระเจ้าแปร และทรงต่อรบป้องกันพระสวามีจนสิ้นพระชนม์ ภาพยนตร์ได้มายุติลงตรงเหตุการณ์ครั้งสำคัญครั้งนั้นในประวัติศาสตร์

ภาพยนตร์สุริโยไทไม่เพียงมุ่งชี้ชัดถึงพิบัติภัยอันเกิดแต่การแตกสามัคคีในหมู่คนไทย แต่ยังได้เปิดมิติประวัติศาสตร์ให้เห็นถึงบทบาทของสตรีสูงศักดิ์ในราชสำนัก ซึ่งล้วนมีบทบาทสำคัญไม่แพ้ชายในการขับเคลื่อนกงล้อประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันให้เกิดเหตุพลิกผันผลัดแผ่นดิน ไปจนถึงการพลีชีพกลางสมรภูมิศึกเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชของราชอาณาจักร

ที่มา ; http://www.geocities.com/schwalit/suritotai.htm

บางระจัน


บางระจันพ.ศ ๒๓๐๘ เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ หรือ พระเจ้าบรมโกศ เสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. ๒๓๐๑ทรงมอบราชสมบัติให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ หรือพระนามที่เรามักเรียกว่า กรมขุนพรพินิต แต่เมื่อครองราชสมบัติได้ ๑๐ วันก็ทรงถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ซึ่งเป็นพระเชษฐาธิราชของกรมขุนพรพินิต ทรง พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ หรือที่เรียกกันว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ หรือสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศมิได้ทรงพระปรีชาสามารถในงานการปกครองบ้านเมือง พระอุปนิสัยส่วนพระองค์ก็ไม่ทรงเข้มแข็งเด็ดขาด ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันจำเป็นที่พระเจ้าแผ่นดินจะพึงมีทำให้บรรดาข้าราชบริวาร และเหล่าเจ้านายทั้งหลายเกิดความระส่ำระส่าย ต่างคิดเอาใจออกห่าง ทั้งแบ่งพรรคแบ่งพวกไม่เกิดความสามัคคีในหมู่ราชการ ไม่เต็มใจปฏิบัติงานราชการ ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๓๐๒ พระเจ้าอลองพญามังลอง และมังระราชบุตร ยกกองทัพมาตีเมืองทวาย มะริด และตะนาวศรีซื่งเป็นของไทยในสมัยนั้น( ปัจจุบันเมืองทั้ง ๓ เป็นเมืองของสหภาพพม่าอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของไทยใกล้จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ) สมเด็จพระเจ้าเอกทัศโปรดให้กองทัพไทย ออกไปป้องกันถึง ๓ กองทัพ แต่ก็แตกพ่ายกลับพระนครทั้งสิ้น ทางฝ่ายพม่าเมื่อเห็นไทยแตกพ่ายก็ได้ใจเร่งยกทัพล่วงเข้ามาในเขตไทย จนกระทั่งมาตั้งทัพหลวงที่เมืองสุพรรณบุรี ครั้งนั้นบรรดาข้าราชการและราษฎรต่างพากันไปกราบทูลวิงวอน เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตให้ทรงลาผนวชออกมาช่วยป้องกันรักษาพระนคร เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตทรงลาผนวชออกมารักษาพระนครให้แข็งขันกว่าเดิม ทรงส่งกองทัพออกไปตั้งรับข้าศึก ถึงกระนั้นก็ตามกองทัพไทยก็แตกพ่ายทุกทัพ ด้วยข้าราชการมิได้ปฎิบัติราชการสงครามอย่างแท้จริง พม่าสามารถยกเข้าถึงชานกรุงศรีอยุธยา ใชัปืนใหญ่ระดมยิง พระราชวัง เผอิญพระเจ้าอลองพญามังลอถูกรางปืนแตกต้องพระองค์ประชวร กองทัพพม่าจึงจำต้องยกกลับไป ซึ่งต่อมาพระเจ้าอลองพญามังลอก็ถึงแก่สวรรคต มังลอราชบุตรขึ้นเป็นกษัตริย์ในปี พ.ศ. ๒๓๐๗ พระเจ้ามังละเห็นว่าครั้งที่แล้วต้องยกทัพกลับเพราะพระเชษฐาประชวร จึงยังตีกรุงศรีอยุธยาไม่แตก จำต้องยกทัพไปอีกครั้ง ปี พ.ศ. ๒๓๐๘ พระเจ้ามังระมีบัญชาให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพใหญ่นำไพร่พล๑๕,๐๐๐ คนยกทัพเข้ามาทางใต้ ส่วนทางเหนือให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพใหญ่นำไพร่พลประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน เคลื่อนกองทัพออกจากเมืองเชียงใหม่ กองทัพของมังมหานรธายกมาทางใต้เข้าตีเมืองทวายเมื่อตีได้แล้ว ก็เลยไปตีเมืองมะริดและเมืองตะนาวศรีของไทยด้วย พม่าได้ใจยกล่วงต่อไปทางเมืองกระ พม่าเผาเมืองชุมพร ตีเมืองปะทิวเมืองกุย ตลอดจนถึงปราณ แตกทั้ง ๓ เมือง มังมหานรธาส่งทัพหน้าเข้ามาทางกาญจนบุรีในเดือน ๗ ปีนั้นปะทะกับกับทัพพระยาพิเรนทรเทพ ที่ตั้งรอทัพพม่าอยู่ แต่ทัพไทยแตกพ่าย พม่ายกทัพเข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลบ้านลูกแก ฆ่าฟันลูกค้าที่มาจอดเรืออยู่แถบนั้นล้มตายเป็นอันมาก จากนั้นได้เข้ามาตั้งค่าย ณ ตอกระออมและดงรังหนองขาว ให้ไพร่พลต่อเรือรบเรือไล่อยู่ ณ ที่นั้น แล้วจัดทัพแยกไปตีเมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี ด้านเนเมียวสีหบดียกทัพจากทางเหนือเคลื่อนลงใต้ตีหัวเมืองต่างๆลงมา ทางกรมการเมืองเหนือมีใบบอกลงมาว่า ทางเหนือเนเมียวสีหบดีส่งทัพหน้าลงมาตั้งที่กำแพงเพชร ทำการต่อเรือรบ เรือลำเลียงพลตลอดจนสะสมเสบียงอาหาร สมเด็จ พระเจ้าเอกทัศโปรดให้เจ้าพระยาพิษณุโลก ยกทัพไปตีข้าศึกในเดือน ๗ ทัพหน้าของพม่าก็ยกมาจากกำแพงเพชรมาตั้งค่ายที่เมืองนครสวรรค์ เดือน ๑๑ เนเมียวสีหบดียกจากเชียงใหม่มาทางด่านสวรรคโลก ตีเมืองต่างๆ เรื่อยมาจนถึงสุโขทัย ได้เมืองสุโขทัยแล้วตั้งทัพมั่นอยู่ในเมือง เจ้าพระยาพิษณุโลกยกทัพไปช่วย แต่เกิดเหตุจลาจลที่เมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาพิษณุโลกจึงจำต้องยกทัพกลับไปจัดการบ้านเมือง เนเมียวสีหบดีรบกับไทยที่เมืองสุโขทัยจนถึงเดือนยี่ จึงได้ยกไปสมทบกับทัพหน้าที่กำแพงเพชร ในระยะแรกที่ฝ่ายไทยได้ทราบข่าวการรุกรานของพม่าและต่างเห็นว่าพม่าต้องยกมาตีไทยแน่นอน จึงได้ตระเตรียมทัพไว้เพื่อรับมือ แต่การวางแผนรับมือทัพพม่ากลับเป็นไปโดยผิดพลาดอย่างมหันต์ ตำราพิชัยสงครามโบราณ มักจะกล่าวไว้ในบทที่ว่าถึงความตื้นลึกหนาบางว่า " ให้ศัตรูเป็นฝ่ายเปิดเผย ส่วนเราไม่สำแดงร่องรอยให้ประจักษ์ กระนี้ฝ่ายเรารวม แต่ศัตรูแยก เรารวมเป็นหนึ่ง ศัตรูแยกเป็นสิบ เท่ากับเราเอาสิบเข้าตีหนึ่ง เมื่อกำลังฝ่ายเรามากแต่ศัตรูน้อย การที่เอากำลังมาจู่โจมกำลังน้อย สิ่งที่เราจะจู่โจมกับข้าศึกก็ง่ายดาย " การตั้งรับของกองทัพไทยที่วางแผนไว้รับมือทัพพม่านั้น กลับทำในทางตรงกันข้ามกับหลักในพิชัยสงคราม โดยไทยเราให้แยกกองทัพออกไปรักษาพระนครโดยรอบทิศตามหัวเมืองต่างๆ ทำให้กำลังในแต่ละกองลดน้อยลงมีรายละเอียดพอจะสรุปได้ ตามนี้คือ ขั้นแรก ให้เกณฑ์ทหารออกไปรักษาด่าน แบ่งกองทัพเรือออกเป็น ๙ กอง ๆละ ๒๐ ลำ ในแต่ละกองมีกำลังไพร่พลทหารประจำกองละ ๑,๔๐๐ คน พร้อมด้วยเครื่องศาสตราวุธ ให้นำเรือรบไป ๑ ลำ มีปืนใหญ่ ๑ กระบอก ปืนขนาดเล็ก ๑ กระบอก แล้วแบ่งไปประจำที่ต่าง ๆ ดังนี้ ๑ ให้พระราชสงกรานต์ ไปตั้งรับทัพพม่าทางปากน้ำเจ้าพระยา ๒ ให้ศรีภูเบศร์ ไปตั้งรับพม่าทางเมืองพรหมบุรี ๓ ให้หม่อมทิพยุพันไปตั้งรับพม่าทางเมืองพรหมบุรี ๔ ให้หม่อมเทไพ ไปตั้งรับพม่าทางเมืองอินทร์บุรี ๕ ให้หม่อมมหาดเล็กวังหน้า ไปตั้งรับพม่าทางแม่น้ำเมืองสิงห์บุรี ๖ ให้หลวงศรียุทธ ไปตั้งรับพม่าทางปากน้ำหิงสา ๗ ให้ศรีวรข่าน ไปตั้งรับพม่าทางปากน้ำประสบ ๘ ให้พระยาจุหล่า (แขก) ไปตั้งรับพม่าทางปากน้ำพระประแดง (พระมะดัง) ๙ ให้หลวงหรทัยคุมออกไปตั้งรับพม่าทางปากน้ำลำทอง ขั้นที่สอง สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงมีรับสั่งให้จัดกองทัพไปตั้งรับกองทัพพม่า แต่ละทัพห่างไกลกันออกไปเป็นจุดต่างๆ กันดังนี้ กองทัพที่ ๑ ให้พระยาพิพัฒน์โกษา เป็นแม่ทัพใหญ่คุมกองทัพ ๑๓ กอง แต่ละกองมีกำลัง ๑,๐๐๐ คน มีช้างคลุมเกราะเหล็ก ๑๐ เชือก ช้างเชือกหนื่งมีปืนใหญ่ขนาดเล็ก ๒ กระบอก มีควาญหัว ๑ คน กลาง ๑ คน ท้ายช้าง ๑ คน มีพลทหารถือทวนตามช้างอีกข้างละ ๑๐๐ คน ให้ไปตั้งรับพม่าที่เมืองมะริด เมืองตะนาวศรี กองทัพที่ ๒ ให้พระยาเพชรบุรี เป็นแม่ทัพใหญ่ คุมกองทัพ ๑๑ กองแต่ละ กองจัดกำลังเหมือนกองทัพที่ ๑ ให้ไปตั้งรับพม่าทางเมืองสวรรคโลก กองทัพที่ ๓ ให้ศิริธรรมราชา เป็นปลัดทัพ ให้พระยาพิพัฒน์โกษาเป็นแม่ทัพคุมกอง
ทัพ ๗ กองอีกทางหนึ่ง เพราะอยู่ในเขตใกล้เคียงกัน ให้ไปตั้งที่ตำบลท่ากระดานเขตแดนเมืองกาญจนบุรี กองทัพที่ ๔ ให้เจ้าพระยากลาโหม คุมกองทัพ ๑๕ กอง การจัดกำลังกองทัพจัดแบบเดียวกับกองทัพที่ ๑ ให้ไปตั้งรับทัพพม่าทางเมืองราชบุรี กองทัพที่ ๕ ให้พระยาธิเบศร์ เป็นแม่ทัพ คุมกองทัพ ๑๔ กอง การจัดกำลังกองทัพเหมือนกองทัพที่ ๑ ให้ไปตั้งรับพม่าทางเมืองราชบุรี การที่ทางกรุงศรีอยุธยาได้จัดเตรียมการป้องกัน พระนครและเตรียมสู้รบพม่าโดยจัดแบ่งออกเป็นกองย่อยๆ มากมายและแยกไปตามจุดต่างๆ โดยกองทัพพม่ายกมาจริงๆ เพียงสองทางเท่านั้น ดังนั้นกองทัพไทยที่ไปอยู่อีกหลายจุดที่กองทัพพม่ามิได้เคลื่อนทัพผ่าน จึงไม่ได้สู้รบกับพม่าเป็นการสูญเสียกำลังไปโดยปราศจากประโยชน์ ส่วนทางด้านที่กองทัพพม่าเคลื่อนผ่านมา ปะทะกับกองทัพไทยแต่ฝ่ายเรามีน้อยกว่าเพราะได้กระจายกำลังไปตามจุดต่างๆ คือเปรียบดังเอา ๑ เข้าสู้กับ ๑๐ ซึ่งแทนที่จะเอากำลัง ๑๐ ส่วนเข้าทำลายกำลัง ๑ ส่วน ฝ่ายกองทัพไทยน้อยกว่าย่อมยากแก่การที่จะเอาชนะ เหตุนี้น่าจะเป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้ไทยต้องเสียกรุงเป็นครั้งที่ ๒ แล้วผลการรบเป็นไปตามที่ได้คาดไว้ ทัพไทยพ่ายศึกในแทบทุกทางที่ปะทะกับกองทัพพม่า ทำให้กองทัพพม่ารุกคืบหน้าเข้ามาทุกที และแล้วกรุงศรีอยุธยาก็ตกอยู่ในวงล้อมกองทัพพม่า ในขณะที่กองทัพพม่ากำลังตั้งค่ายขยายวงล้อมกรุงศรีอยุธยา ในด้านเหนือมีทัพของเนเมียวสีหบดียกเข้ามาตั้งค่ายใหญ่อยู่ที่ ตำบลวัดป่าฝ้าย ปากน้ำพระประสบ ทัพของมังมหานรธาที่ยกมาทางใต้มาตั้งค่ายใหญ่ที่ ตำบลสีกุก พระเจ้ามังระส่งทัพหนุนเข้ามาอีก คือ สุรินทรจอข่อง มณีจอข่อง มหาจอข่อง อากาปันยี ถือพลพันเศษยกมาทางเมาะตะมะ เดินทัพเข้ามาทางอุทัยธานีมาตั้งค่ายอยู่แชวงเมืองวิเศษชัยชาญ ในเดือนยี่ พ.ศ. ๒๓๐๘ พระยาเจ่งตละเสี้ยง ตละเกล็บ คุมพลรามัญจากเมาะตะมะประมาณสองพันเศษเข้ามาทางกาญจนบุรีมาถึงค่ายตอกระออม แล้วยกทัพเรือหนุนเข้ามาตั้งค่ายอยู่ ณ ขนอนวัดโปรดสัตว์ จากสภาพการณ์จะเห็นได้ว่าทัพพม่าเข้าประชิดชานพระนครกำลังโอบล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้เกือบจะรอบอยู่แล้ว ในช่วงนี้เองที่เกิดวีรกรรมของชาวบ้านบางระจันการต่อสู้ระหว่างกองทัพพม่ากับชาวบ้านธรรมดาโดยลำพัง ซึ่งเป็นชาวบางระจันรวมตัวกับชาวเมืองใกล้เคียงอันได้แก่ ชาวเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์บุรี เมืองสรรค์บุรี เ ป็นวีรกรรมของพลเมืองธรรมดาที่ลุกขึ้นต่อสู้ การรุกรานอันกดขี่ของพม่า พวกเขาเหล่านั้นต่อสู้กับความอยุติธรรม ความโหดเหี้ยมของผู้รุกราน ซึ่งทั้งปล้นชิงทรัพย์สินหญิงสาวถูกข่มขืนและนำไปเป็นนางบำเรอ ปล้นบ้านเผาเมือง ทำลายไร่นาเก็บเอาผลผลิตไปหมดสิ้น ใครขัดขวางจะถูกฆ่า จับผู้คนกวาดต้อนไปเป็นเชลยเพื่อใช้แรงงานเป็นทาส ความเดือดร้อนเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า แผ่นดินแทบลุกเป็นไฟ อิสรภาพกำลังถูกคุกคามจากน้ำมือผู้รุกราน ผู้ที่จะทำให้ไทย ที่"ไท" ชึ่ง หมายความว่า ผู้ยิ่งใหญ่ ต้องแปดเปื้อนอีกครั้ง ราชการบ้านเมืองก็อ่อนแอจะหาผู้ใดมาปกป้องก็หาได้ไม่ จนเหลือกำลังสุดที่จะทนต่อไปได้อีก เหตุการณ์อันเป็นวีรกรรมที่ประวัติศาสตร์ไทยต้องจารึกถึงความกล้าหาญ ความสามัคคี การยอมสละชีพเพื่อต่อต้านข้าศึก ไม่ก้มหัวให้ศํตรูที่ได้กระทำโดยชาวบ้านธรรมดาอันปราศจากกองทัพใดๆ เข้าช่วยเหลือ วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันเริ่มขึ้นเมื่อ เนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่าที่เคลื่อน ทัพมาจากทางเหนือได้ส่งทหารกองหนึ่งออกลาดตระเวน กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินทางเมืองวิเศษชัยชาญ เท่านั้นยังไม่พอ หากพบว่าบ้านใดมีลูกสาวก็เรียกเอาตัวด้วยหากไม่ให้ก็ฉุดคร่าเอามา หากต่อสู้ก็ฆ่าทิ้งเสีย ทำให้คนไทยโกรธแค้นพม่ามากยิ่งขึ้นทนต่อการกระทำของทหารพม่าอีกไม่ได้ จึงแอบคบคิดกันต่อสู้พม่า
ในเดือน ๓ ปีระกา พ.ศ. ๒๓๐๘ พวกชาวเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์ เมืองสรรค์ และชาวบ้านใกล้เคียง พากันคบคิดอุบายเพื่อล่อลวงพม่า ทั้งรวบรวมผู้คนไว้เพื่อทำการ ในบรรดาชาวบ้านที่ร่วมกันอยู่นี้มีหัวหน้าที่สำคัญคือ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง ชาวบ้านสีบัวทอง แขวงเมืองสิงห์ นายดอก ชาวบ้านกรับ และนายทองแก้ว บ้านโพทะเล แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ ชาวไทยเหล่านี้ต่างพากันหลอกลวงพม่าว่าจะนำไปหาทรัพย์สิ่งของที่ต้องการพม่าหลงเชื่อตามไป ก็ถูกนายโชติซึ่งคุมสมัครพรรคพวกซุ่มอยู่บุกเข้ามาฆ่าฟันพม่าตายประมาณ ๒๐ คน และชาวบ้านที่ร่วมก่อการก็พาพรรคพวกครอบครัวอพยพหันมาพึ่งพระอาจารย์ธรรมโชติ ซึ่งมีกิตติศัพท์ว่ามีคุณความรู้ดีเชี่ยวชาญทางวิทยาคมมาก ต่อมานายแท่นและผู้มีชื่ออื่นๆ ชักชวนชาวบ้านได้อีกประมาณ ๔๐๐ คนเศษพากันมาอยู่ที่บ้านบางระจัน หลังจากนั้นก็ตั้งค่ายขึ้นที่บ้านบางระจัน ๒ ค่าย คือ ค่ายใหญ่และค่ายน้อย ทั้งนี้เพื่อป้องกันทหารพม่าที่จะยกติดตามมาพระอาจารย์ธรรมโชติได้ลงตะกรุดประเจียดมงคล แจกจ่ายชาวค่าย สำหรับป้องกันตัวและเป็นกำลังใจ นอกจากนี้มีคนไทยชั้นหัวหน้าที่เข้ามาร่วมด้วยอีก ๕ คน คือขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันหนวดเขี้ยว และนายทองแสงใหญ่ รวมหัวหน้าที่สำคัญของค่ายบางระจันครั้งนั้นรวม ๑๑ คน ท่านเหล่านี้รวมทั้งชาวบ้านอื่นๆ ได้สู้รบกับพม่าถึง ๘ ครั้ง แม้จะเสียเปรียบด้านอาวุธและกำลังไพร่พลแต่ด้วยความรักชาติ ความสามัคคี ความกล้าหาญ ตลอดจนความเสียสละ จึงทำให้ได้รับชัยชนะถึง ๗ ครั้งอันเป็นวีรกรรมอันยิ่งใหญ๋ของชาวบ้านบางระจัน จนได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ดังนี้

