สโตนเฮนจ์
สโตนเฮนจ์: วิหารแห่งจักรวาลหรือไร?
แนวหินวงกลมดึกดำบรรพ์ขนาดมหึมาแห่งสโตนเฮนจ์ยืนยงผ่านความลึกลับทางศาสนาแลศิลปวิทยาการมาสมัยแล้วสมัยเล่า
สโตนเฮนจ์เป็นปริศนานิรันดร์กาลของคนในโลกปัจจุบัน
เป็นความมหัศจรรย์แห่งสถาปัตยกรรม
เป็นจินตนาการของมนุษย์ชาติที่น่ายกย่องสรรเสริญ
แต่จริง ๆ แล้วสโตนเฮนจ์คืออะไร สุสานศักดิ์สิทธิ์หรือหอดูดาวของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์? สโตนเฮนจ์ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่กลางที่ราบซอลส์เบอรีในมณฑลวิลด์เซอร์นั้น
เป็นปริศนาเก่าแก่คู่พื้นพิภพ วิหารแห่งซอลส์เบอรีอันงดงามซึ่งอยู่ห่างออกไป 13 กม. และมีอายุถึงเจ็ดศตวรรษกลายเป็นโบราณสถานที่มีอายุอ่อนเยาว์เมื่อเทียบกับความเก่าแก่ของแนวหินอันใหญ่โตโอฬารนี้ แท่งหินขนาดมหึมาตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกันหลายวงนี้เป็นสิ่งก่อสร้างซึ่ง
ได้รักบการดัดแปลงไปในแต่ละยุคสมัยภายในช่วงเวลานับพันปี การก่อสร้างสโตนเฮนจจ์นั้นทำสืบเนื่องกันมาถึง 3-4 ระยะในช่วงเวลาประมาณ 1,500 ปี จากยุคหินตอนปลายจนถึงยุคสำริดตอนต้นแต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1,800-1,400 ปีก่อนคริสต์กาล ซากปรักหักพังที่หลงเหลืออยู่เป็นเพียงเงาของอีตาลอันรุ่นโรจน์ แนวหินกว่าครึ่งได้หักลงบ้าง หายไปบ้าง บางส่วนก็ทับถมกันอยู่ใต้ดิน การก่อสร้างเริ่มขึ้นในราว 2,8000 ปีก่อนคริสต์กาล (ผู้เชี่ยวชาญบางท่านก็ว่าเมื่อ 3,800 ปี) โดยเริ่มจากการขุดร่องวงกลมขนาดใหญ่ 56 หลุมเรียงเป็นวงกลมภายในวงดินนั้น หลุมเหล่านี้เรียกกันว่า หลุมออบรีย์ ตามชื่อจอห์น ออบรีย์ผู้ค้นพบในคริสต์ศตวรรษ 17 ปัจุบันหลุมดังกล่าวลาดทับด้วยปูบซีเมนต์ แต่หินแท่งแรกซึ่งเรียกกันว่าหินฮีล (Heel Stone) ที่ประจำอยู่ปากทางเข้าวงดินยังคงตั้งอยู่ในตำแหน่งเดิม หลุมซึ่งขุดเรียงกันเป็นวงกลมอีกสองวงถัดเข้าไปเรียกกันว่าหลุม Y และหลุม Z วงหลุมทั้งสองนี้คั่นอยู่ระหว่างวงหลุมออบรีย์ที่เป็นวงนอกและวงแท่งหินขนาดมหึมาตรงใจกลางวงดินสันนิษฐานว่าวงหลุม Y และ Z อาจมีความสำคัญในเชิงดาราศาสตร์ ในราว 2,100 ปีก่อนคริสต์กาล มีการนำหินสีน้ำเงิน (bluestone) 80 ก้อนจากแคว้นเวลส์มาเรียงเป็นวงกลมสองวงซ้อนกันแต่ต่อมามีการนำแท่งหินทรายขนาดใหญ่ 30 แท่ง ที่เรียว่าหินซาร์เซน(sarsen) มาเรียงเป็นวงกลมวงเดียวแทนที่วงหินสี่น้ำเงิน สองวงวงเดิมภายในวงหินทรายมีหมู่ หินเรียงเป็นรูปกึ่ง ๆ รูปเกือกม้าอีกสองหมู่หมู่ที่อยู่ด้านนอกประกอบด้วยหินทรายก่อเป็นรูปไตรลิธอนห้ากลุ่ม(Trilithon คือกลุ่มหินที่ประกอบด้วยหินสามแท่ง สองแท่งตั้งขึ้นคู่กันและแท่งที่สามวางพาดเป็นคานในแนวนอน) ส่วนเกือกม้าด้านในประกอบด้วยหินสีน้ำเงินขัดแต่ง 19 แท่ง สถาปัตยกรรมนี้เป็นความสำเร็จอันน่าทึ่ง เมื่อคิดดูว่าเครื่องมือขุดดินที่ผู้สร้างในยุคหินใหม่ใช้เป็นเพียงเสียมที่ทำจากเขากวางแดงเท่านั้น ชาวแซกซันเป็นผู้ขนาดนามวงหินเหล่านี้ว่า สโตนเฮนจ์ซึ่งเแปลตรงตัวว่า "หินที่แขวนอยู่" (Hanging Stone) ส่วนบันทึกจากสมัยกลางตั้งชื่อวงหินนี้อย่างไพเราะว่า กลุ่มยักษ์เริงระบำ (The Giants Dance)
