วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

เทคนิคการเรียนให้เก่ง

เทคนิคการเรียนให้เก่ง
พูดถึงเรื่องเรียน ใครๆ ก็อยากเก่งกันทุกคน แต่คงมีหลายคน ที่อาจจะท้อแท้กับการเรียน นักวิชาการและนักวิจัยต่างๆ ได้ทำการสำรวจและวิจัย พบว่าเทคนิคการเรียนต่างๆ จากหลายๆคนแตกต่างกันไป ก็เลยนำมาเสนอให้เพื่อนๆ ที่สนใจได้อ่านด้วย เราไปดูกันดีกว่าว่า การเรียน เก่ง เขามีเทคนิคอะไร ยังไงจากการวิจัยและวิเคราะห์ของนักแนะแนวการศึกษาและนักจิตวิทยาหลายคนพบว่า ผู้ที่เรียนไม่ค่อยประสบความสำเร็จหรือเรียนแบบไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ได้แก่ผู้ที่มีลักษณะดังนี้
1.เป็นคนที่มักละทิ้งงานไว้ก่อนก่อนจึงค่อยทำ เมื่อถึงนาทีสุดท้าย
2.เสียสมาธิ หันเห ความสนใจไปจากการเรียนได้โดยง่าย
3.เมื่อทำงานที่ยากๆ จะสูญเสียความสนใจ หรือขาดความมานะ พยายามนั่นเอง
4.มักใช้เรื่องของการสอบ เป็นเครื่องกระตุ้นการเรียน
5.ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีตารางการทำงานอย่าวงสม่ำ

การเรียนที่มีประสิทธิภาพควรมีลักษณะดังนี้
1.ควรมีตารางเรียนและทำงานตรงตามเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ
2.ทำงานในระยะเวลาที่ไม่นานนักและควรมีการหยุดพักผ่อน
3.ไม่ปล่อยงานค้างไว้จนวินาทีสุดท้าย
4.ควรตั้งสมาธิให้แน่วแน่ ไม่เสียสมาธิง่าย
5.อย่าใช้การสอบเป็นแรงจูงใจในการอ่านหนังสือ
6.ควรอ่านหนังสือก่อนเข้าห้องเรียนตามสมควร
7.เข้าฟังการบรรยาย สัมมนาแล้วควรกลับไปอ่านทบทวน
8.พยายามอย่าละเลยวิชาที่ยากกว่าวิชาอื่นๆ
9.ควรมีความรู้ในการใช้บริการห้องสมุดด้วยเป็นดี
10.ปรับปรุงคำบรรยาย ที่จดจากห้องเรียนให้กระชับ กะทัดรัดและเข้าใจง่าย
11.พยายามทำให้การเรียนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และสนุกสนานกับมัน
12.ควรมีแรงกระตุ้นกับมันและไม่ควรทำงานหนักเกินไปในวันหยุด
13.เมื่อพยายามปฏิบัติทุกข้ออย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้เรียนได้ดี

วิธีการเรียนให้เก่ง
1.ฝึกสังเกต สังเกตในสิ่งที่เราเห็น หรือสิ่งแวดล้อม เช่น ไปดูนก ดูผีเสื้อ หรือในการทำงาน การฝึกสังเกตจะทำให้เกิดปัญญามาก โลกทรรศน์ และวิธีคิด สติ - สมาธิ จะเข้าไปมีผลต่อการสังเกต และสิ่งที่สังเกต
2.ฝึกบันทึก เมื่อสังเกตอะไรแล้วควรฝึกบันทึก โดยจะวาดรูปหรือ บันทึกข้อความ ถ่ายภาพ ถ่ายวีดิโอ ละเอียดมากน้อยตามวัยและ ตามสถานการณ์การบันทึกเป็นการพัฒนาปัญญา
3.ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุม กลุ่ม เมื่อ มีการทำงานกลุ่ม เรา ไปเรียนรู้อะไรมาบันทึกอะไรมา จะนำเสนอให้เพื่อนหรือครูรู้เรื่อง ได้อย่างไร ก็ต้องฝึกการนำเสนอการนำเสนอได้ดีจึงเป็นการพัฒนา ปัญญาทั้งของผู้นำเสนอและของกลุ่ม
4.ฝึกการฟัง ถ้ารู้จักฟังคนอื่นก็จะทำให้ฉลาดขึ้น โบราณเรียกว่า เป็นพหูสูตบางคนไม่ได้ยินคนอื่นพูด เพราะหมกมุ่นอยู่ในความคิด ของตัวเองหรือมีความฝังใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนเรื่องอื่นเข้าไม่ได้ ฉันทะ สติ สมาธิ จะช่วยให้ฟังได้ดีขึ้น
5.ฝึกปุจฉา - วิสัชนา เมื่อมีการนำเสนอและการฟังแล้ว ฝึกปุจฉา - วิสัชนา หรือถาม - ตอบ ซึ่งเป็นการฝึกใช้เหตุผล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำ ให้เกิดความแจ่มแจ้งในเรื่องนั้นๆ ถ้าเราฟังครูโดยไม่ถาม - ตอบ ก็ จะไม่แจ่มแจ้ง
6.ฝึกตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม เวลาเรียนรู้อะไรไปแล้ว เรา ต้องสามารถตั้งคำถามได้ว่า สิ่งนี้คืออะไร สิ่งนั้นเกิดจากอะไร อะไรมีประโยชน์ ทำอย่างไรจะสำเร็จประโยชน์อันนั้น และมีการ ฝึกการตั้งคำถาม ถ้ากลุ่มช่วยกันคิดคำถามที่มีคุณค่าและมีความ สำคัญ ก็จะอยากได้คำตอบ
7.ฝึกการค้นหาคำตอบ เมื่อมีคำถามแล้วก็ควรไปค้นหาคำตอบ จากหนังสือ จากตำรา จากอินเตอร์เน็ต หรือไปคุยกับคนเฒ่าคน แก่ แล้วแต่ธรรมชาติของคำถาม การค้นหาคำตอบต่อคำถามที่ สำคัญจะสนุก
ที่มา ; http://sericu.exteen.com/20080916/entry

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น