ประวัติศาสตร์การรบทั้ง 8 ครั้ง
การรบครั้งที่ ๑ทหารพม่าที่เมืองวิเศษชัยชาญยกพลมาประมาณ ๑๐๐ เศษ มาตามจับพันเรืองเมื่อถึงบ้านบางระจัน ก็หยุดอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำ (บางระจัน) นายแท่นจัดคนให้รักษาค่ายแล้วนำคน ๒๐๐ ข้ามแม่น้ำไปรบกับพม่า ทหารพม่าไม่ทันรู้ตัวยิงปืนได้เพียงนัดเดียวชาวไทยซึ่งมีอาวุธสั้นทั้งนั้นก็กรูเข้าไล่ฟันแทงพม่าถึงขั้นตะลุมบอน พลทหารพม่าล้มตายหมดเหลือแต่ตัวนายสองคนขึ้นม้าหนีไปได้ ไปแจ้งความให้นายทัพพม่าที่ค่ายแขวงเมืองวิเศษชัยชาญทราบ และส่งข่าวให้แม่ทัพใหญ่คือเนเมียวสีหบดี ซึ่งตั้งค่ายใหญ่อยู่ ณ ปากน้ำพระประสบทราบด้วย

การรบครั้งที่ ๒ เนเมียวสีหบดีจึงแต่งให้งาจุนหวุ่น คุมพล ๕๐๐ มาตีค่ายบางระจัน นายแท่นก็ยกพลออกรบ ตีทัพพม่าแตกพ่ายล้มตายเป็นอันมาก แม่ทัพพม่าได้เกณฑ์ทหารเพิ่มเป็น ๗๐๐ คน ให้เยกินหวุ่นคุมพลยกมาตีค่ายบางระจัน ทัพพม่าก็ถูกตีแตกพ่ายอีกเป็นครั้งที่ ๒

การรบครั้งที่ ๓ เมื่อกองทัพพม่าต้องแตกพ่ายหลายครั้ง เนเมียวสีหบดีเห็นว่าจะประมาทกำลังของชาวบ้านบางระจันต่อไปอีกไม่ได้ จึงเกณฑ์พลเพิ่มเป็น ๙๐๐ คน ให้ติงจาโบ เป็นผู้คุมทัพครั้งนี้ชาวบ้านบางระจันมีชัยชนะพม่าอีกเช่นครั้งก่อนๆ

การรบครั้งที่ ๔ การที่พม่าแพ้ไทยหลายครั้งเช่นนี้ ทำให้พม่าขยาดฝีมือคนไทย จึงหยุดพักรบประมาณ ๒-๓ วัน แล้วเกณฑ์ทัพใหญ่เพื่อมาตีค่ายบางระจัน มีกำลังพลประมาณ๑,๐๐๐ คน ทหารม้า ๖๐ สุรินจอข่องเป็นนายทัพ พม่ายกทัพมาตั้งที่บ้านห้วยไผ่ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง) ฝ่ายค่ายบางระจันได้จัดเตรียมกันเป็นกระบวนทัพสู้พม่าคือ นายแท่นเป็นนายทัพคุมพล ๒๐๐ พันเรืองเป็นปีกซ้ายคุมพล ๒๐๐ ชาวไทยเหล่านี้มีปืนคาบศิลาบ้าง ปืนของพม่าและกระสุนดินดำของพม่า ซึ่งเก็บได้จากการรบครั้งก่อนๆ บ้าง นอกจากนั้นก็เป็นอาวุธตามแต่จะหาได้ ทัพไทยทั้งสามยกไปตั้งที่คลองสะตือสี่ต้น อยู่คนละฟากคลองกับพม่า ต่างฝ่ายต่างยิงตอบโต้กันฝ่ายไทยชำนาญภูมิประเทศกว่า ได้ขนไม้และหญ้ามาถมคลอง แล้วพากันรุกข้ามรบไล่พม่าถึงขั้นใช้อาวุธสั้น พม่าล้มตายเป็นอันมาก ตัวสุรินทรจอข้องนายทัพพม่า ขี่ม้ากั้นร่มระย้าเร่งให้ตีกองรบอยู่กลางพล ถูกพลทหารไทยวิ่งเข้าไปฟันตาย ณ ที่นั้น ส่วนนายแท่นแม่ทัพไทยก็ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บสาหัสต้องหามออกมาจากที่รบ ทัพไทยกับพม่ารบกันตั้งแต่เช้าจนเที่ยง ต่างฝ่ายต่างอิดโรย จึงถอยทัพจากกันอยู่คนละฟากคลอง พวกชาวบ้านบางระจันในค่ายก็นำอาหารออกมาเลี้ยงดูพวกทหาร ขณะพม่าต้องหุงหาอาหารและมัวจัดการศพแม่ทัพไม่ทันระวังตัว กองสอดแนมของไทยมาแจ้งข่าว พวกทหารไทยกินอาหารเสร็จแล้วก็ยกข้ามคลองเข้าโจมตีพม่าพร้อมกันทันที ทหารพม่าแตกพ่ายไม่เป็นกระบวน ที่ถูกอาวุธล้มตายประมาณสามส่วน และเสียเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นอันมาก ไทยไล่ติดตามจนใกล้ค่ำจึงยกกลับมายังค่าย กิตติศัพท์ความเก่งกล้าของชาวบ้านบางระจันแพร่หลายออกไปมีชาวบ้านอื่นๆ อพยพครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ในค่ายบางระจันเพื่อขึ้นอีกเป็นลำดับ