แม้ว่านักวิชาการส่วนใหญ่จะเห็นพ้องต้องกันว่าสโตนเฮนจ์เป็นสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องลึกลับ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วมันมีไว้เพื่ออะไร มีการเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ นานา เช่น อินิโก โจนส์ สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เชื่อว่าสโตนเฮนจ์เป็นซากปรักหักพังของวิหารโรมัน แต่คนในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ยืนยันว่าเป็นวิหารซึ่งพวกลัทธิดรูอิดใช้ประกอบพิธีบูชาพระอาทิตย์และบูชายัญมนุษย์ ความคิดนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ เราะสโตนเฮนจ์นั้นสร้างเสร็จอย่างน้อย 1,000 ปีก่อนลัทธิดังกล่าวจะเฟื่องฟู กระทั่งเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เองที่เราเริ่มได้ข้เท็จจริงบ้าง นักโบราณคดี สามารถคำนวณหาอายุ และสรุปเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการก่อสร้างสโตนเฮนจ์ได้อย่างสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น แต่ข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริงก็ยังนับว่าน้อยอยู่มาก หินซาร์เซนที่เรียงเป็นวงด้านนอกแต่ละก้อนสูง 5 ม และหนักประมาณ26 ตัน หินเหล่านี้ชักลากมาจากทุ่งโล่งมาร์ลโบโร ดาวน์ส (Marlborough Downs)ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 32 กม. แล้วนำมาขัดแต่งและประดิษฐ์ให้มีสลักและเดือยอย่างดี ทำแท่งหินคู่ที่ตั้งและคานหินที่ใช้พาดเกาะเกี่ยวกันอย่างมั่นคง ส่วนหินสีน้ำเงินก้อนใหญ่ที่สุดซึ่งหนักถึงสี่ตันนำมาจากภูเขาพรีเซลีทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นเวลส์นั้น สันนิษฐานว่าใช้แพลำเลียงล่องมาตามชายฝั่งเวลส์และแม่น้ำเอวอน แล้วชักลากต่อมาทางบก นักโบราณคดีส่วนใหญ่เชื่อว่า สโตนเฮนจ์เป็นสถานที่ประกอบพิธีฝั่งศพ โดยพิจารณาจากหลักฐานว่านอกเหนือจากสโตนเฮนจ์แล้ว มีการสร้างสุสานมูนดินในหลุม ออบรีย์หลายหลุม แต่ก็มีหลักฐานหักล้างว่าหลุมดังกล่าวขุดขึ้นนานก่อนที่จะมีการเผาศพในบริเวณนี้ บ้างก็สันนิษฐานว่าหลุมออบรีย์อาจใช้เป็นส่วนหนึ่งใน พิธีไหว้ด้วยสุรา เช่น ชาวนาอาจเทเหล้าองุ่นลงในหลุมเพื่อบวงสรวงเทพเจ้าแห่งธรรมชาติทั้งหลาย และวงหินสโตนเฮนจ์ก็อาจจะเป็นวิหารสำหรับทำพิธีบวงสรวงดังกล่าว ไม่นานมานี้ มีนักดาราศาสตร์อ้างว่าสามรถถอดรหัสแนวหินได้เขาเสนอว่าสโตนเฮนจ์ คือ เครื่องคำนวนยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งใช้เป็นปฏิทินดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ เพราะแนวของหินกลุ่มก้องต่าง ๆ ล้วนมีความสัมพันธ์กับแนวการเคลื่อนของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวพระเคราะห์ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทฤษฏีทั้งหลายในปัจจุบันจะมีตัวเลขและสถิติสนับสนุนว่าเป็นจริง แต่ก็ยังไม่มีแนวคิดใดไขปริศนาลึกลับแห่งอดีตของสโตนเฮนจ์ได้อย่างสมบูรณ์
สโตนเฮนจ์: วิหารแห่งจักรวาลหรือไร?
