อุทธยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
ที่ตั้ง บ้านตาเป๊ก ตำบลตาเป๊ก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ประวัติ ปราสาทพนมรุ้งเป็น เทวาลัยในศาสนาฮินดู ปรางค์อิฐองค์แรกสร้างขึ้นเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรตที่ ๑๕ และเชื่อกันว่าได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดย พระเจ้าราเชนวรมันที่ 2 (พ.ศ.1489 – 1511) และพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ.1511 - 1544) กษัตริย์เขมร ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ ศาสนาฮินดู ไศวะนิกาย ลัทธิดังกล่าวรุ่งเรืองตลอดพุทธศตวรรษที่ 17 จนถึงพุทธศตวรรษที่18 ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงถูกเปลี่ยนเป็น พุทธศาสนสถาน นิกายมหายานองค์ประกอบของโบราณสถานปราสาทพนมรุ้ง ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างจาก เชิงเขา-ยอดเขา ตามลำดับคือ สิ่งก่อสร้างนอกระเบียงชั้นนอก, ระเบียงชั้นนอก, ระเบียงคดชั้นใน และโบราณสถาน ที่สร้างด้วยหินทรายและศิลาแลงภายในระเบียงคดชั้นในจำนวน 6 หลัง ดังนี้บันไดต้นทาง จากตระพักเข้าด้านล่างทางทิศตะวันออก ก่อด้วยศิลาแลงเป็นชั้น ๆ 3 ชุด สุดบันไดเป็นชาลารูปกากบาทพลับพลา(มีชื่อตามทะเบียนโบราณสถานว่าโรงช้างเผือกพนมรุ้ง) เป็นอาคารโถงสร้างด้วยหินทราย และศิลาแลง มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 6.40X20.40 เมตร ตั้งอยู่เยื้องชาลารูปกากบาทไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 13 เมตร อาคารหลังนี้คงจะใช้เป็นที่พักเปลื้องเครื่องทรงของกษัตริย์ และจัดกระบวนเสด็จ ก่อนที่จะเสด็จขึ้นไปประกอบพิธีกรรม บนปราสาทพนมรุ้งเมื่อพิจารณาจากวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างคือ มีการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก ในการก่อสร้างและ ลวดลายกลีบบัวที่จำหลักบนหัวเสา และลายดอกไม้มีกลีบบนยอดเสาเป็น ลักษณะของศิลปะขอม แบบบายน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 แต่เศียรนาคที่กรอบหน้าบันเป็นลักษณะของศิลปะขอม แบบคลัง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 แสดงถึงการนำวัสดุเก่ามาใช้ ซึ่งอาจจะเป็นวัสดุเก่าจากที่แห่งอื่น หรือเป็นวัสดุเก่าของอาคารหลังนี้เองก็ได้ทางดำเนิน เป็นทางเดินที่ต่อมาจากบันไดชาลารูปกากบาท ปูพื้นด้วยศิลาแลงขอบเป็นหินทราย มีขนาด 160X9.20 เมตร บนขอบหินทรายเป็นเสาหินทรายยอดคล้ายดอกบัวตูม สูง 1.60 เมตร จำนวน 68 ต้น ตั้งเรียงกันเป็นระยะ ๆ ตรงกันทั้ง 2 แถวสะพานนาคราช สร้างด้วยหินทราย มีแผนผังเป็นรูปกากบาท มี 3 ช่อง คือ ช่องแรกที่หน้าซุ้มประตูทางเข้าสู่ปราสาท มีขนาด 8.20X20 เมตร ยกพื้นสูงจากถนน 1.50 เมตร ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชช่วงนี้ เป็นจุดเชื่อมทางดำเนิน กับบันไดทางขึ้นปราสาท และ ทางสู่สระน้ำช่วงที่ 2 อยู่ภายในระเบียงคดตรงหน้าปรางค์ประธานมีขนาด 5.20X12.40 เมตร ยกระดังสูง 3.40X9.9 เมตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17บันไดขึ้นปราสาท สร้างด้วยหินทราย ตั้งอยู่ต่อจากสะพานนาคราชช่วงแรก เป็นทางเดินขึ้นไปยังลานบนยอดเขา มีขนาด 16X52 เมตร สูง 10 เมตร มี 5 ชั้น แต่ละชั้นมีชานพัก บันไดขึ้นปราสาทนี้มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 ทางสู่ปราสาท คือ บันไดทางขึ้นทั้งสองข้างของบันไดขึ้นปราสาทชั้นที่ 4ระเบียงชั้นนอก เป็นทางเดินโล่งยกพื้นเตี้ย ๆ ปูพื้นด้วยศิลาแลง บรรจบกับทางเดินเข้าสู่ปราสาททางด้านข้างทั้งสองข้าง บริเวณลานภายในวงล้อมของ ระเบียงชั้นนอกด้านทิศใต้ทางซีกตะวันออก มีร่องรอยว่าเคยมีสิ่งก่อสร้างอื่นอยูด้วยซุ้มประตู และระเบียงคดชั้นใน สร้างด้วยหินทราย และศิลาแลง ลักษณะเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาคลุมแต่ไม่ทะลุถึงกันเนื่องจากทำผนังกั้นเป็นช่อง ๆ ระเบียงคดทางด้านทิศตะวันออก และตะวันตกมีขนาด 2.6X59 เมตร ด้านทิศเหนือ-ใต้ ยาวประมาณ 68 เมตร ระเบียงทั้ง 4 ด้าน มีซุ้มประตูอยู่ตรงกลางด้านละ 1 ประตู และมีซุ้มประตูรองอีกด้านละ 2 ประตู ยกเว้นด้านทิศเหนือมีซุ้มประตูกลางเพียงประตูเดียว ระเบียงด้านทิศตะวันออกเจาะเป็นช่องตื้น ๆ ผนังด้านนอกสลักเป็นหน้าต่างปลอม ผนังด้านในเจาะช่องหน้าต่างจริงเป็นระยะ ๆ ระเบียงด้านตะวันตกมีแต่หน้าต่างหลอก ด้านทิศเหนือและใต้เจาะช่องหน้าต่างที่ผนังด้านใน ภายในระเบียงคดชั้นใน ประกอบด้วยโบราณสถานสร้างด้วยหินทรายและศิลาแลง 6หลังคือ ก.ปรางค์ประธาน สร้างด้วยหินทราย ตั้งอยู่กลางลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุม ขนาด 8.20X8.20 เมตร สูง 27 เมตร มีมุข 2 ชั้น ทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก อายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ 16-17ข.ปรางค์น้อย สร้างด้วยหินทรายและศิลาแลง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์ประธาน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุม ขนาด 6X6 เมตร ส่วนยอดหักหายไป อายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ 16ค.ปรางค์อิฐ 2 องค์ สร้างด้วยอิฐและหินทราย ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับปรางค์ประธานด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ องค์หนึ่งมีขนาด 5X5 เมตร หันหน้าไปทางทิศใต้ อายุสมัยราวกลางพุทธศตวรรษที่ 15ง.บรรณาลัย สร้างด้วยศิลาแลงเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีประตูเข้า-ออกด้านเดียว หลังคาเป็นรูปประทุนเรือ มี 2 หลัง คือ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์ประธาน มีขนาด 11.60X7.10 เมตร สูง 3 เมตร อายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ 18(กรมศิลปากร, ปราสาทพนมรุ้ง 2531)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น