การรบครั้งที่ ๕ พม่าเว้นระยะไม่ยกมาตีค่ายบางระจันอยู่ประมาณ ๑๐-๑๑ วัน ด้วยเกรงฝีมือชาวไทย หลังจากนั้นจึงแต่งทัพยกมาอีกครั้งหนึ่ง มีแยจออากาเป็นนายทัพ คุมทหารซึ่งเกณฑ์แบ่งมาจากทุกค่ายเป็นคนประมาณ ๑,๐๐๐ คนเศษ พร้อมด้วยม้าและอาวุธต่างๆแต่กองทัพพม่านี้ก็ปราชัยชาวบ้านบางระจันแตกพ่ายไป

การรบครั้งที่ ๖ นายทัพพม่าครั้งที่ ๖ นี้คือ จิกแก ปลัดเมืองทวาย คุมพล ๑๐๐ เศษ ฝ่ายไทยมีชัยชนะอีกเช่นเคย

การรบครั้งที่ ๗ เนเมียวสีหบดีได้แต่งกองทัพให้ยกมาตีค่ายบางระจันอีก ให้อากาปันคยีเป็นแม่ทัพคุมพล ๑,๐๐๐ เศษ อากาปันคยียกกองทัพไปตั้ง ณ บ้านขุนโลก ทางค่ายบางระจันดำเนินกลศึกคือ จัดให้ขุนสรรค์ซึ่งมีฝีมือแม่นปืน คุมพลทหารปืนคอยป้องกันกองทัพม้าของพม่า นายจันหนวดเชี้ยวเป็นแม่ทัพใหญ่คุมพล ๑,๐๐๐ เศษออกตีทัพพม่าและล้อมค่ายไว้ ทหารไทยใช้การรบแบบจู่โจม พม่ายังไม่ทันตั้งค่ายเสร็จก็ถูกโอบตีทางหลังค่าย ทหารพม่าถูกฆ่าตายเกือบหมดเหลือรอดตายเป็นส่วนน้อย แม่ทัพก็ตายในที่รบครั้งนี้ทำให้พม่าหยุดพักรบนานถึงครึ่งเดือน

การรบครั้งที่ ๘ การที่พม่าส่งกองทัพมาปราบค่ายบางระจันถึง ๗ ครั้ง แต่ต้องแตกพ่ายยับเยินทุกครั้งนั้น ทำให้แม่ทัพใหญ่ของพม่าวิตกมาก เนื่องจากชาวบ้านบางระจันมีกำลังเข้มแข็งขึ้นทุกที และทหารพม่าก็พากันเกรงกลัวฝีมือไทย ไม่มีใครอาสาเป็นนายทัพ ขณะนั้นมีชาวรามัญผู้หนึ่งเคยอยู่เมืองไทยมานาน รู้จักนิสัยคนไทยและภูมิประเทศดี ได้เข้าฝากตัวทำราชการอยู่กับพม่าจนได้รัยตำแหน่งสุกี้ หรือพระนายกอง สุกี้เข้ารับอาสาจะขอไปตีค่ายบางระจัน เนเมียวสีหบดีจึงแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพคุมพล ๒,๐๐๐ พร้อมทั้งม้าและสรรพาวุธทั้งปวง สุกี้ดำเนินการศึกอย่างชาญฉลาด เมื่อเวลาเดินทัพไม่ตั้งทัพกลางแปลงอย่างทัพอื่น ให้ตั้งค่ายรายไปตามทาง ๓ ค่าย และรื้อค่ายหลังผ่อนไปสร้างข้างหน้าเป็นลำดับ (เป็นที่น่าสังเกตุว่าการเคลื่อนทัพโดยตั้ง ๓ ค่ายของสุกี้นี้ เป็นวิธีเดียวกับการเดินทัพของกองทัพเล่าปี่ ที่มีขงเบ้งเป็นแม่ทัพในสงครามสามก็ก ใช้ตั้งรับทัพที่เชี่ยวชาญการรบในท้องที่นั้นๆ น่าจะแสดงให้เห็นว่าสุกี้ ชาวรามัญผู้นี้ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในพิชัยสงครามหรือ อย่างน้อยต้องศึกษาประวัติศาสตร์สงครามมาอย่างลึกซึ้ง ) ใช้เวลาถึงครึ่งเดือนจึงใกล้ค่ายบางระจัน สุกี้ใข้วิธีตั้งมั่นรบอยู่ในค่าย ด้วยรู้ว่าคนไทยเชี่ยวชาญการรบกลางแปลง พวกหัวหน้าค่ายบางระจันนำกำลังเข้าตีค่ายพม่าหลายครั้งไม่สำเร็จกลับทำให้ไทยเสียไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งนายทองเหม็นดื่มสุราแล้วขี่กระบือนำพลส่วนหนึ่งเข้าตีค่ายพม่า สุกี้นำพลออกรบนอกค่าย นายทองเหม็นถลำเข้าอยู่ท่ามกลางข้าศึกแต่ผู้เดียว แม้ว่าจะมีฝีมือสามารถฆ่าฟันทหารพม่ารามัญล้มตายหลายคน แต่ในที่สุดก็ถูกทหารพม่ารุมล้อมจนสิ้นกำลังและถูกทุบตีตายในที่รบ (เล่าขานกันมาว่านายทองเหม็นเป็นผู้รู้ในวิชาคงกระพันชาตรี และมีของขลังป้องกันภยันตราย ฟันแทงไม่เข้า หากจะทำร้ายคนมีวิชาเช่นนี้จะต้องตีด้วยของแข็ง) ทัพชาวบ้านบางระจันเมื่อเสียนายทัพก็แตกพ่าย ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในการรบกับพม่า ทัพพม่ายกติดตามมาจนถึงบ้านขุนโลกใกล้ค่ายบางระจัน แล้วตั้งค่ายมั่นอยู่ ทัพบางระจันพยายามตีค่ายพม่าอีกหลายครั้งไม่สำเร็จก็ท้อถอย สุกี้จึงให้ทหารขุดอุโมงค์เข้าใกล้ค่ายน้อยบางระจัน ปลูกหอรบขึ้นสูงนำปืนใหญ่ขึ้นยิงเข้าไปในค่ายถูกผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ค่ายน้อยบางระจันก็แตกพ่ายลงนอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านบางระจันเสียกำลังใจลงอีกคือ นายแท่นหัวหน้าค่ายที่ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บครั้งที่สุรินทรจอข่องเป็นแม่ทัพยกมาเมื่อการรบครั้งที่ ๔ นั้นได้ถึงแก่กรรมลง ในเดือน ๖ ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ หัวหน้าชาวบ้านบางระจันคนอื่น ได้พยายามจะนำทัพไทยออกรบกับพม่าอีกหลายครั้ง วันหนึ่งทัพพม่าสามารถตีโอบหลังกระหนาบทัพไทยได้ ขุนสรรค์และนายจันหนวดเขี้ยวได้ทำการรบจนกระทั่งตัวตายในที่รบ ยังเหลือแต่พันเรืองและนายทองแสงใหญ่เป็นหัวหน้าสำคัญ ชาวค่ายบางระจันเห็นว่าตนเสียเปรียบ ผู้คนล้มตายลงไปมาก เหลือกำลังที่จะต่อสู้กับพม่าแล้ว จึงมีใบบอกเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาขอปืนใหญ่ ๒ กระบอก พร้อมด้วยกระสุนดินดำเพื่อจะนำมายิงค่ายพม่า ทางพระนครปรึกษากันแล้วเห็นพร้อมกันว่าไม่ควรให้เนื่องจากกลัวว่าพม่าจะแย่งชิงกลางทางบ้าง หรือหากพม่าตีค่ายบางระจันแตก พม่าก็จะได้ปืนใหญ่นั้นมาเป็นกำลังรบพระนคร พระยารัตนาธิเบศร์ไม่เห็นด้วยในข้อปรึกษา จึงออกไป ณ ค่ายบางระจัน เรี่ยไรเครื่องภาชนะทองเหลืองทองขาวจากพวกชาวบ้านหล่อปืนใหญ่ขึ้นมาสองกระบอก แต่ปืนทั้งสองนั้นร้าวใช้ไม่ได้ พระยารัตนาธิเบศร์เห็นว่าการศึกจะไม่เป็นผลสำเร็จจึงกลับพระนคร เมื่อขาดที่พึ่งชาวบ้านบางระจันก็เสียกำลังใจมากขึ้น ฝีมือการสู้รบกับพม่าก็พลอยอ่อนลง บางพวกก็พาครอบครัวหลบหนีออกจากค่าย ผู้คนในค่ายก็เบาบางลง ในที่สุดพม่าก็สามารถตีค่ายใหญ่บางระจันได้ ในวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนแปด ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าตั้งแต่เดือน ๔ ปลายปีระกา พ.ศ. ๒๓๐๘ ถึงเดือนแปด ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ เป็นเวลาทั้งสิ้น ๕ เดือน พม่าได้กวาดต้อนชาวไทยในค่ายบรรดาที่รอดตายทั้งหลายกลับไปยังค่ายพม่า ส่วนพระอาจารย์ธรรมโชติซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยให้กำลังใจให้ชาวบ้านบางระจันสู้รบกับพม่าอย่างห้าวหาญนั้น ไม่ปรากฏว่าท่านมรณภาพอยู่ในค่าย ถูกกวาดต้อน หรือหลบหนีไปได้

ที่มา ; http://www.kroobannok.com/view.php?article_id=1699

หอไอเฟล


หอไอเฟล (Eiffel Tower) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นหอคอยที่มีความสูงเสียดฟ้า มีความงามสง่า รูปร่างอ่อนช้อย ซึ่งสะท้อนให้เห็นจิตวิญญาณของฝรั่งเศส หอไอเฟลได้รับการออกแบบและก่อสร้างในปี ค.ศ.1839 มันคือผลงานชิ้นเอกในการ -ฉลองการปฏิวัติฝรั่งเศสอันนองเลือดเมื่อ 100 ปีก่อนหน้า
หอคอยเหมือนเป็นสิ่งที่ชาญฉลาดทางเทคโนโลยี ในอดีตไม่เคยมีใครสร้างหอคอยที่สูงกว่า 1,000 ฟุต หลายคนพยายามลอง แม้กระทั่งในสหรัฐอเมริกาก็มีการออกแบบไว้อยู่หลายแบบ แต่ก็ไม่เคยสร้างจริงขึ้นมา ฝรั่งเศสได้จัดการประกวดเพื่อออกแบบหอคอย แบบแรกถูกเสนอโดย เวอร์ริส คล็อกลิน ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะวิศวกรของ กุสตาฟ ไอ-เฟล (Gustave Eiffel)
กุสตาฟ ไอเฟล เป็นคนแรกที่เดินขึ้นบันได 1,710 ขั้น เพื่อขึ้นไปที่จุดสูงสุดของหอคอย แล้วแขวนธงชาติ 3 สีของฝรั่งเศส มีการเปิดงานแสดงสินค้าในปี ค.ศ.1889 ในกรุงปารีส งานชิ้นเอก คือหอคอยที่สูงกว่า 300 เมตรที่งดงาม และในที่สุดมันจะเป็นที่รู้จักในนาม หอไอเฟล
ท้องฟ้าสีกุหลาบยามเย็น กัดสีผนังลายหินอ่อนของสถาปัตยกรรมในปารีส หอไอเฟลก็ยังคงตั้งอยู่ในฐานะของความมหัศจรรย์ทางเทคโนโลยี ความสำเร็จทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม เป็นสัญลักษณ์แห่งกรุงปารีส และ เป็นยังคงเป็นจิตวิญญาณของฝรั่งเศสเรื่อยไป.....
ที่มา ; http://www.geocities.com/samtipcom/eiffel.htm