แนวหินวงกลมดึกดำบรรพ์ขนาดมหึมาแห่งสโตนเฮนจ์ยืนยงผ่านความลึกลับทางศาสนาแลศิลปวิทยาการมาสมัยแล้วสมัยเล่า
สโตนเฮนจ์เป็นปริศนานิรันดร์กาลของคนในโลกปัจจุบัน
เป็นความมหัศจรรย์แห่งสถาปัตยกรรม
เป็นจินตนาการของมนุษย์ชาติที่น่ายกย่องสรรเสริญ
แต่จริง ๆ แล้วสโตนเฮนจ์คืออะไร สุสานศักดิ์สิทธิ์หรือหอดูดาวของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์? สโตนเฮนจ์ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่กลางที่ราบซอลส์เบอรีในมณฑลวิลด์เซอร์นั้น
เป็นปริศนาเก่าแก่คู่พื้นพิภพ วิหารแห่งซอลส์เบอรีอันงดงามซึ่งอยู่ห่างออกไป 13 กม. และมีอายุถึงเจ็ดศตวรรษกลายเป็นโบราณสถานที่มีอายุอ่อนเยาว์เมื่อเทียบกับความเก่าแก่ของแนวหินอันใหญ่โตโอฬารนี้ แท่งหินขนาดมหึมาตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกันหลายวงนี้เป็นสิ่งก่อสร้างซึ่ง
ได้รักบการดัดแปลงไปในแต่ละยุคสมัยภายในช่วงเวลานับพันปี การก่อสร้างสโตนเฮนจจ์นั้นทำสืบเนื่องกันมาถึง 3-4 ระยะในช่วงเวลาประมาณ 1,500 ปี จากยุคหินตอนปลายจนถึงยุคสำริดตอนต้นแต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1,800-1,400 ปีก่อนคริสต์กาล ซากปรักหักพังที่หลงเหลืออยู่เป็นเพียงเงาของอีตาลอันรุ่นโรจน์ แนวหินกว่าครึ่งได้หักลงบ้าง หายไปบ้าง บางส่วนก็ทับถมกันอยู่ใต้ดิน การก่อสร้างเริ่มขึ้นในราว 2,8000 ปีก่อนคริสต์กาล (ผู้เชี่ยวชาญบางท่านก็ว่าเมื่อ 3,800 ปี) โดยเริ่มจากการขุดร่องวงกลมขนาดใหญ่ 56 หลุมเรียงเป็นวงกลมภายในวงดินนั้น หลุมเหล่านี้เรียกกันว่า หลุมออบรีย์ ตามชื่อจอห์น ออบรีย์ผู้ค้นพบในคริสต์ศตวรรษ 17 ปัจุบันหลุมดังกล่าวลาดทับด้วยปูบซีเมนต์ แต่หินแท่งแรกซึ่งเรียกกันว่าหินฮีล (Heel Stone) ที่ประจำอยู่ปากทางเข้าวงดินยังคงตั้งอยู่ในตำแหน่งเดิม หลุมซึ่งขุดเรียงกันเป็นวงกลมอีกสองวงถัดเข้าไปเรียกกันว่าหลุม Y และหลุม Z วงหลุมทั้งสองนี้คั่นอยู่ระหว่างวงหลุมออบรีย์ที่เป็นวงนอกและวงแท่งหินขนาดมหึมาตรงใจกลางวงดินสันนิษฐานว่าวงหลุม Y และ Z อาจมีความสำคัญในเชิงดาราศาสตร์ ในราว 2,100 ปีก่อนคริสต์กาล มีการนำหินสีน้ำเงิน (bluestone) 80 ก้อนจากแคว้นเวลส์มาเรียงเป็นวงกลมสองวงซ้อนกันแต่ต่อมามีการนำแท่งหินทรายขนาดใหญ่ 30 แท่ง ที่เรียว่าหินซาร์เซน(sarsen) มาเรียงเป็นวงกลมวงเดียวแทนที่วงหินสี่น้ำเงิน สองวงวงเดิมภายในวงหินทรายมีหมู่ หินเรียงเป็นรูปกึ่ง ๆ รูปเกือกม้าอีกสองหมู่หมู่ที่อยู่ด้านนอกประกอบด้วยหินทรายก่อเป็นรูปไตรลิธอนห้ากลุ่ม(Trilithon คือกลุ่มหินที่ประกอบด้วยหินสามแท่ง สองแท่งตั้งขึ้นคู่กันและแท่งที่สามวางพาดเป็นคานในแนวนอน) ส่วนเกือกม้าด้านในประกอบด้วยหินสีน้ำเงินขัดแต่ง 19 แท่ง สถาปัตยกรรมนี้เป็นความสำเร็จอันน่าทึ่ง เมื่อคิดดูว่าเครื่องมือขุดดินที่ผู้สร้างในยุคหินใหม่ใช้เป็นเพียงเสียมที่ทำจากเขากวางแดงเท่านั้น ชาวแซกซันเป็นผู้ขนาดนามวงหินเหล่านี้ว่า สโตนเฮนจ์ซึ่งเแปลตรงตัวว่า "หินที่แขวนอยู่" (Hanging Stone) ส่วนบันทึกจากสมัยกลางตั้งชื่อวงหินนี้อย่างไพเราะว่า กลุ่มยักษ์เริงระบำ (The Giants Dance)