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม



วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดพระแก้วนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวังตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง
และประชุมข้าทูลละอองพระบาทถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย มาประดิษฐาน ณ ที่นี้
วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้ ภายหลังจากการสถาปนาแล้ว ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชกาล เพราะเป็นวัดสำคัญ จึงมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ทุก ๕๐ ปี คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่ผ่านมา การบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมา มุ่งอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นมรดกชิ้นเอกของชาติให้คงความงามและรักษาคุณค่าของช่างศิลปไทยไว้อย่างดีที่สุด เพื่อให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดไป

พระอุโบสถ
สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ หลังคาลด ๔ ระดับ ๓ ซ้อน มีช่อฟ้า ๓ ชั้น ปิดทองประดับกระจก ตัวพระอุโบสถมีระเบียงเดินได้โดยรอบ มีหลังคาเป็นพาไลคลุม รับด้วยเสานางรายปิดทองประดับกระจกทั้งต้น พนักระเบียงรับเสานางราย ทำเป็นลูกฟักประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีอย่างจีน ตัวพระอุโบสถมีฐานปัทม์รับอีกชั้นหนึ่ง ประดับครุฑยุดนาคหล่อด้วยโลหะปิดทอง มีเสารายเทียนหล่อด้วยทองแดงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน
ผนังพระอุโบสถ ในรัชกาลที่ ๑ เขียนลายรดน้ำบนพื้นชาดแดง รัชกาลที่ ๓ โปรดเล้าฯ ให้ปั้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ปิดทองประดับกระจก เพื่อให้เข้ากับผนังมณฑป ปิดทองประดับกระจก บานพระทวารและพระบัญชรประดับมุกทั้งหมด ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่เชิงบันไดมีสิงห์หล่อด้วยสำริดบันไดละคู่ รวม ๑๒ ตัว โดยได้แบบมาจากเขมรคู่หนึ่ง แล้วหล่อเพิ่มอีก ๑๐ ตัว
ที่มา ; http://www.geocities.com/lek222/grand002.htm

เรื่องจริงผ่านจอ


ออกอากาศทุกวันพฤหัสบดี เวลา 22.20 - 23.20 น.ทาง ช่อง 7.

เฮง เฮง เฮง


เฮง เฮง เฮง [ออกอากาศ : ทุกวันเสาร์ เวลา 10.15 น.]
ร้านก๋วยเตี๋ยวของครอบครัวชาวจีนหลังแถวเยาวราช เต็มไปด้วยคนหลายรุ่นหลายสมัย อัดแน่นรวมกันอยู่ ตั้งแต่ อาม่า (สีนีนาฏ โพธิเวช) ผู้ขี้ลืม, อาป๊า (กล้วย เชิญยิ้ม) หัวโบราณ, อาม้า (ปิยะมาศ โมนยะกุล) นางเอกงิ้วเก่า, อาบุ๊ง (ออร์แกน ราศรี วัชราพลเมฆ) สาวมั่น, อาตง (หยวน นิธิชัย ยศอมรสุนทร) บ้ายอ, ลำไย (จอย ชวนชื่น) คนใช้ขี้ประจบ, แจ๊ค (บ๊วย เชษฐวุฒิ วัชราคุณ) เพื่อนบ้านผู้ชอบออกกำลังกาย, น้าป๋อง (ถั่วแระ เชิญยิ้ม) คนขับแท๊กซี่บ้าการเมือง, และ ซัน (ชาย ชาตโยดม หิรัญยัษฐิติ) หนุ่มขี้เล่นเจ้าชู้ แค่
ที่มา ;http://www.thaitv3.com/ch3/drama/sub.php?drama_id=22

เทวดาสาธุ


ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 23.00 ทางช่อง 3

ระเบิดเถิดเทิง


ระเบิดเถิดเทิง เป็นรายการซิทคอมควบคู่กับเกมโชว์ ซึ่งผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางช่อง 5 ปัจจุบันออกอากาศเวลา 13.50 - 14.50 น. เป็นประจำทุกวันอาทิตย์ โดยมี สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ เป็นพิธีกรหลักช่วงเกมโชว์

ในระยะเริ่มแรก ระเบิดเถิดเทิงมีรูปแบบเป็นรายการวาไรตี้ มีพิธีกรคือ มยุรา เศวตศิลา และ หนู คลองเตย (ภายหลัง ได้เพิ่ม หม่ำ จ๊กมก เป็นพิธีกรหลักด้วย จากเดิมที่เป็นเพียงพิธีกรประจำช่วง ฮาระเบิด) โดยจะมีการแสดงตลก และดนตรี ตลอดจนการแสดงความสามารถของดารารับเชิญ (เรียกว่า ระเบิดรับเชิญ) ในรายการ ทว่าเพียงระยะเวลาไม่นานนัก ระเบิดเถิดเทิงได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นละครซิทคอม ควบคู่ไปกับเกมโชว์ ซึ่งถือเป็นรูปแบบปัจจุบันของรายการนี้ โดยพิธีกรหลักนั้น เป็นมยุรา เศวตศิลาเพียงคนเดียว แต่หนู คลองเตย และหม่ำ จ๊กมก ได้เปลี่ยนมาทำหน้าที่เป็นผู้เล่นละครซิทคอม และร่วมเล่นเกมโชว์ด้วยนั่นเอง (ทว่ามยุราก็ได้ร่วมเล่นละครซิทคอมด้วย แต่เป็นเพียงบทสมทบเท่านั้น)

สำหรับส่วนซิทคอมนั้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนของคนในซอยเถิดเทิง ชุมชนแห่งหนึ่งซึ่งไม่ได้ระบุว่าอยู่แห่งใดในประเทศไทย ที่มี เท่ง (เท่ง เถิดเทิง) กับ โหน่ง (โหน่ง ชะชะช่า) เป็นนักเลงคุมซอย โดยทุกสัปดาห์จะมีเนื้อหาไม่ซ่ำกัน (ยกเว้นบางตอน ที่อาจมีระยะเวลาออกอากาศมากกว่า 1 เทป และในช่วงหลัง เนื้อหาของระเบิดเถิดเทิงเน้นความต่อเนื่องมากขึ้น จากเดิมที่เน้นเนื้อหาแบบจบในตอน) และในแต่ละตอนจะมีนักแสดงรับเชิญมาร่วมแสดงกับนักแสดงประจำ และมาร่วมเล่นเกมในช่วงท้าย ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ระเบิดเถิดเทิงออกอากาศถึงปัจจุบัน ช่วงซิทคอมระเบิดเถิดเทิงได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และตัวละครอยู่เรื่อยๆ ตามแต่สภาพในยุคนั้นๆ

รายการระเบิดเถิดเทิงออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นซิทคอมที่มีการออกอากาศยาวนานที่สุดในประเทศไทย

ระเบิดเถิดเทิงในยุคแรกๆ เป็นลักษณะของรายการวาไรตี้ ซึ่งมีช่วงต่างๆดังนี้
ฮาระเบิด
เป็นการแสดงตลกของคณะตลก ซึ่งมีคณะตลกหลักเป็นคณะของหม่ำ จ๊กมก ที่นอกจากจะเล่นตลกในช่วงนี้แล้ว ยังมีหน้าที่เป็นพิธีกรประจำช่วงด้วย

ดังระเบิด
เป็นการแสดงดนตรีของวงดนตรี หรือเป็นการแสดงจากดาราซึ่งเป็นระเบิดรับเชิญในสัปดาห์นั้น ช่วงแรกนี้ มีธงชัย ประสงค์สันติ และวงสามโทน เป็นพิธีกรประจำช่วง

ระเบิดรับเชิญ
เป็นช่วงการสัมภาษณ์แขกรับเชิญที่ร่วมเล่นละครในแต่ละสัปดาห์ พร้อมกับตอบจดหมายจากทางบ้าน โดยจะปรากฏหลังจากละครได้เล่นจบตอนลง (มาก่อนช่วงวางระเบิด)

ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นการจับรางวัลให้ผู้ชมทางบ้านส่งกล่องเปล่าของผลิตภัณฑ์นมหนองโพ มาร่วมสนุกเพื่อค้นหาสุดยอดนักแสดงรับเชิญโดยการเขียนชื่อโหวตนักแสดงรับเชิญลงกระดาษแนบบนกล่องเปล่า

ที่มา ; http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%87

หอเอนเมืองปิซา


ข้อมูลเด่นของหอเอนเมืองปิซา
• หอคอยสูงเกือบ 56 เมตร และส่วนยอดโน้มเอน 4.5 เมตร
• ตามตำนาน กาลิเลโอทิ้งลูกปืนใหญ่หลายลูกในช่วงคิดค้นทฤษฎีว่าด้วยแรงโน้มถ่วง
• ในวันอากาศร้อน ด้านหนึ่งของหอคอยจะร้อนกว่าปกติและเป็นเหตุให้ตัวหอเอียงเอนมากยิ่งขึ้น
เริ่มต้นก่อสร้าง
การก่อสร้างหอระฆังแห่งนี้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1173 อันเป็นช่วงที่เมืองปิซาเป็นหนึ่งในนครรัฐเรืองอำนาจสูงสุดของอิตาลี สามารถแผ่ขยายอาณาจักรการค้าได้กว้างไกลและมีเมืองขึ้นหลายแห่งทั่วย่านเมดิเตอร์เรเนียน พ่อค้าและคหบดีของเมืองจึงร่วมใจกันสร้าง สไตล์โรมัน อลังกาชื่อ ปิอัซซา เดย์ มีราโกลี แต่สถาปนิกพลาดที่ลงฐานรากอาคารเหนือชั้นดินปนทรายอ่อนยวบ ซึ่งอาจเป็นท้องน้ำเก่าที่ถูกกลบฝัง ตัวอาคารเริ่มเอนเอียงไปทางทิศเหนือ ตั้งแต่ก่อสร้างสองสามชั้นแรก สถาปนิกชุดแรกจึงต้องสร้างเสาและโค้งประตูทางด้านเหนือให้ใหญ่กว่าทางด้านใต้
โชคดีที่การก่อสร้างหยุดลงในปี 1178 ขณะขึ้นชั้นที่ 4 หากงานยังคงดำเนินต่อไป หอเอียงปิซาคงจะล้มลงมา แต่ทีมงานไม่อยากรื้อสร้างใหม่เพราะเท่ากับเป็นการยอมแพ้
หลังจากนั้นจึงเริ่มก่อสร้างอีกครั้งในปี 1272 เนื้อดินใต้ฐานรากของหอคอยอัดตัวแน่นขึ้น และโครงสร้างที่ตั้งอยู่ตอนนี้กลับเอียงไปทางทิศใต้ เนื่องจากเนื้อดินซุยกว่า คราวนี้สถาปนิกออกแบบให้เสา โค้งประตู และผนังหินด้านใต้สูงกว่าด้านเหนือ เมื่อคนงานสร้างชั้นที่เจ็ดเสร็จในปี 1278 การก่อสร้างต้องหยุดชะงักอีกครั้ง คนงานอีกรุ่นเริ่มต่อเติมหอระฆัง ยอดอาคารเมื่อประมาณปี 1360 โดยวางตำแหน่งให้เอนเอียงไปทางเหนือ พร้อมกับสร้างขั้นบันได ที่ดูแปลกพิลึกเติมเข้าไปอีก สองขั้น ทางด้านใต้เพื่อถ่วงดุล การเอนตัวของหอคอย ที่โน้มต่ำอย่างต่อเนื่อง
หอเอนเมืองปิซามองในยามค่ำคืน
หอคอยน้ำหนัก 14 500 ตันโน้มตัวเอนต่ำลงตลอดช่วง 500 ปี ต่อมา จาก 1.6 องศาเป็น ห้าองศา ขณะที่ส่วนฐานฝังจมดินลึก 3 เมตร และบดบังความสง่างามของแนวระเบียงบริเวณฐานไปอย่างน่าเสียดาย ในปี 1838 มีการขุดรอบทางเดินรอบฐานอาคารที่จมดิน ส่งผลให้ยอดอาคารเอนตัวลงทันทีครึ่งเมตร และเพิ่มระนาบความเอนเป็น 5.5 องศา
เกือบ 100 ปีต่อมาวิศวกรเทคอนกรีต 80 ตันลงไปที่ฐานรากเพื่อเพิ่มความหนาแน่นมั่นคง แต่หอคอยยังคงเอนตัวไปทางทิศใต้ ชาวอิตาลีต่างมุ่งมั่นหาทางป้องกันหายนะที่จะเกิดขึ้นด้วยการแต่งตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญชุดหนึ่งขึ้นมาดูแลเรื่องนี้ในเดือนมีนาคม 1990 ก่อนนี้เคยมีคณะกรรมการที่ปรึกษามาแล้ว 16 ชุด แต่ไม่มีความคืบหน้าเนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขัดแย้งกันเอง คณะกรรมการชุดที่ 17 ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ 14 คนจากทั่วโลกและรายงานต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรง
ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องกันแต่แรกว่าจะปรับระดับหอคอยเพียงแค่ไม่ให้โค่นเท่านั้น "เพราะทีมงานก่อสร้างชุดแรกสร้างอาคารให้สอดรับการเคลื่อนตัวของเนื้อดินชั้นล่างโดยตรง เราจึงอยากคงแนวคิดนี้ไว้" หนึ่งในคณะกรรมการอธิบาย
พยายามไม่ให้ล้ม
ราวสิบปีก่อน จอห์น เบอร์แลนด์ ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องดินแห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์อิมพีเรียลในกรุงลอนดอน เสนอให้นำแท่งตะกั่วหนัก 660 ตันไปถ่วงหอคอยทางด้านทิศเหนือให้สมดุลชั่วคราว "ตอนแรกที่เราทดลองเติมแท่งตะกั่วในแบบจำลองคอมพิวเตอร์ ปรากฏว่าหอคอยล้มครืนลงมาเลย" เบอร์แลนด์บอก
เขากับนักศึกษาใช้เวลาเก้าเดือนต่อมาปรับแต่งแบบจำลองคอมพิวเตอร์จนลงตัวในที่สุด คนงานใส่แท่งตะกั่วเข้าไปหนุนโครงสร้างในเดือนกรกฎาคม 1993 ปรากฏว่าอาการเอนเริ่มทรงตัวและสามารถดึงอาคารกลับไปทางด้านเหนือได้ระดับหนึ่ง แต่กลับถูกกล่าวหาว่าทำลายทัศนียภาพด้วยแท่งตะกั่ว

หอเอนเจ้าปัญหา จอห์น เบอร์แลนด์ ผู้เชี่ยวชาญ ชาวอังกฤษ เกรงว่าหอเอนจะพังลงมา

คณะกรรมการมองหาวิธีถ่วงที่สะดุดตาน้อยลง และเห็นชอบในปี 1995 ให้ติดตั้งวงแหวนคอนกรีตรอบหอคอยพร้อมสายเคเบิลยึดโยงสิบเส้น โดยปลายสายอีกข้างฝังอยู่ในทรายอัดแข็งลึกลงไปในดิน 45 เมตร แต่โชคไม่ดีที่ระหว่างเจาะทางเดินคอนกรีต วิศวกรเผลอไปตัดท่อเหล็กกล้าซึ่งเชื่อมต่อกับหอคอย
การกระทำดังกล่าวทำให้หอคอยเอนไปทางทิศใต้อย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ถึง .15 เซนติเมตร "ภายในคืนเดียว หอเอนเมืองปิซาเคลื่อนตัวเท่ากับยามปกติหนึ่งปีเต็ม" เบอร์แลนด์บอก คณะกรรมการรีบตัดสินใจอนุมัติให้เพิ่มแท่งตะกั่วถ่วงอีกราว 300 ตันเพื่อชะลอการเอนเอียง นั่นคือ แทนที่จะปลดน้ำหนักทั้งหมดทิ้งกลับใส่เพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งในสามและสั่งเลิกใช้วิธียึดโยงด้วยสายเคเบิลซึ่งให้ผลย้อนกลับร้ายแรง
หลังสำรวจความเป็นไปได้อีกหลายวิธี สุดท้ายคณะกรรมการลงความเห็นว่าการเซาะสกัดเนื้อดินน่าจะเป็นวิธีดีที่สุด โดยค่อย ๆ เคลื่อนย้ายเนื้อดินบริเวณฐานด้านที่ยกตัวสูงกว่า เนื้อดินนับตันที่เซาะสกัดออกมาจะช่วยปรับให้ยอดหอคอยด้านใต้ที่เอนโน้มกลับไปด้านตรงข้าม งานเซาะสกัดเนื้อดินเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ 1999 "หอคอยสร้างความประหลาดใจให้พวกเราหลายเรื่อง และมีหลายครั้งที่ใกล้หายนะจนทุกคนเครียดหนัก" เบอร์แลนด์เล่า "เราเฝ้าติดตามดูการดำเนินงานทุกด้านอย่างใกล้ชิดนาทีต่อนาทีเพื่อให้แน่ใจว่าหอคอยขยับไปในทิศทางที่เราคาดหมาย"
อุณหภูมิก็มีผลทำให้เอียง
แต่ไม่เป็นเช่นนั้น ช่วงแรกมีเรื่องให้ตื่นเต้นเมื่อคณะกรรมการได้รับโทรสารด่วนแจ้งว่าหอคอยเกิดเอนไปทางใต้อีกครั้งอย่างกะทันหัน "ผมนึกในใจว่าทุกอย่างคงจบสิ้นแล้ว" เบอร์แลนด์เปิดใจ ระหว่างนั้น ผู้จัดการโครงการและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ต้องรายงานความเคลื่อนไหวของอาคารอย่างละเอียดตลอดเวลา รวมทั้งสภาพอากาศ "ปรากฏว่าช่วงนั้นมีลมแรงพัดมาจากเทือกเขาแอลป์" เบอร์แลนด์อธิบาย "ผมโล่งใจอย่างบอกไม่ถูก เพราะรู้ว่าเวลาที่อุณหภูมิลดต่ำฮวบฮาบจะมีผลต่อหอคอยอย่างมาก เมื่อลบสงบและอุณหภูมิปรับตัวสูงขึ้น อาคารก็เอนตัวไปทางทิศเหนืออีกครั้ง"
หลังขุดเซาะครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน 2001 ยอดหอคอยด้านใต้ยังคนเอนออกนอกฐานกว่า 4.5 เมตร ซึ่งลดลงกว่าครึ่งเมตร จากตัวเลขในปี 1990 ปัจจุบัน แท่งตะกั่วบาดตาอันตรธานไปแล้ว วงแหวนเหล็กกล้าหนากันแกว่งถูกเก็บลับตาและไม่มีใครรู้ว่าจะได้ใช้อีกเมื่อใด ตอนนี้นักท่องเที่ยวมีโอกาสจะไต่บันไดขึ้นลงหอคอยแห่งนี้ได้อีกครั้งโดยไม่ต้องกลัวมันจะโงนเงน
ผู้รู้อาจถกเถียงกันต่อไปไม่จบถึงสาเหตุที่หอเอนเมืองปิซายังคงตั้งตระหง่านอยู่ได้โดยไม่ล้ม แต่คนธรรมดาอย่างเรา ๆ รู้ดีกว่านั้น ถ้าสถาปัตยกรรมชิ้นเอกสามารถยืนหยัดท้าทายแรงโน้มถ่วงของโลกและทำลายกฎวิชาฟิสิกส์ได้ขนาดนี้ พวกเราก็ยังมีหวังจะได้พบเห็นสิ่งลึกลับมหัศจรรย์อื่น ๆ อีกมากมายซึ่งไม่อาจอธิบายได้ด้วยเหตุผล นี่คือสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวนับล้านคนในแต่ละปีให้ไปชมสิ่งมหัศจรรย์คู่เมืองปิซาแห่งนี้

ที่มา : http://seedang.com/stories/28513

กำแพงเมืองจีน


กำแพงเมืองจีนถือกันว่า เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก มีระยะทางยาวกว่า 7,000 กิโลเมตร เป็นสิ่งก่อสร้างในกิจการป้องกันทางการทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและใช้เวลาสร้างนานที่สุดในโลกสมัยโบราณ เมื่อปี 1987 กำแพงเมืองจีนได้รับคัดเลือกให้เป็นมรดกโลก งาน สร้างสรรค์กำแพงเมืองจีนเริ่มขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช ผู้ปกครองของจีนในสมัยโน้นได้สร้างกำแพงเมืองเชื่อมป้อมและป้อมไฟสัญญาณแจ้งเหตุในเขตชายแดนเข้าด้วยกันเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนชาติส่วนน้อยในภาคเหนือ ถึงสมัยชุนชิวจ้านกั๋ว เจ้าผู้ครองแคว้นต่าง ๆ ของจีนพากัน แย่งชิงความเป็นใหญ่ เกิดสงครามระหว่างกันไม่ขาดสาย จึงได้สร้างกำแพงเมืองตามเทือกเขาใน เขตชายแดนเพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้าม ถึงปี 221 ก่อนคริสต์ศักราชจักรพรรดิจิ๋นซีได้รวมจีนเข้าเป็นเอกภาพและได้เชื่อมกำแพงเมืองในแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนชาติ ส่วนน้อยแถบทุ่งหญ้าอันกว้างไพศาลในมองโกเลีย กำแพงเมืองจีนในสมัยนั้นมีระยะทางยาวกว่า 5,000 กิโลเมตร หลังจากนั้น ผู้ปกครองของจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นได้สร้างกำแพงเมืองจีนต่อจนมี ระยะทางยาวกว่า 10,000 กิโลเมตร ในช่วงระยะเวลากว่า 2000 ปี ผู้ปกครองของจีนในสมัยต่าง ๆ ต่างก็เคยสร้างกำแพงเมืองมากบ้างน้อยบ้าง รวม ๆ แล้วมีระยะทางยาวกว่า 50000 กิโลเมตร ซึ่งสามารถล้อมโลกได้เกิน 1 รอบ
โดยทั่วไปแล้ว กำแพงเมืองจีนในปัจจุบันหมายถึงกำแพงเมืองจีนสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368 -ค.ศ.1644)ระหว่างด่านเจียอี้กวนในมณฑลกันซู่ทางภาคตะวันตกถึงริมฝั่งแม่น้ำยาลู่ในมณฑลเหลียวหนิงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ผ่าน 9 มณฑล นครและเขตปกครองตนเอง ของจีนโดยมีระยะทางยาวรวม 7300 กิโลเมตร เท่ากับ 14000 กว่าลี้ จึงได้ชื่อว่า กำแพงหมื่นลี้

โดยทั่วไปแล้ว ด้านนอกของกำแพงเมืองจีนก่อด้วยอิฐก้อนใหญ่และแกนหินข้างในถมด้วยดินเหลืองและเศษหิน ความสูงประมาณ 10 เมตร สันกำแพงเมืองจีนกว้าง 4 ถึง 5 เมตร ให้ม้า 4 ตัวไปพร้อมกันได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายทหาร ขนส่งอาหารและอาวุธยามศึก ด้านในของกำแพงเมืองมีประตูที่ทำบันไดหินไว้ การขึ้นลงสะดวกมาก ทั้งได้สร้างป้อมและป้อม จุดไฟสัญญาณแจ้งเหตุเป็นช่วง ๆ ป้อมเป็นที่เก็บอาวุธ อาหารและที่พักของทหาร ยามศึก ก็จะใช้เป็นที่กำบังได้ ถ้ามีศัตรูรุกเข้ามา ก็จะจุดไฟสัญญาณให้มีควันขึ้นบนป้อมแจ้งเหตุเพื่อส่งข่าว ไปยังทั่วประเทศทันที
ปัจจุบัน กำแพงเมืองจีนไม่มีสมรรถนะในการใช้เป็นป้อมรับศึกอีกแล้ว แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าทึ่งในฐานะสถาปัตยกรรมอันสง่างามอย่างหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ

กำแพงเมืองจีนมีความหมายทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและคุณค่าทางการท่องเที่ยวอย่างสูง ผู้คนในจีนซึ่งรวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งจีนและต่างประเทศแม้กระทั่งผู้นำต่างประเทศด้วยมักจะกล่าวกันว่า ถ้า ไม่ได้ขึ้นกำแพงเมืองจีนก็ไม่ใช่ผู้กล้า กำแพงเมืองจีนหลายช่วงที่ได้รับการอนุรักษ์ค่อนข้างดี เช่น ป๋าต้าหลิ่ง ซือหม่าไถ มู่เถียนอี้ ด่านซานไห่กวน และด่านเจียอี้กวน เป็นต้นต่างก็เป็นแหล่งท่อง เที่ยวที่มีชื่อเสียงมาก มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวกันสม่ำเสมอตลอดทั้งปี