แม้ว่านักวิชาการส่วนใหญ่จะเห็นพ้องต้องกันว่าสโตนเฮนจ์เป็นสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องลึกลับ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วมันมีไว้เพื่ออะไร มีการเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ นานา เช่น อินิโก โจนส์ สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เชื่อว่าสโตนเฮนจ์เป็นซากปรักหักพังของวิหารโรมัน แต่คนในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ยืนยันว่าเป็นวิหารซึ่งพวกลัทธิดรูอิดใช้ประกอบพิธีบูชาพระอาทิตย์และบูชายัญมนุษย์ ความคิดนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ เราะสโตนเฮนจ์นั้นสร้างเสร็จอย่างน้อย 1,000 ปีก่อนลัทธิดังกล่าวจะเฟื่องฟู กระทั่งเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เองที่เราเริ่มได้ข้เท็จจริงบ้าง นักโบราณคดี สามารถคำนวณหาอายุ และสรุปเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการก่อสร้างสโตนเฮนจ์ได้อย่างสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น แต่ข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริงก็ยังนับว่าน้อยอยู่มาก หินซาร์เซนที่เรียงเป็นวงด้านนอกแต่ละก้อนสูง 5 ม และหนักประมาณ26 ตัน หินเหล่านี้ชักลากมาจากทุ่งโล่งมาร์ลโบโร ดาวน์ส (Marlborough Downs)ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 32 กม. แล้วนำมาขัดแต่งและประดิษฐ์ให้มีสลักและเดือยอย่างดี ทำแท่งหินคู่ที่ตั้งและคานหินที่ใช้พาดเกาะเกี่ยวกันอย่างมั่นคง ส่วนหินสีน้ำเงินก้อนใหญ่ที่สุดซึ่งหนักถึงสี่ตันนำมาจากภูเขาพรีเซลีทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นเวลส์นั้น สันนิษฐานว่าใช้แพลำเลียงล่องมาตามชายฝั่งเวลส์และแม่น้ำเอวอน แล้วชักลากต่อมาทางบก นักโบราณคดีส่วนใหญ่เชื่อว่า สโตนเฮนจ์เป็นสถานที่ประกอบพิธีฝั่งศพ โดยพิจารณาจากหลักฐานว่านอกเหนือจากสโตนเฮนจ์แล้ว มีการสร้างสุสานมูนดินในหลุม ออบรีย์หลายหลุม แต่ก็มีหลักฐานหักล้างว่าหลุมดังกล่าวขุดขึ้นนานก่อนที่จะมีการเผาศพในบริเวณนี้ บ้างก็สันนิษฐานว่าหลุมออบรีย์อาจใช้เป็นส่วนหนึ่งใน พิธีไหว้ด้วยสุรา เช่น ชาวนาอาจเทเหล้าองุ่นลงในหลุมเพื่อบวงสรวงเทพเจ้าแห่งธรรมชาติทั้งหลาย และวงหินสโตนเฮนจ์ก็อาจจะเป็นวิหารสำหรับทำพิธีบวงสรวงดังกล่าว ไม่นานมานี้ มีนักดาราศาสตร์อ้างว่าสามรถถอดรหัสแนวหินได้เขาเสนอว่าสโตนเฮนจ์ คือ เครื่องคำนวนยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งใช้เป็นปฏิทินดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ เพราะแนวของหินกลุ่มก้องต่าง ๆ ล้วนมีความสัมพันธ์กับแนวการเคลื่อนของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวพระเคราะห์ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทฤษฏีทั้งหลายในปัจจุบันจะมีตัวเลขและสถิติสนับสนุนว่าเป็นจริง แต่ก็ยังไม่มีแนวคิดใดไขปริศนาลึกลับแห่งอดีตของสโตนเฮนจ์ได้อย่างสมบูรณ์
ท่านสามารถดาวน์โหลดข้อมูลในรูปแบบ Microsoft Word ได้ที่นี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น