เมื่อปี 1987 กำแพงเมืองจีนได้รับคัดเลือกให้เป็นมรดกโลกในฐานะที่เป็น สัญลักษณ์ของประชาชาติจีน

ที่มา : http://thai.cri.cn/chinaabc/chapter22/chapter220107.htm

ขั้นตอนการสร้างฺBlog

ขั้นตอนที่1 เข้าไปที่ http://www.blogger.com/ ก็จะปรากฏหน้าจอดังต่อไปนี้


ขั้นตอนที่2 คลิกที่ "สร้างบล๊อกของคุณทันที "

ขั้นตอนที่ 3 เมื่อท่านคลิกแล้วจะปรากฏหน้าจอดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 4 ให้ท่านกรอกรายละเอีอดให้ครบดังตัวอย่างข้างล่างนี้ แล้วคลิกที่ "ดำเนินการต่อ"

ขั้นตอนที่ 5 ตั้งชื่อเว็บบล๊อกของคุณ แล้วคลิกที่ "ดำเนินการต่อ"

ขั้นตอนที่ 6 เลือกแม่แบบ แล้วคลิกที่ "ดำเนินการต่อ"

ขั้นตอนที่ 7 เมื่อปรากฏหน้าจอดังนี้ "เริ่มต้นการเขียนบล๊อก "

ขั้นตอนที่ 8 เขียนบทความที่คุณต้องการ เมื่อเขียนเสร็จแล้วให้คลิกที่ "เผยแพร่บทความ" หรือ "บันทึกทันที "


ง่ายไหมละค่ะสำหรับการสร้างบล๊อกแค่ 8 ขั้นตอนเองลองทำดูนะค่ะ

สามก๊ก


เรื่องย่อเป็นเรื่องตอนที่แผ่นดินจีนแบ่งแยกออกเป็นสามก๊กใหญ่ๆ นับตั้งแต่ สมัยพระเจ้าเลนเต้ กษัตริย์ราชวงศ์ฮั่น ครองราชเมื่อ พ.ศ. ๗๑๑ พระเจ้าเลนเต้เป็นกษัตริย์ที่ อ่อนแอ ไม่สนพระทัยที่จะบริหารบ้านเมือง มัวแต่แสวงหาความสุขสำราญส่วนพระองค์ ปล่อยให้ ขันทีทั้ง ๑๐ ว่าราชการตามความพอใจ จนขุนนางและประชาชนได้รับความเดือดร้อนไปทั่ว พระเจ้าเลนเต้ มีโอรส ๒ พระองค์ ต่างชนนีกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยากในการ สืบราชสมบัติ ครั้นพระเจ้าเลนเต้สิ้นพระชนม์ โอรสองค์ใหญ่ คือ หองจูเปียน ซึ่งขณะนั้นยัง ทรงพระเยาว์อยู่ ได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ต่อมา โดยมีนางโฮเฮาพระมารดาเป็นผู้สำเร็จ ราชการแผ่นดิน แต่ในราชสำนักก็ยังวุ่นวายจากพวกขันทีทั้ง ๑๐ อยู่ โฮจิ๋นพี่ชายของนางโฮเฮา จึงเชิญตั๋งโต๊ะมาช่วยกำจัดพวกขันที

เมื่อเหตุการณ์เรียบร้อยเป็นปกติแล้ว ตั๋งโต๊ะก็ยึดอำนาจถอดถอนหองจูเปียงออก โดยให้เอาสุราผสมยาพิษกรอกจนสิ้นพระชนม์ จากนั้นก็สถาปนาหองจูเหียบขึ้นเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่า พระเจ้าเหี้ยนเต้ แล้วตั๋งโต๊ะก็ตั้งตนเป็นพระมหาอุปราช มีฐานะเป็นบิดาบุญธรรม ของพระเจ้าเหี้ยนเต้ ถืออำนาจบาทใหญ่กระทำการทุจริต พวกขุนนางทั้งหลายจึงคิดที่จะกำจัด ตั๋งโต๊ะ แต่ก็ไม่สำเร็จ จนอ้องอุ้นได้วางแผนส่งนางเตียวเสี้ยน ซึ่งเป็นบุตรสาวบุญธรรม ไปเป็น ภรรยาตั๋งโต๊ะ ให้นางใช้อุบายและมารยาหญิง ทำให้ตั๋งโต๊ะผิดใจกับลิโป ผู้เป็นหทารเอก จนกระทั่งลิโป้ฆ่าตั๋งโต๊ะตาย แต่อ้องอุ้นก็ไม่สามารถจัดการบ้านเมืองให้เรียบร้อยได้ ในที่สุด อ้องอุ้นก็ถูกลิฉุยกับกุยกีพรรคพวกของตั๋งโต๊ะฆ่า แล้วลิฉุยกับกุยกีก็บังคับพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้อยู่ ใต้อำนาจ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการบริหารบ้านเมือง พระเจ้าเหี้ยนเต้คับแค้นใจมาก จึงมีรับสั่ง เรียกโจโฉมาช่วยกำจัด ลิฉุย กุยกี และพรรคพวก โจโฉยึดอำนาจในเมืองหลวงไว้ได้ แล้วกำเริบ ตั้งตนเองเป็นมหาอุปราชควบคุมพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้อยู่ใต้อำนาจ ข่มเหงพวกขุนนางที่สุจริตและ เหล่าราษฎร พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงใช้พระโลหิตเขียนหนังสือลับ ไปขอร้องให้ขุนนางที่จงรักภักดีช่วย กำจัดโจโฉ แต่ถูกโจโฉจับได้ ขุนนางเหล่านั้นก็ถูกฆ่าตายหมด แม้แต่นางฮกเฮาพระมเหสีของ พระองค์ก็ถูกจับไปฆ่าเช่นกัน พวกเจ้าเมืองต่างๆ ได้ทราบพฤติการณ์อันเลวทรามของโจโฉ ก็ไม่พอใจ คิดจะช่วยเหลือพระเจ้าเหี้ยนเต้ จึงพากันกระด้างกระเดื่องขึ้น โจโฉก็ให้จัดกองทัพไป ปราบปราม สงครามจึงเกิดขึ้น โจโฉสามารถปราบเมืองต่างๆ ได้สำเร็จ แต่ไม่อาจปราบเล่าปี่ เจ้าเมืองเสฉวนได้ และซุนกวนเจ้าเมืองกังตั๋งได้

เล่าปี่เป็นเชื้อสายพระราชวงศ์ฮั่น แต่ยากจนอนาถา ได้คนมีฝีมือไว้เป็นทหาร หลายคน แต่มีกำลังไพร่พลน้อย ต้องคอยหลบหนีฝ่ายศัตรูอยู่เสมอ จนกระทั่งได้ขงเบ้งมาเป็น ที่ปรึกษา จึงสามารถตั้งตนเป็นเจ้าเมืองเสฉวนได้ส่วนซุนกวน เป็นเจ้าเมืองกังตั๋งโดยการสืบสกุล เป็นคนดีมีศีลธรรม ปกครองบ้านเมืองด้วยความเป็นธรรม จึงมีคนเคารพนับถือเข้ามาเป็นพวก มายมาย เมื่อโจโฉตาย โจผีบุตรชายของโจโฉครองตำแหน่งมหาอุปราชแทน แล้วต่อมาก็กบฏ ปลดพระเจ้าเหี้ยนเต้ออกจากบัลลังก์ แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่าพระเจ้า อ้วนโซ่ ตั้งราชวงศ์ขึ้นใหม่ คือ ราชวงศ์วุย เล่าปี่ถือว่าตนเองเป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่น ไม่ยอมรับ พระเจ้าโจผีเป็นกษัตริย์ จึงตั้งตัวเองเป็นกษัตริย์สืบราชวงศ์ฮั่น ใช้เมืองเสฉวนเป็นราชธานี ซุนกวนก็ไม่ยอมขึ้นกับพระเจ้าโจผีหรือเล่าปี่ ก็ตั้งตัวเป็นกษัตริย์บ้าง มีเมืองกังตั๋งเป็นราชธานี

ประเทศจีนขณะนั้น จึงแยกเป็น ๓ อาณาจักร หรือเรียกว่า สามก๊ก อาณาจักร ของเล่าปี่ เรียกว่า "จ๊กก๊ก" อาณาจักรของพระเจ้าซุนกวน เรียกว่า "ง่อก๊ก" และอาณาจักรของพระเจ้าโจผี เรียกว่า "วุยก๊ก"

ต่อมาเมื่อพระเจ้าเล่าปี่ พระเจ้าซุนกวน และพระเจ้าโจผีสิ้นพระชนม์แล้ว เชื้อสาย ที่สืบราชสมบัติต่อมาก็อ่อนแอลง สุมาเจียวซึ่งเป็นมหาอุปราชของวุยก๊กสามารถจับตัวพระเจ้า เล่าเสี้ยนมาเป็นเชลยได้ จึงรวมอาณาจักรจ๊กก๊กเข้ากับวุยก๊กได้ พอสุมาเจียวตายแล้ว สุมาเอี๋ยน ผู้เป็นบุตรชายสืบตำแหน่งแทน และได้ชิงราชสมบัติของวุยก๊กจากพระเจ้าโจฮวน แล้วตั้งตนเอง เป็นกษัตริย์แทน ตั้งราชวงศ์ใหม่ขึ้น เรียกว่า ราชวงศ์จิ๋น พระเจ้าสุมาเอี๋ยนสามารถปราบพระเจ้า ซุนโฮแห่งง่อก๊กให้ยอมสวามิภักดิ์ได้ แผ่นดินจีนทั้ง ๓ อาณาจักรก็รวมกันเป็นอาณาจักรเดียว เรียกว่า เมืองไต้จิ๋น สงครามที่ดำเนินมานานก็สงบลงอย่างเด็ดขาด
ที่มา ; http://www.geocities.com/tkingdom305/3kingdom_05.html

กษัตริยา


บทประพันธ์ ทมยันตี
บทโทรทัศน์ พัสกร
กำกับการแสดง นิรัตติศัย กัลย์จาฤก
นำแสดงโดย
1. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี แสดงเป็น พระวิสุทธิกษัตรีย์
2. อนุสรณ์ เตชะปัญญา แสดงเป็น พระมหาธรรมราชา
3. วรัทยา นิลคูหา แสดงเป็น พระสุพรรณกัลยา
4. อานัส ฬาพานิช แสดงเป็น พระนเรศ (สมเด็จพระนเรศวรมหาราช)
5. กันตะ กัลย์จาฤก แสดงเป็น พระเอกาทศรถ
ออกอากาศ ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 19.20 น. ช่อง 5

เรื่องย่อความเริ่มตั้งแต่สมเด็จพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์ในการยุทธหัตถีกับพม่า พระราเมศวรราชบุตรเข้ากันพระศพไว้ได้ พระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชเวตี้ยกทัพกลับหงสาวดี พระบรมศพสมเด็จพระบรมศพสมเด็จพระสุริโยทัยถูกอัญเชิญมาถวายพระเพลิง ณ วัดสวนหลวงสบสวรรค์ อันเคยเป็นสวนสวรรค์ที่เคยทรงพระสำราญคราวยังทรงพระชนมชีพ บัดนี้กลับกลายเป็นสถานที่ส่งพระวิญญาณสีสรวงสวรรค์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเศร้าโศกโศกาดูรราชบุตรีพระองค์ใหญ่ พระวิสุทธิกษัตรีย์ทรงจดจำความเจ็บปวดฝังลึกในพระราชหฤทัย ว่าพระราชมารดาทรงหลั่งโลหิตเพื่อปกป้องแผ่นดิน

หลังจากนั้น ไทยกับพม่าว่างเว้นศึกสิบห้าปี ระหว่างนั่นพระเจ้าตะเบ็งเวตี้วิปลาส ถูกสมิงสอดวุต ลวงไปปลงพระชนม์ หงสาวดีเกิดการจลาจล บุเรงนองมหาอุปราชต้องปราบปรามจนราบคาบแล้วราชาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง

ปีกุน พ.ศ. 2106 พระเกียรติยศสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเลื่องลือแพร่หลาย ด้วยทรงมีช้างเผือกมาสู่พระบุญญาบารมีถึง 7 เชือก จนได้รับถวายพระนามว่าพระเจ้าช้างเผือก พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองให้ราชทูตเชิญพระราชสาส์นมาเจริญพระราชไมตรี ขอช้างเผือกไปเป็นศรีนครสองเชือก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงทราบทันทีว่าบุเรงนองมีประสงค์จะก่อศึก เพราะหากทรงยอมตามคำขอก็หมายถึงยอมอยู่ในอำนาจ แต่ถ้าทรงปฏิเสธขัดข้องก็จะถือเอาเป็นเหตุยกมาตีเอากรุงศรีอยุธยา

เวลานั้นในกรุงศรีอยุธยาแบ่งออกเป็นฝักฝ่าย พระมหินทราธิราช ราชบุตรองค์ใหญ่แม้จะเป็นอุปราช แต่ไม่ได้รับความจงรักภักดีเท่าพระราเมศวรผู้ทรงเก่งกาจในการณรงค์ พระราเมศวร ทรงเห็นด้วยกับพระยาจักรีว่า จากวันนี้ฤาวันไหน สงครามไทยพม่าย่อมอุบัติแน่ จะพระราชทานช้างเผือกให้พม่าไปใยให้เสียพระเกียรติยศ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงทรงตอบปฏิเสธบุเรงนอง หลังจากนั้นอยุธยาก็เตรียมการพร้อมรบ ข่าวเตรียมศึกถูกส่งออกไปถึงเมืองพิษณุโลก

ผู้ครองเมืองลูกหลวงพิษณุโลก ณ เวลานั้น เดิมคืออดีตทหารกล้านามขุนพิเรนทรเทพ ผู้เคยปราบกบฏขุนวรวงศาธิราช บั่นหัวนางพระยาศรีสุดาจันทร์ แล้วถวายบัลลังก์ให้แก่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ จนได้รับพระราชบัณฑูรให้ครองเมืองพิษณุโลก เป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า และได้รับพระราชทานพระสวัสดิราช พระราชธิดาพระองค์โตเป็นอัครมเหสี ทรงนามใหม่ว่าพระวิสุทธิกษัตรีย์ บัดนี้ทรงมีพระราชธิดาและพระราชโอรสรวม ๓ พระองค์ คือ พระสุพรรณกัลยา พระนเรศ และ พระเอกาทศรถ

เวลานั้นพระสุพรรณกัลยาเจริญวัยแรกรุ่นดรุณี พระฉวีเหลืองละออดังทองสมพระนาม ส่วนพระนเรศยังเยาว์พระชันษา แต่ทรงสนพระทัยในการสงครามอย่างเห็นได้ชัด พระฉวีคล้ำเข้มจนได้รับพระนามว่าพระองค์ดำ ส่วนพระเอกาทศรถ งามสะโอดสะอง พระฉวีขาวผ่อง จึงได้รับพระนามว่าพระองค์ขาว

บุเรงนองกรีธาทัพเข้ามาโดยหัวเมืองทางเหนือมิได้ทันตั้งรับ เข้าบดขยี้ได้กำแพงเพชร สุโขทัย สวรรคโลกและพิชัยโดยง่าย จากนั้นจึงยกเข้าล้อมพิษณุโลกอันเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ พระมหาธรรม

ราชาเจนการศึก จึงรู้แน่แก่ใจว่าศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงเกินจะรับมือได้ ทัพพระเจ้าหงสาวดีมีพลถึงห้าแสน อีกทั้งมีเชียงใหม่คอยหนุนหลัง แต่เบื้องแรงพระมหาธรรมราชาก็ต่อสู้สุดความสามารถ จนในที่สุดเมืองจวนพินาศ เสบียงอาหารขาดแคลน เกิดโรคระบาดขึ้นในเมือง จึงต้องตัดสินพระทัยจำยอมอ่อนน้อมแก่ทัพพม่าเพื่อถนอมบ้านเมืองให้บอบช้ำน้อยที่สุด

การตัดสินใจของพระสวามีสร้างความตกตะลึงให้กับพระวิสุทธิกษัตรีย์ผู้ทรงสืบสายโลหิตจากวีรสตรีนักรบผู้กล้า ยิ่งเมื่อพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองให้พระมหาธรรมราชาและเจ้าเมืองกรมการที่ยอมอ่อนน้อมถือน้ำกระทำสัตย์ พระวิสุทธิกษัตรีย์ก็ทรงปวดร้าวถึงกับชวนพระวรกายปะทะแท่นวางพานพระศรี พระนลาฏกระทบขอบพานจนพระโลหิตตกทรงกระชากฉีกชายฉลองพระองค์ชับพระโลหิตบนพระนลาฏ ม้วนพระภูษาเปื้อนพระโลหิตบรรจุตลับทองเก็บไว้ หลังจากนั้นไม่สรงไม่เสวยไม่ยอมเยียวยาบาดแผล ความขัดแย้งของสองพระองค์กลายเป็นรอยร้าวฉาน พระวิสุทธิกษัตรีย์ได้แต่ทรงฝากความหวังให้โอรสธิดาทั้งสามพระองค์กอบกู้บ้านเมืองกลับคือมาให้ได้ในวันข้างหน้า

พระเจ้าหงสาวดีกรีธาทัพลงมาล้อมกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิไม่อาจทานศึกได้ก็จำยอมออกมารับพระราชทานไมตรี ต้องทรงยอมให้พระเจ้าหงสาวดีนำตัวพระราเมศวรกับพระยาจักรีไปเป็นตัวประกันที่เมืองพม่า อีกทั้งยอมส่งช้างไปบรรณาการปีละ 30 เชือก ยอมส่งส่วยสาอากร รวมทั้งยอมเสียอำนาจปกครองเมืองมะริด พระราเมศวรตรอมพระทัยประชวรหนักระหว่างทาง ก่อนสิ่งพระชนม์มีรับสั่งสุดท้ายกับพระยาจักรี ห้ามมิให้ฝังพระอัฐิในดินแดนพม่า ให้หาทางนำกลับกรุงศรีอยุธยาให้จงได้

พระเจ้าเมกุติแห่งเมืองเชียงใหม่แข็งข้อกับหงสาวดี บุเรงนองจึงยกทัพมาตีเชียงใหม่ โดยมีใบบอกให้พระมหาธรรมราชาขึ้นไปช่วยรบ พระมหาธรรมราชาตระหนักว่าหากปฏิเสธ เห็นทีพิษณุโลกจะต้องถูกตีย่อยยับเป็นครั้งที่สอง จึงทรงยอมยกทัพไปช่วยพม่าตีเชียงใหม่ พระวิสุทธิกษัตรีย์ทรงผิดหวังขมขื่นหนักขึ้นถึงแก่แตกหักกัน

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิออกผนวช พระมหินทราธิราชขึ้นครองเมืองพระยารามรณรงค์ เจ้าเมืองกำแพงเพชรกราบทูลยุยงว่าพระมหาธรรมราชากระด้างกระเดื่องต่ออยุธยา หันไปสวามิภักดิ์ต่อหงสาวดี ควรจะหันไปหาทางเจริญไมตรีกับกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเอาไว้ พระมหินทราธิราชจึงส่งพระเทพกษัตรีย์ ไปพระราชทานแก่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้าง พระมหาธรรมราชาส่งข่าวนี้ไปแจ้งแก่บุเรงนอง บุเรงนองจึงส่งทหารมาดักชิงตัวพระเทพกษัตรีย์ไปหงสาวดี

พระมหินทราธิราชทรงแค้น คิดจะกำจัดพระมหาธรรมราชา จึงออกอุบายให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชยกทัพมาตีพิษณุโลก แล้วกรุงศรีอยุธยาจะทำทีแต่งทัพขึ้นมาช่วย แต่ความจริงจะตีกระหนาบบดขยี้พิษณุโลกเสียให้สิ้นแค้น พระมหาธรรมราชาทราบความเสียก่อนจึงซ้อนแผนเผาเรือรบกรุงศรีอยุธยาทิ้งจำนวนมาก เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง อภิเษกพระมหาธรรมราชาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าพิษณุโลก และประกาศให้พิษณุโลกเป็นประเทศราชขึ้นต่อหงสาวดีมิให้ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาสืบไป

ศึกระหว่างพระสวามีกับพระอนุชาครั้งนี้ บีบคั้นพระหทัยพระวิสุทธิกษัตรีย์จนแทบแตกสลาย ทรงตัดสินพระทัยส่งตลับบรรจุภูษาซับโลหิตจากพระนลาฏไปยังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเปิดออกทอดพระเนตรเห็นโลหิตพระราชธิดาก็ทรงลาผนวช เสด็จขึ้นมายังพิษณุโลกรับพระวิสุทธิกษัตรีย์กับพระโอรสธิดาทั้งสามลงมาอยุธยาทันที พระเจ้าสงสาวดีบุเรงนองได้ที ทรงอ้างเหตุผลว่ากรุงศรีอยุธยาข่มเหงเมืองพิษณุโลก อันเป็นเมืองในขอบขัณฑสีมาพม่า สั่งให้เตรียมกองทัพใหญ่มาตรีกรุงศรีอยุธยา โดยให้พระมหาธรรมราชาลงมาช่วยทำศึกด้วย

พระวิสุทธิกษัตรีย์ทรงทราบความก็นิ่งขึง ชะตากรรมลิขิตให้พระสวามีต้องยกทัพมาทำศึกกับพระญาติวงศ์พงศา คนไทยต้องมาทำสงครามกับคนไทยด้วยกันเอง

บุเรงนองออกอุบายให้พระยาจักรีเป็นไส้ศึก ปล่อยตัวให้ลอบเข้าวังไปพร้อมกับพระอิฐิพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเห็นพระอัฐิพระราชโอรสก็เสียพระทัยยิ่ง ถึงแก่ประชวรหนัก เพียง ๒๕ วัน ก็เสด็จสวรรคต

อยุธยาระส่ำระสาย หลงกลศึกเสียทีบุเรงนอง เจ้าพระยาจักรีเปิดประตูเมืองรับศัตรูเข้ามาในพระนคร ในที่สุด เดือน 9 แรม 11 ค่ำ พ.ศ. 2112 กรุงศรีอยุธยาก็เสียเมืองให้แก่พม่า

เสียแม่ เสียพ่อ เสียพี่ เสียน้อง เสียทั้งครอบครัว มาบัดนี้ต้องมาเสียเมืองให้แก่อริราชศัตรูอีก แต่ชะตากรรมของพระวิสุทธิกษัตรีย์จะหมดสิ้นเท่านี้ก็หาไม่

เมื่อบุเรงนองทำพิธีปราบดาภิเษกพระมหาธรรมราชาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทนพระมหินทราธิราชแล้ว ก็ออกพระโอษฐ์ขอตัวพระนเรศ โอรสองค์กลางไปเป็นพระราชบุตรบุญธรรมที่หงสาวดีอีก พระหทัยพระวิสุทธิกษัตรีย์แทบสลาย เมื่อพระมหาธรรมราชาทรงรับปากถวาย ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าพระโอรสถูกนำไปในฐานะตัวจำนำในเมืองศัตรู

พระนเรศถูกส่งตัวไปประทับอยู่ ณ กรุงหงสาวดีถึง 6 ปี ทำให้ทรงทราบตื้นลึกหนาบาง กำลังฤทธิ์เดชและจุดอ่อนของพม่าเป็นอย่างดี ในพระราชหฤทัยทรงตระหนักดีว่าภารกิจการกู้ชาติเป็นของพระองค์ จึงเฝ้าอดทนรอวันที่จะได้ลุกขึ้นมาปลดปล่อยคนไทยออกจากการข่มเหงยึดครองของพม่า

เมื่อพระนเรศเจริญพระชันษาได้ 15 ปี พระมหาธรรมราชาก็เห็นเป็นโอกาสดีที่จะทรงขอพระราชโอรสกลับมาเป็นกำลังสำคัญกอบกู้บ้านเมือง เพื่อมิให้บุเรงนองแคลงพระทัย พระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรีย์จึงต้องส่งพระราชธิดาองค์โตไปแลกเปลี่ยน พระเจ้าหงสาวดีได้พระสุพรรณกัลยาไปเป็นพระชายาเหมือนอย่างตัวจำนำแทน ก็อนุญาตให้พระนเรศกลับมาช่วยบิดาปกครองบ้านเมือง

เมื่อพระสุพรรณกัลยาต้องทรงจากบ้านเมืองไปเป็นตัวประกันในราชสำนักพม่าอย่างโดดเดี่ยว ต้องทนรับสภาพความทุกข์เกินกว่าที่หญิงใดในโลกจะทนได้ ด้วยการตกเป็นชายาของกษัตริย์พม่าที่มีวัยสูงกว่ามากมายถึงสองพระองค์ เพราะเมื่อบุเรงนองสิ้นพระชนม์แล้ว ยังต้องทรงตกเป็นมเหสีของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงผู้โหดเหี้ยมสืบต่อมาอีกด้วย

การเสียสละของพระพี่นางครั้งนี้ส่งผลให้พระนเรศหรือสมเด็จพรนเรศวรได้มีโอกาสกลับคืนสู่มาตุภูมิ และทรงลุกขึ้นกอบกู้บ้านเมืองได้สำเร็จ ทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง ปลดปล่อยคนไทยจากการยึดครองของพม่า หลังจากนั้นทรงรบพุ่งเผชิญสงครามกับพม่าตลอดระยะเวลายาวนาน โดยทรงเอาชนะพม่าได้ทุกครั้งจนพระเกียรติระบือลือเลื่อง ในปี ๒๑๓๕ ทรงทำสงครามยุทธหัตถีครั้งประวัติศาสตร์กับพระมหาอุปราชา พระโอรสของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงที่หนองสาหร่าย สุพรรณบุรี ทรงจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์บนคอช้าง นับเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก

ทว่าวันแห่งชัยชนะต้องแลกมาด้วยหยาดโลหิตของผู้อยู่เบื้องหลัง พระสุพรรณกัลยาทรงทราบข่าวพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ด้วยพระหัตถ์พระอนุชา ก็ทรงตระหนักว่าวันที่ทรงรอคอยตลอดยี่สิบปีในดินแดนศัตรูมาถึงแล้ว ทรงยอมรับชะตากรรมอย่างกล้างหาญเด็ดเดี่ยวเมื่อพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทรงปรี่เข้ามาหาด้วยโทสะแรงกล้าที่เสียพระราชโอรส แล้วใช้พระแสงดาบฟันสุพรรณกัลยาจนสิ้นพระชนม์พร้อมพระราชธิดาพระองค์น้อย วินาทีนั้น ทรงรู้สึกเป็นอิสระยิ่งกว่าอิสระใดที่เคยทรงประสบมา

พระวิสุทธิกษัตรีย์ กษัตริยาผู้อาภัย มิได้ทรงทราบข่าวร้ายนี้เลยจนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ แม้ในวินาทีสุดท้ายบนภพมนุษย์ ยังทรงเต็มเปี่ยมในพระราชหฤทัยด้วยความหวัง ว่าสักวันหนึ่งจะได้กลับมาอยู่พร้อมหน้ากันห้าพระองค์อีกครั้ง

ที่มา : http://movie.sanook.com/drama/drama_06128.php

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


เรื่องย่อ จากภาพยนตร์
พุทธศักราช 2106 พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ทรงกรีฑาทัพเข้าตีราชอาณาจักรอยุธยาทางด่านระแหงแขวงเมืองตาก ทัพพม่ารามัญซึ่งมีรี้พลเหลือคณานับได้เข้ายึดครองหัวเมืองฝ่ายเหนือของราชอาณาจักรอยุธยาอันมีเมืองพิษณุโลกเป็นประหนึ่งเมืองราชธานีได้เป็นผลสำเร็จ

ครั้งนั้น สมเด็จพระมหาธรรมราชา พระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรหรือพระองค์ดำ ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินครองเมืองพิษณุโลก จำต้องยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนองเพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตอาณาประชาราษฎร์มิให้ต้องมีภยันตราย และจำต้องยอมร่วมกระบวนทัพพม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยา

ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้าแผ่นดินอยุธยาทรงยอมเจรจาหย่าศึกกับพม่ารามัญ และยอมถวายช้างเผือก 4 เชือก ทั้งให้สมเด็จพระราเมศวรราชโอรส โดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปประทับยังนครหงสาวดีตามพระประสงค์ของกษัตริย์พม่า ข้างสมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งได้ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนองก็ได้ถวายสมเด็จพระนเรศวรราชโอรสองค์โตให้ไปเป็นองค์ประกันประทับยังหงสาประเทศเฉกเช่นกัน ครั้งนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้เพียง 9 ชันษา

สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รักใคร่ของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองประดุจพระราชบุตรร่วมสายสันตติวงศ์ ด้วยองค์ยุพราชอยุธยาทรงมีพระปรีชาสามารถด้านพิชัยยุทธ ทั้งยังองอาจกล้าหาญสบพระทัยกษัตริย์พม่าซึ่งก็ทรงเป็นนักการทหาร นิยมผู้มีคุณสมบัติเป็นนักรบเยี่ยงพระองค์ พระเจ้าบุเรงนองทรงมีสายพระเนตรยาวไกล แลเห็นว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะได้ขึ้นเป็นใหญ่ในอุษาคเนย์ประเทศ จึงทรงคิดใคร่ปลูกฝังให้สมเด็จพระนเรศวรผูกพระทัยรักแผ่นดินหงสา เพื่อจะได้อาศัยพระองค์เป็นผู้สืบอำนาจอุปถัมภ์ค้ำชูราชอาณาจักรซึ่งพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นด้วยความยากลำบาก

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระเจ้าบุเรงนองนั้นหาได้วางพระทัยในพระราชโอรส คือ มังเอิน(พระเจ้านันทบุเรง) และพระราชนัดดามังสามเกียดนัก ถึงแม้ทั้งสองพระองค์จะทรงเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขโดยตรง ด้วยทรงเล็งเห็นว่าราชนิกุลทั้งสองพระองค์นั้น หาได้เป็นผู้ทรงคุณธรรมอันจะน้อมนำเป็นพื้นฐานให้เติบใหญ่เป็นบูรพกษัตริย์ ปกป้องครองแผ่นดินที่พระองค์ทรงสร้างและทำนุบำรุงมาด้วยกำลังสติปัญญาและความรักใคร่หวงแหน เหตุทั้งนี้เป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงและราชโอรส มังสามเกียดขัดพระทัย ทั้งผูกจิตริษยาสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองกว่าราชนิกุลข้างพม่าทั้งหลายทั้งสิ้น

พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่อง-พระรามัญผู้มากด้วยวิทยาคุณและเจนจบ ในตำราพิชัยสงครามเป็นพระอาจารย์ถ่ายทอดศิลปะวิทยาการแก่สมเด็จพระนเรศวร นับแต่เริ่มเข้าประทับในหงสานคร ยังผลให้ยุพราชอยุธยาเชี่ยวชาญการยุทธ กลช้าง กลม้า กลศึก ทั้งข้างอยุธยาและข้างพม่ารามัญหาผู้เสมอเหมือนมิได้ ข้อได้เปรียบตามกล่าวเป็นเสมือนทุนทางปัญญาอันส่งผลให้สมเด็จพระนเรศวรสามารถกอบกู้เอกราช แก้ทางศึกจนมีชัยเหนือพม่ารามัญในภายภาคหน้า

พุทธศักราช 2112 ปรากฏข่าวระบือไปถึงหงสาวดีว่าหัวเมืองพิษณุโลกฝ่ายเหนือ แลกรุงศรีอยุธยาราชธานีฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรสยามครั้งนั้นเกิดขัดแย้งปีนเกลียวกัน เหตุเนื่องมาจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้าแผ่นดินอยุธยาเสด็จออกผนวช แลสถาปนาสมเด็จพระมหินทร์ราชโอรสองค์รองขึ้นเสวยราชสมบัติสืบแทน

สมเด็จพระมหินทร์ทรงคลางแคลงพระทัยในความจงรักภักดีของสมเด็จพระมหาธรรมราชา แต่ครั้งสงครามชิงช้างเผือกในปีพุทธศักราช 2106 ขณะที่เจ้าแผ่นดินพิษณุโลกก็หาได้ยำเกรงสมเด็จพระมหินทร์เช่นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อเห็นการใดมิควรก็บังคับบัญชาให้สมเด็จพระมหินทร์ปฏิบัติตามพระประสงค์จนเป็นที่ขุ่นเคืองพระราชหฤทัยกษัตริย์อยุธยาพระองค์ใหม่ ถึงกับหันไปสมคบกับสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ร่วมกันแต่งกลเข้าตีเมืองพิษณุโลก แต่กระทำการมิสำเร็จ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเห็นเชิงสบโอกาสก็ยกทัพใหญ่เข้าตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบ

ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรร่วมโดยเสด็จมากับทัพหงสา แต่หาได้ตามพระเจ้าบุเรงนองลงมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ทรงประทับอยู่เพียงเมืองพิษณุโลก มีเพียงสมเด็จพระมหาธรรมราชาโดยเสด็จกษัตริย์หงสาลงมาล้อมกรุงด้วย ตั้งพระทัยจะเกลี้ยกล่อมให้สมเด็จพระมหินทร์ยอมสวามิภักดิ์พระเจ้าบุเรงนอง เพราะเล็งเห็นว่าอยุธยายากจะต่อรบเอาชัยทัพพม่ารามัญซึ่งมีกำลังไพร่พลเหนือกว่าได้ หากขัดขืนต่อรบจะได้ยากแก่สมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎร์ ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงลาผนวชมาบัญชาการรบด้วยพระองค์เอง แต่อยู่ได้มิช้านานก็เสด็จสวรรคตเสียระหว่างศึก. ในพุทธศักราช 2112 มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 11 ค่ำ กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง

ข้างสมเด็จพระนเรศวรซึ่งประทับอยู่ยั้งยังนครพิษณุโลกแต่ต้นศึก หาได้ทรงเห็นงามหรือคิดครั่นคร้ามอ่อนน้อมต่อหงสา ถึงจะทรงรู้ซึ้งว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดามิได้คิดคดเป็นกบฏต่อแผ่นดิน แต่ก็หาได้เห็นด้วยกับการอ่อนข้อสวามิภักดิ์พม่ารามัญ น้ำพระทัยอันมั่นคงเด็ดเดี่ยวนั้น ถึงแม้จะมิได้แพร่งพรายถึงพระกรรณพระเจ้าบุเรงนอง แต่ก็ประจักษ์อยู่ในหมู่ข้าราชบริพารใกล้ชิดผู้รักและหวงแหนในเอกราชของแผ่นดิน จึงพากันนิยมในน้ำพระทัย แลพร้อมใจถวายความจงรักภักดีแต่นั้นมา

ครั้นเสร็จศึกอยุธยาพุทธศักราช 2112 สมเด็จพระมหาธรรมราชา ทรงถวายพระสุพรรณกัลยา พระพี่นางสมเด็จพระนเรศวร แก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง แลขอตัวสมเด็จพระนเรศวรไว้ช่วยราชการข้างอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรจึงประทับยั้งอยู่ยังเมืองพิษณุโลก สืบต่อมา ครั้นลุปีพุทธศักราช 2114 สมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งพระเจ้าบุเรงนองสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากสมเด็จพระมหินทร์ ก็โปรดให้สมเด็จพระนเรศวรเสวยราชย์ครองเมืองพิษณุโลก เป็นใหญ่เหนือหัวเมืองเหนือทั้งปวง

เหตุการณ์ข้างพม่า หลังจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ในปีพุทธศักราช 2124 พระเจ้านันทบุเรงได้ขึ้นเสวยราชสืบต่อ และได้สถาปนามังสามเกียดขึ้นเป็นรัชทายาทครองตำแหน่งมหาอุปราชาแห่งราชอาณาจักรหงสาวดี เมื่อแผ่นดินหงสามีอันต้องผลัดมือมาอยู่ในปกครองของ พระเจ้านันทบุเรง สัมพันธไมตรีระหว่างอยุธยาและหงสาวดีก็เริ่มสั่นคลอน ด้วยพระเจ้าหงสาวดีพระองค์ใหม่มิได้วางพระทัยในสมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระนเรศวรเองก็หาได้เคารพยำเกรงในบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินพม่ารามัญเช่นกาลก่อน

มิเพียงเท่านั้น สมเด็จพระนเรศวรยังได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถให้เป็นที่ปรากฏครั่นคร้าม ดังคราวนำกำลังทำยุทธนาวีกับพระยาจีนจันตุ และศึกเมืองคังเป็นอาทิ พระเจ้านันทบุเรงทรงเกรงว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะเป็นภัยต่อพระราชวงศ์แลแผ่นดินหงสา จึงหาเหตุวางกลศึก หมายจะปลงพระชนม์สมเด็จพระนเรศวรเสียที่เมืองแครง

แต่พระมหาเถรคันฉ่องพระราชครูลอบนำแผนประทุษร้ายนั้นมาแจ้งให้ศิษย์รักได้รู้ความ สมเด็จพระนเรศวรจึงถือเป็นเหตุประกาศเอกราช ตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี แลกวาดต้อนครัวมอญไทยข้ามแม่น้ำสะโตงกลับคืนพระนคร ซึ่งเป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงเปิดมหายุทธสงครามสั่งทัพเข้ารุกรานราชอาณาจักรอยุธยาสืบแต่นั้นมา

ที่มา : http://www.midnightuniv.org/midnight2544/0009999712.html